น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร แต่ให้พลังงานและความอิ่มแก่ร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยน้ำอัดลมปริมาณ 1 ลิตร ให้พลังงาน 424 กิโลแคลอรี ประกอบไปด้วยส่วนผสมหลักๆ 3 อย่าง คือ น้ำ, น้ำตาล และสารปรุงแต่งกลิ่นและสี อีกทั้งยังมีกรดคาร์บอนิกที่อัดใส่เข้าไป เพื่อให้มีความซ่าเกิดเป็นฟอง สร้างความสดชื่นขณะดื่ม รวมถึงกรดฟอสฟอริก คาเฟอีน และสารกันบูดอีกด้วย

เหตุใดผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม

  1. หากเราดื่มน้ำอัดลมในเวลาใกล้จะถึงเวลารับประทานอาหาร หรือในระหว่างรับประทานอาหาร จะทำให้อิ่มและทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติได้ โดย​ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อัดในน้ำอัดลมที่เกิดเป็น​กรดาร์บอนิก เป็นกรดที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจเกิดอาการปวดท้อง ทำให้ท้องอืด และปวดท้องเนื่องจากเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  2. กรดฟอสฟอริก​ ที่อยู่ในน้ำอัดลม​ ซึ่งมีความเป็นกรดสูงมากพอที่จะ ละลายตะปูได้ภายใน 4 วัน นอกจากจะทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังทำให้นอนหลับยาก ฟันผุ เเละอาจทำให้กระดูกพรุน
  3. คาเฟอีน​ ที่อยู่ในน้ำอัดลม​ นั้นกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
  4. สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย ใส่เพื่อให้สามารถเก็บน้ำอัดลมได้นาน ในน้ำอัดลมนิยมใช้ กรดซิตริก (เป็นกรดที่อยู่ในมะนาว) สามารถป้องกันการเจริญของแบคทีเรียและยีสต์ได้ดี แต่เป็นกรดค่อนข้างแรง อาจจะทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหารได้

ถึงแม้ว่าเครื่องดื่มน้ำอัดลมจะไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เลยก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่ดื่มเป็นประจำจะมีแนวโน้มติดเครื่องดื่มประเภทนี้ได้เพราะมีคาเฟอีนนั่นเอง

นอกจากจะเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์กับร่างกายแล้ว ยังมีกรดต่างๆ ในปริมาณที่มากพอๆ กับน้ำส้มสายชูอีกด้วย ซึ่งหากดื่มอย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้​

รู้แบบนี้แล้วก็หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมหรือพยายามดื่มให้น้อยลง เเล้วหันมาดื่มน้ำสมุนไพร​เพื่อสุขภาพที่ดีใน​ระยะยาวกันดีกว่าค่ะ

ขอขอบคุณ​ข้อมูล​จาก​ lovefitt ค่ะ