หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าจากสถานการณ์ปัจจุบันผู้สูงอายุ 1 คนในทุก ๆ 5 คน จะป่วยเป็นโรคเบาหวาน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน โดยโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus; DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก

โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย กระหายน้ำมาก น้ำหนักลด/เพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด เหนื่อยง่าย  มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดขนาดใหญ่ และหลอดเลือดขนาดเล็กตามมา เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น บางรายที่มีแผลที่เท้าแล้วรักษาไม่ทันท่วงทีอาจทำให้ต้องตัดขาจนเกิดความพิการได้

ผู้เป็นโรคเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนที่ร่างกายต้องการ โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีความหวานต่ำ ปรับสัดส่วนการรับประทานอาหารให้เหมาะสม ดังนี้

  1. กลุ่มแป้งต่าง ๆ ควรรับประทานข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อยอื่นๆ ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น โดยผู้ที่อ้วนและมีเบาหวานร่วมด้วย ควรรับประทานข้าวไม่เกินมื้อละ 2 ทัพพี หากไม่อ้วนสามารถรับประทานได้ 3 ทัพพี (หากทานแป้งอื่น ๆ แทนอาหารต้องงดหรือลดข้าวในมื้อนั้นลงตามสัดส่วนที่กำหนด)

  2. กลุ่มผัก ซึ่งมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานผักวันละ 3-4 ทัพพี ควรลดการรับประทานผักที่เป็นหัวใต้ดินหรือมีแป้งสะสมเยอะ เช่น ฟักทอง หัวแครอท หัวผักกาดข้าว เป็นต้น

  3. กลุ่มผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ทุกชนิดที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เพราะจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ผู้เป็นเบาหวานควรเลือกรับประทานผลไม้ 1 ชนิดต่อมื้อ วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน น้อยหน่า ละมุด หรือผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กวน ผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง สำหรับหลายท่านที่สงสัยว่าสามารถทานกล้วยได้หรือไม่ ขอแนะนำว่า กล้วยดิบจัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำสามารถรับประทานได้ แต่สำหรับกล้วยสุกถือว่าเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เช่น รับประทานกล้วยน้ำว้า 1 ผล/มื้อ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การรับประทานกล้วยดิบเป็นผล ๆ นั้นคงทำให้หลายคนไม่อยากรับประทาน เนื่องจากรสชาติที่ฝาด ปัจจุบันจึงมีทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน นั่นคือ การรับประทานผงกล้วยดิบ เนื่องจากผงกล้วยดิบมีสารที่เรียกว่า “แทนนิน” ซึ่งเป็นสารที่ทำให้กล้วยมีรสฝาด สารนี้จะเข้าไปช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารอินซูลินในร่างกายเพิ่มขึ้น การที่ร่างกายมีปริมาณอินซูลินมากขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถเปลี่ยนน้ำตาลในกระแสเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ดีขึ้นตามไปด้วย ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงลดลง นอกจากนี้ การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า หนูที่รับประทานผงกล้วยดิบเป็นประจำ สามารถสร้างอินซูลินได้เพิ่มขึ้นและระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง

  1. กลุ่มเนื้อสัตว์ (ไม่ติดมัน) ผู้เป็นเบาหวานควรรับประทานทุกมื้อ มื้อละ 2-4 ช้อน เพื่อให้ได้โปรตีนครบถ้วน และควรเลือกเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดมันและหนัง

  2. กลุ่มไขมัน ผู้เป็นเบาหวานควรเลือกใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันหมูในการประกอบอาหาร นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทอด และอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ

นอกจากการควบคุมการรับประทานอาหารแล้ว เราสามารถหันมาทานผงกล้วยน้ำว้าดิบตราน้ำว้า เครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ที่เป็นเบาหวาน

สนใจ เครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบ ชนิดผง ตราน้ำว้า เพิ่มเติม 

สอบถาม สั่งซื้อ Namwah คลิ๊ก!!!

 

เอกสารอ้างอิง
  1. https://www.helpguide.org/articles/diets/the-diabetes-diet.htm. Authors: Jeanne Segal, Ph.D., Lawrence Robinson, and Melinda Smith, M.A. Last updated: November 2019.
  2. https://www.webmd.com/diabetes/diabetic-food-list-best-worst-foods. Access online: 28 Nov 2019.
  3. https://www.webmd.com/diabetes/diabetic-diet-6-foods-control-blood-sugar#1. Access online: 28 Nov 2019.