แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่สามารถถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ และได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นกลูโคส ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ซึ่งหากรับประทานแป้งมากจนเกินไปก็จะทำให้เกิดไขมันสะสมและเกิดโรคอ้วนตามมา อย่างไรก็ตาม ยังมีแป้งอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถทนต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็กได้ เรียกแป้งกลุ่มนี้ว่า “แป้งทนการย่อย” (Resistant starch ; RS) แป้งดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด โดยแป้งทนการย่อยต่อเอนไซม์ชนิดที่ 2 (Resistant starch 2; RS2) เป็นแป้งทนการย่อยที่อยู่ในรูปของเม็ดแป้งดิบ พบได้มากในกล้วยดิบและแป้งสตาร์ชมันฝรั่ง
แป้งทนการย่อยชนิดที่ 2 นี้มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า แป้งที่ทนการย่อยซึ่งมีค่า Glycemic Index (GI) ต่ำนั้นมีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ โดยจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ผนังลำไส้ใหญ่ ผลจากการย่อยที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ (ประมาณ 5-7 ชั่วโมงหลังการรับประทาน) จะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณพลังงานในระดับต่ำกว่าปกติ ซึ่ง ทำหน้าที่คล้ายกับใยอาหาร ทำให้ร่างกายอิ่มนานในขณะที่ให้พลังงานต่ำ ลดความอยากอาหาร ร่างกายมีความไวต่ออินซูลินดีขึ้น ทำให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้น จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดน้ำหนัก ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อชนิดต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
นอกจากนี้ แป้งทนการย่อย มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารเป็นอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการหมักแป้งต้านทานการย่อยโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ได้กรดไขมันสายสั้นที่สำคัญ ได้แก่ แอซีเตท โพรพิโอเนต และบิวไทเรต ที่สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานที่ดีสำหรับเซลล์บริเวณลำไส้ใหญ่ (colonocytes) โดยกรดไขมันชนิดสายสั้นที่มีประโยชน์มากที่สุด คือ บิวไทเรต มีผลในการช่วยทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณเยื่อบุลำไส้ใหญ่มากขึ้น จึงช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเยื่อบุลำไส้ใหญ่ ลดอาการอักเสบ (inflammation) ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยช่วยป้องกันและยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ลำไส้ที่ผิดปกติ นอกจากนี้ แป้งทนการย่อยยัง เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ตัวที่ดีหรือโพรไบโอติกในลำไส้ ซึ่งจะมีผลช่วยเรื่องขับถ่ายได้ดีอีกด้วย
แป้งทนการย่อยได้มีการนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ เนื่องจากคุณประโยชน์ที่สูง เช่น แป้งกล้วยดิบ แป้งข้าวโพดที่มีอะไมโลสสูง เป็นอาหารที่ประกอบด้วยแป้งทนการย่อยต่อเอนไซม์ชนิดที่ 2 (RS2) มีปริมาณอะไมโลสเป็นส่วนประกอบสูง จึงสามารถช่วยปกป้องและต้านการทำลายสารพันธุกรรม เพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และสังกะสี เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ ปัญหาการเกิดอาการขาดสารอาหารในผู้สูงอายุลดลง และยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไขมันในเลือดได้อีกด้วย
แป้งกล้วยน้ำว้าดิบตราน้ำว้า เป็นแป้งทนการย่อยต่อเอนไซม์ชนิดที่ 2 (RS2) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย Resistant starch 2 จึงเชิญชวนให้ทุกท่านหันมารับประทานแป้งกล้วยน้ำว้าดิบเพื่อสุขภาพที่ดี ไม่ว่าจะเพื่อป้องกันหรือเสริมสร้างสุขภาพ…อย่ารอจนสายเกินไป เพราะสุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก รอไม่ได้นะคะ
สนใจ ผงกล้วยน้ำว้าดิบออร์แกนิค ตราน้ำว้า เพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
-
Dietary fiber, non-starch polysaccharides and resistant starch: A review. Food Australia, 48(Suppl), S3-35.
-
Effects of high-amylose maize starch and butylated high-amylose maize starch on azoxymethane-induced intestinal cancer in rats. Carcinogenesis, 29(11), 2190-2194.
-
Resistant Starch Regulates Gut Microbiota: Structure, Biochemistry and Cell Signalling. Cell Physiol Biochem 2017;42:306–318.