โรคลำไส้รั่วอาจเป็นโรคที่หลายคนเคยได้ยิน แต่ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วอาการเป็นอย่างไร ลำไส้เรารั่วได้จริง ๆ หรือ วันนี้ทางแอดมินมีคำตอบมาฝากกันค่ะ
โรคลำไส้รั่วคืออะไร
ในคนปกติเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้จะเรียงตัวชิดติดกันเป็นระเบียบ เรียกว่า “tight junctions” เพื่อทำหน้าที่คัดกรองสารเข้า-ออก และควบคุมสารพิษหรือเชื้อโรคที่จะเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง แต่เมื่อเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เกิดความผิดปกติ มีการอักเสบ เซลล์จึงไม่สามารถเรียงตัวชิดกันได้ ทำให้สารพิษหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ สามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างอิสระ เรียกความผิดปกตินี้ว่า ภาวะลำไส้รั่ว” หรือ “Leaky Gut Syndrome” ซึ่งเมื่อสารดังกล่าวเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็เปรียบเหมือนสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ร่างกายจะปฏิเสธสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ ด้วยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานมากขึ้นเพื่อมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมนั้น ผลที่ตามมา คือ อาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง แน่นท้อง อ่อนเพลียง่าย ปวดตามข้อและกระดูก ผื่นลมพิษ ภูมิแพ้ อาการอักเสบเรื้อรังทั่วร่างกาย เป็นต้น
วิธีสังเกตว่าเป็นโรคลำไส้รั่วหรือไม่
ผู้ที่เป็นโรคลำไส้รั่วมักมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปฏิกิริยาการแพ้อาหารแฝง ซึ่งจะเป็นสัญญาณบ่งชี้สำคัญของภาวะลำไส้รั่ว โดยมักปวดท้องบ่อยๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้ มีแก๊สในทางเดินอาหารมากผิดปกติ ย่อยอาหารบางชนิดไม่ได้ เช่น แป้ง น้ำตาลขัดสี เมื่อทานเข้าไปจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง นอกจากนี้อาจมีอาหารทางระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ อาการทางผิวหนัง เช่น ลมพิษ ผื่นแดง คัน ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น จาม คันจมูก คอบวม ไอ หอบหืด หายใจลำบาก อาการทางระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดศีรษะไมเกรน การตัดสินใจช้าลง อาการอื่น ๆ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะนอนหลับเพียงพอก็ตาม
สาเหตุของโรคลำไส้รั่ว
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากหลักฐานงานวิจัยพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงเกิดจากสิ่งที่สัมผัสกับลำไส้อยู่เป็นประจำ ได้แก่ อาหารและยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง แต่มีเส้นใยไฟเบอร์ต่ำ ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้ร่างกายสร้างกรดขึ้นมาทำลายผนังลำไส้แล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารให้จุลินทรีย์ก่อโรคเพิ่มจำนวนจนทำให้ผนังลำไส้รั่วในที่สุด นอกจากนี้ อาหารบางชนิด เช่น แลคโตส (Lactose) ในผลิตภัณฑ์จากนมวัว กลูเตน (Gluten) ในข้าวสาลี ขนมปัง และเลคติน (Lectin) ในผลิตภัณฑ์จากถั่ว ถั่วเหลือง ก็เป็นตัวขัดขวางกระบวนการย่อยอาหารภายในลำไส้เช่นกัน
พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นประจำ และไม่เป็นเวลา ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนแล้ว ยังทำให้ลำไส้ต้องสัมผัสกับสารพิษตกค้างจากอาหารนั้นเข้าไปสะสมตลอดเวลา จนถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อผนังลำไส้ได้
แนวทางการป้องกันและรักษาโรคลำไส้แปรปรวน
โรคลำไส้สามารถป้องกันได้โดยเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น งดอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ เป็นเวลา 3-6 เดือน เพื่อให้ร่างกายกำจัดแอนติบอดี้ที่ถูกสร้างขึ้นจากการกระตุ้นโดยอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ออกไปได้หมดจากร่างกาย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุโดยแท้จริง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยรับประทานอาหารให้หลากหลาย หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ลดการบริโภคแป้งและน้ำตาล ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยาก เพื่อลดการเกิดแก๊สในท้อง และท้องอืด เช่น ถั่ว นมจากสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี เป็นต้น เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์ เช่น พืชผักใบเขียวและผลไม้ไม่หวาน เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เลิกสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ ลดความเครียด เนื่องจากความเครียดสามารถกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบของเซลล์ลำไส้ได้ และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะช่วงเวลาที่เรานอนหลับสนิทจะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายซ่อมแซมเซลล์ในร่างกายได้ดีที่สุด รวมถึงใช้ยาอย่างสมเหตุผล นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีภาวะลำไส้รั่วผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รับประทานผัก ได้แก่ บร็อคโคลี่ แครอท เคล ขิง ผลไม้ ได้แก่ กล้วย บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ กีวี สับปะรด ส้ม มะนาว เสาวรส มะละกอ เป็นต้น
นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว อาการไม่สบายท้อง ท้องอืด ท้องเสีย แก็สในท้องมากที่เกิดจากภาวะลำไส้รั่ว สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทาน “ผงกล้วยน้ำว้าดิบผสมขมิ้นออร์แกนิค ตราน้ำว้า” ซึ่งมีส่วนช่วยบรรเทาอาการและปรับสมดุลของลำไส้อย่างเป็นธรรมชาติ
สนใจ ผงกล้วยน้ำว้าดิบออร์แกนิค ตราน้ำว้า เพิ่มเติม กดที่รูปได้เลยค่าาา
เอกสารอ้างอิง
-
https://www.medicalnewstoday.com/articles/326117#:~:text=Leaky%20gut%20syndrome%20is%20a,LGS)%20as%20a%20diagnosable%20condition. 21 August 2019.
-
https://www.nhs.uk/conditions/leaky-gut-syndrome/. 9 March 2018.
-
Harvard Health Publishing. https://www.health.harvard.edu/blog/leaky-gut-what-is-it-and-what-does-it-mean-for-you-2017092212451. 22 October 2019.