หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบว่าโรคกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นกับทารกได้ พบว่าทารก 100 คน เป็นกรดไหลย้อนได้มากถึง 25 คน หรือสูงถึง 25% ของทารกทั้งหมด  แต่หลังจากอายุ 10 เดือนไปแล้ว โอกาสของการเป็นกรดไหลย้อนจะลดลง กรดไหลย้อนในทารกเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสนใจเพื่อใช้ในการสังเกตอาการของลูก ๆ และรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

 

อาการกรดไหลย้อนในทารก

อาการกรดไหลย้อนในทารกจะทำให้ทารกมีอาการไม่สบายตัว งอแง คลื่นไส้ กระสับกระส่ายทุกครั้งที่กินนม มีการแหวะนมบ่อย ๆ และอาเจียนนมออกมาหลังจากกินนม หรือเกิดอาการสะอึก และถ้าอาเจียนออกมาแล้วแต่ไหลกลับไปไม่ถูกจังหวะ ลูกอาจมีอาการไอร่วมด้วย น้ำหนักไม่ค่อยขึ้นในช่วง 1 เดือนที่มีอาการ ปวดท้อง ร้องไห้งอแง และมักนอนหลับไม่สนิท หากมีอาการรุนแรงถึงขั้นหลอดลมอักเสบจะทำให้ทารกกินนมได้น้อยลงซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

อาการกรดไหลย้อนในทารก

สาเหตุของกรดไหลย้อนในทารก

กรดไหลย้อนในทารกมักเกิดขึ้นเนื่องจากหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายที่ต่อกับกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรงเท่าวัยอื่น จึงทำให้นมเกิดการไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารผ่านทางหูรูดที่ปิดไม่สนิทนั่นเอง นอกจากนี้ ทารกจะดื่มนมแม่ในท่านอนเป็นหลัก จึงมีโอกาสไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารได้ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ อีกด้วย

วิธีสังเกตอาการว่าเมื่อใดควรพาไปพบแพทย์

  1. ทารกมีอาการกรดไหลย้อนมากกว่า 5 ครั้งต่อวัน
  2. ทารกร้องไห้มากในระหว่างการกินนม
  3. ทารกอาเจียนบ่อยครั้ง
  4. ทารกมีอาการไอบ่อน โดยอาจกลายเป็นอาการที่เกิดอยู่ตลอดเวลา
  5. หมั่นสังเกตอาการที่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าทารกอาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นแล้ว เช่น มีอาการหอบหืด หายใจลำบาก ไอเสียงดัง ไอเรื้อรัง หรือมีปัญหาปอดอักเสบบ่อยๆ

วิธีป้องกันกรดไหลย้อนในทารก

วิธีป้องกันกรดไหลย้อนในทารก

คุณแม่สามารถบรรเทาอาการกรดไหลย้อนของทารกได้โดยการเปลี่ยนอิริยาบทของทารกให้อยู่ในท่านอนน้อยลง เช่น

  1. การให้ลูกนอนกินนมในท่านอนชันขึ้น 30 องศา โดยอาจเอาผ้าหรือหมอนรองหลัง
  2. การอุ้มเรอทุกครั้งหลังจากที่ให้กินนม โดยอย่าให้นอนราบทันที อาจให้ศีรษะตั้งขึ้นประมาณ 30 องศา หรือนอนตะแคงซ้ายช่วงเวลาหนึ่งประมาณ 20 นาที เพื่อให้นมไหลผ่านไปได้
  3. ลดปริมาณนมที่ทารกดื่มแต่ละครั้งให้น้อยลง แต่ให้กินนมบ่อยขึ้น
  4. ให้ทารกรับประทานกล้วยน้ำว้าสุกที่บดละเอียดเละ เพื่อช่วยปรับสมดุลของกระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังได้วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ และช่วยในการขับถ่ายเป็นของแถมอีกด้วย

หากคุณแม่ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการให้ลูกน้อยแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปปรึกษากุมารแพทย์โดยตรงเพื่อหาวิธีแก้ไข หรืออาจต้องรับประทานยารักษาอาการกรดไหลย้อนสำหรับทารกโดยตรงเพื่อช่วยรักษาอาการต่อไปค่ะ

“น้ำว้า” ขอเป็นกำลังใจให้ทารกน้อยและคุณแม่มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในทุก ๆ วันค่ะ

 

สนใจ ผลิตภัณฑ์ของ “น้ำว้า” เพิ่มเติม กดที่รูปได้เลยค่าาา

Namwah Organic Shop

 

เอกสารอ้างอิง

  1. https://www.dailymail.co.uk/femail/article-5418543/The-baby-reflux-symptoms-ARENT-vomit.html. February 23, 2018
  2. https://www.ksat.com/health/2019/03/21/does-your-baby-have-reflux-study-questions-safety-of-often-prescribed-meds/. March 21, 2019
  3. https://www.medicinenet.com/gerd_in_infants_and_children/article.htm.
  4. https://www.mountsinai.org/health-library/diseases-conditions/gastroesophageal-reflux-disease-children
  5. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5578061/. August, 2017.