อาการของโรคกรดไหลย้อนมักจะกำเริบมากขึ้นหลังจากที่กินอาหารมื้อหนัก ๆ หรือกินอาหารบางชนิดที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้กรดหลั่งออกมามากขึ้น โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ หากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเดิม ๆ ที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่ส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น

อาหารที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ควรรับประทาน ได้แก่

  1. อาหารไขมันต่ำ เช่น เนื้อไม่ติดมัน เนื้อปลา ไก่ ไข่ขาว นมไขมันต่ำ หรือน้ำเต้าหู้ เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
  2. ไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา อะโวคาโด น้ำมันดอกทานตะวัน ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ โดยแนะนำให้รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวที่ดีต่อสุขภาพเหล่านี้แทน
  3. อาหารไฟเบอร์สูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ข้าวโอ๊ต ธัญพืชต่าง ๆ โฮลวีต โฮลเกรน เนื่องจากเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยกากใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยในการขับถ่าย และไม่เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร
  4. ผลไม้สำหรับคนเป็นกรดไหลย้อน คนเป็นกรดไหลย้อนไม่ควรกินผลไม้ที่มีกรดมาก ผลไม่ที่เหมาะสำหรรับผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน ได้แก่ แตงโม แคนตาลูป เมลอน แอปเปิล พีช ลูกแพร์ หรือผลไม้รสหวานชนิดอื่น ๆ ที่ไม่มีรสเปรี้ยว
  5. กล้วย เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากการกล้วยช่วยลดอาการปวดท้อง และมีสารเซโรโทนิน ที่ช่วยยับยั้งการหลั่งของน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร และกระตุ้นให้ลำไส้เล็กบีบตัวมากขึ้น จึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้ ในกล้วยยังมีสารแทนนินที่อยู่ในกล้วยมีฤทธิ์ฝาดสมานสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ดี ช่วยเคลือบป้องกันผนังทางเดินอาหารไม่ให้ถูกทำลายโดยของที่มีรสเผ็ดร้อน อาหารที่มีการระคายเคืองทางเดินอาหาร รวมถึงกรดในกระเพาะอาหารที่หลั่งออกมาตอนท้องว่าง
  6. ผักที่มีไขมันและน้ำตาลต่ำ เช่น ผักใบเขียว บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำดอก มันฝรั่ง ถั่วเขียว แตงกวา เป็นต้น

สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  1. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด/ผัด ฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ นม เนย ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมันเนย ชีส ไอศกรีม ซอสครีม น้ำสลัดชนิดครีม เนื้อติดมันมาก หรือไขมันจากเนื้อสัตว์ เป็นต้น เนื่องจากไขมันจากอาหารเหล่านี้จะไปรวมตัวกับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุกเสียด แน่น และแสบร้อนที่กลางอกได้
  2. อาหารเสริมบางชนิดที่มีไขมันสูงและเพิ่มกรดในกระเพาะ ผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนจะไม่แนะนำให้กินอาหารเสริมน้ำมันตับปลา สารสกัดจากกระเทียม เนื่องจากทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัว และเสี่ยงเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารอีกด้วย
  3. ช็อกโกแลต เนื่องจากประกอบด้วยสารที่มีชื่อว่า เมททิลแซนทีน (methylxanthine) ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัว
  4. แป้งข้าวโพด และมันฝรั่งอบกรอบ เนื่องจากทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัว กรดจึงไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น
  5. เครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม โซดา เนื่องจากทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร จึงกระตุ้นการสร้างน้ำย่อยมากขึ้น
  6. แอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์เพิ่มปริมาณการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น
  7. อาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น
  8. น้ำส้มสายชู เนื่องจากมีความเป็นกรดสูง จึงเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร
  9. ผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ส้ม มะนาว เลมอน องุ่น เกรพฟรุต สับปะรด แครนเบอร์รี่ หรือมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ และผลไม้รสเปรี้ยวจัด
  10. อาหารหมักดอง เนื่องจากมีส่วนเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่นท้องได้
  11. หมากฝรั่ง การเคี้ยวหมากฝรั่งจะเพิ่มการหลั่งน้ำลาย ทำให้เราต้องกลืนน้ำลายลงท้องมากขึ้น ซึ่งก็เท่ากับจะได้กลืนลมลงกระเพาะอาหารมากขึ้นด้วย ดังนั้น คนเป็นกรดไหลย้อนจึงไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อย ๆ นาน ๆ ครั้งอาจจะพอไหวค่ะ

กล้วยถือว่าเป็นผลไม้ทางเลือกสำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน โดยเฉพาะกล้วยดิบที่มีสารแทนนินอยู่มาก ผงกล้วยน้ำว้าดิบ “ตราน้ำว้า” เครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ช่วยลดอาการจุกเสียดหน้าอก ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง เรอเปรี้ยว เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อน และปัญหาแผลในทางเดินอาหาร

 

สนใจ เครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบ ชนิดผง ตราน้ำว้า เพิ่มเติม 

สรรพคุณ ผงกล้วยดิบ ตราน้ำว้า

add-friend-buttom-namwah

 

เอกสารอ้างอิง
  1. https://www.healthline.com/health/gerd/diet-nutrition#foods-to-avoid. 8 January 2019.
  2. https://www.healthline.com/health/gerd/diet-nutrition. 8 January 2019.
  3. https://www.webmd.com/digestive-disorders/features/foods-that-fight-heartburn#1. 12 November 2013.
  4. https://www.webmd.com/heartburn-gerd/features/heartburn-foods-to-avoid#1. Access online: 13 January 2020.