สรรพคุณเครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบผสมใบกัญชงออร์แกนิค ชนิดผง

2022-10-07T10:26:48+07:00

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “เครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบผสมใบกัญชงออร์แกนิค ชนิดผง” โดย “น้ำว้า” ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด ที่ทำการผสาน 2 คุณประโยชน์จากกล้วยน้ำว้าดิบและใบกัญชง ผลิตภายใต้มาตรฐานระดับสากลเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณประโยชน์จากแหล่งวัตถุดิบออร์แกนิคธรรมชาติแท้ 100% เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ อ่อนเพลีย วิตกกังวล มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ กล้วย จัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง จนได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้ต้านอนุมูลอิสระ” ช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยชะลอวัยและลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้ กล้วยประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประเภทเบต้าแคโรทีนและโดปามีน จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมต่าง ๆ เช่น การแก่ก่อนวัย โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น นอกจากนี้ คาเทชินที่พบในกล้วยเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลายชนิด เช่น

สรรพคุณเครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบผสมใบกัญชงออร์แกนิค ชนิดผง2022-10-07T10:26:48+07:00

อาการแสบท้อง: สาเหตุและวิธีดูแลระบบทางเดินอาหาร | Namwah

2024-09-20T12:27:59+07:00

หิวก็แสบท้อง อิ่มแล้วก็ยังแสบท้อง ตอนกลางดึกก็ยังจะแสบท้องอยู่อีก ยิ่งเวลาเครียด ๆ ด้วยแล้วยิ่งปวดแสบเลย อาการแสบท้องเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเกิดจากความหิวหรือหลังรับประทานอาหาร บางครั้งอาการนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงกลางดึกหรือเมื่อเกิดความเครียด ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเรื้อรังโดยไม่ดูแล อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เรามาทำความรู้จักกับสาเหตุและวิธีดูแลอาการแสบท้องกันค่ะ สาเหตุของอาการแสบท้อง โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบท้องติดอันดับต้น ๆ ของคนไทยเรา สาเหตุเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารรสจัดติดต่อกันนาน ๆ ความเครียด ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดแผล มีการอักเสบ บวม แดง หรือเกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) ซึ่งทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังต่อเนื่องนานเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการที่เห็นได้ชัดของโรคกระเพาะอาหารทั้งฉับพลันและเรื้อรังนี้ คือ อาการปวดแสบท้องบริเวณกระเพาะอาหารหรือใต้ลิ้นปี่ ท้องอืด

อาการแสบท้อง: สาเหตุและวิธีดูแลระบบทางเดินอาหาร | Namwah2024-09-20T12:27:59+07:00

2 สมุนไพรตัวช่วยลดโรคเบาหวาน และโรคกระเพาะอาหาร

2021-01-10T13:25:07+07:00

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่หลายคนอาจจะมองว่าไม่ร้ายแรง แต่แท้จริงแล้วโรคเบาหวานสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจทำให้พิการตามมาได้ เช่น โรคหัวใจผิดปกติ ตามัว เห็นภาพไม่ชัดจนถึงขั้นตาบอด มีอาการชาปลายมือและปลายเท้า แผลหายยาก ติดเชื้อที่บาดแผลเรื้อรัง บางรายรุนแรงถึงขั้นต้องตัดขาทิ้ง เป็นต้น เป็นภาวะที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน เนื่องจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินซึ่งใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือภาวะที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินที่หลั่งออกมา เมื่อน้ำตาลไม่ถูกนำไปใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ จึงเกิดเป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังเกี่ยวกับทางเดินอาหารที่คนส่วนใหญ่เป็นกันเยอะ และทำให้ทุกข์ทรมานกับอาการปวดท้องอยู่เนือง ๆ เนื่องจากแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) ที่เกิดการอักเสบ อาการที่พบได้บ่อย เช่น ปวดท้อง จุกเสียด แน่นหน้าอก เรอเปรี้ยว โดยอาการปวดจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร คือ อาจปวดก่อน

2 สมุนไพรตัวช่วยลดโรคเบาหวาน และโรคกระเพาะอาหาร2021-01-10T13:25:07+07:00

ระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นอย่างไร (GUT HEALTH DIET​)

2020-08-25T10:16:21+07:00

ระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร การดูดซึม และการขับถ่าย จากงานวิจัยพบว่าถ้าเรามีระบบการย่อยอาหารที่ดี สุขภาพโดยรวมของร่างกายก็จะดีตามไปด้วยดังนั้น หากไม่อยากทุกข์ทรมานจากการป่วยเป็นโรคของระบบทางเดินอาหารแล้วละก็ ควรจะต้องดูแลเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยเช่นกัน ระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นอย่างไร           ระบบย่อยอาหารที่ดี คือ การที่อวัยวะต่าง ๆ ภายในระบบย่อยอาหารทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด การติดเชื้อ การรับประทานยาบางชนิด หรือความเครียด อาจมีผลทำให้ระบบย่อยอาหารเกิดความผิดปกติและส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และทำให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งขึ้นได้ การหันมาดูแลระบบย่อยอาหารด้วยการปรับพฤติกรรมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและความผิดปกติของระบบย่อยอาหารได้ อาหารที่เหมาะสำหรับสุขภาพของทางเดินอาหารที่ดี มีดังนี้ ดูแลตัวช่วยที่สำคัญของระบบการย่อยอาหาร “จุลินทรีย์ตัวดี (Probiotics)” จุลินทรีย์พื้นถิ่นในทางเดินอาหาร เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ (GUT

ระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นอย่างไร (GUT HEALTH DIET​)2020-08-25T10:16:21+07:00

อาหารที่ควรทานและควรหลีกเลี่ยงสำหรับ โรคกรดไหลย้อน

2021-11-11T11:21:26+07:00

อาการของโรคกรดไหลย้อนมักจะกำเริบมากขึ้นหลังจากที่กินอาหารมื้อหนัก ๆ หรือกินอาหารบางชนิดที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้กรดหลั่งออกมามากขึ้น โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ หากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเดิม ๆ ที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่ส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น อาหารที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ควรรับประทาน ได้แก่ อาหารไขมันต่ำ เช่น เนื้อไม่ติดมัน เนื้อปลา ไก่ ไข่ขาว นมไขมันต่ำ หรือน้ำเต้าหู้ เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา อะโวคาโด น้ำมันดอกทานตะวัน ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ โดยแนะนำให้รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวที่ดีต่อสุขภาพเหล่านี้แทน อาหารไฟเบอร์สูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี

อาหารที่ควรทานและควรหลีกเลี่ยงสำหรับ โรคกรดไหลย้อน2021-11-11T11:21:26+07:00

สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร และการดูแลรักษา

2020-06-29T11:40:33+07:00

โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคเรื้อรังเกี่ยวกับทางเดินอาหารโรคหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นกันเยอะ และมักทุกข์ทรมานกับอาการปวดท้องอยู่เนือง ๆ บางท่านอาจไม่แน่ใจว่าตนเองประสบปัญหาเรื่องโรคกระเพาะอยู่หรือไม่ และมีวิธีดูแลตนเองอย่างไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ อาการของโรค อาการปวดท้องที่เป็นตัวบอกว่าเป็น “โรคกระเพาะอาหาร” คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเสียด ตื้อ จุกแน่น ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ชายโครงซ้าย ตำแหน่งเกิดขึ้นได้บ่อยจะอยู่ในกระเพาะส่วนปลาย ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และอาการมักเป็น ๆ หาย ๆ โดยอาการปวดจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร โดยอาจปวดก่อน ระหว่าง หรือหลังรับประทานอาหารก็ได้ และมักมีอาการปวดท้องตอนท้องว่าง จากการที่กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคืองเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่นการมีกรดหลั่ง เป็นต้น สาเหตุของโรค โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน

สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร และการดูแลรักษา2020-06-29T11:40:33+07:00

กล้วยน้ำว้าดิบ ผลไม้ต้านอนุมูลอิสระ

2020-03-15T22:55:50+07:00

        อนุมูลอิสระเป็นสารที่ก่อความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย  อนุมูลอิสระมีสาเหตุเกิดจากความเครียด แสงอัลตราไวโอเลต มลภาวะต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมภายนอก รวมถึงจากขบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยธรรมชาติร่างกายของเราจะผลิตสารต้านอนุมูลอิสระได้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่จะผลิตได้น้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากร่างกายมีสารอนุมูลอิสระเยอะจนเกินไปก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม เราสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ด้วยการรับประทานอาหาร กล้วยถือว่าเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงช่วยลดปริมาณสารอนุมูลอิสระในร่างกายได้ดี จึงช่วยชะลอวัยและลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้ด้วย กล้วยประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประเภท เบต้าแคโรทีน (Beta-carotine) โดปามีน (Dopamine) และคาเทชิน (Catechin) ในปริมาณที่สูง ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมต่าง ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น รวมถึงช่วยชะลดความแก่ก่อนวัยของคุณได้อีกด้วย

กล้วยน้ำว้าดิบ ผลไม้ต้านอนุมูลอิสระ2020-03-15T22:55:50+07:00

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS)

2020-03-01T23:49:15+07:00

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS; Irritable Bowel Syndrome) เป็นโรคลำไส้ที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยนัก โรคลำไส้แปรปรวนกลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต และทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง โดยผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนจะมีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล บางรายอาจมีอาการท้องผูกเด่น บางรายอาจมีอาการท้องเสียเด่น แต่ทุกรายจะมีอาการปวดท้องเป็นอาการเฉพาะของโรค สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด เบื้องต้นพบว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จึงถือเป็นโรคที่ควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจเพื่อสังเกตตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดโรค อาการของโรคลำไส้แปรปรวน           ผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนมักทรมานจากการปวดท้อง แต่เมื่อได้ถ่ายอุจจาระอาการปวดจะหายไปและสบายท้องมากขึ้น โดยส่วนใหญ่อาการปวดมักปวดเกร็งที่ท้องน้อย อาการปวดท้องแต่ละครั้งจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งปวดมาก บางครั้งปวดน้อย ร่วมกับการมีการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสลับกัน โดยแต่ละรายจะมีอาการหนึ่งอาการใด (ท้องผูก/ท้องเสีย) เด่นกว่าอีกอาการหนึ่ง อาการที่สำคัญของโรคไอบีเอส คือ ผู้ป่วยอาจรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด ท้องผูก

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS)2020-03-01T23:49:15+07:00

ยาลดกรด (Antacids) คืออะไร???

2021-11-11T11:14:12+07:00

ยาลดกรด เป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารทำให้เป็นกลางมากขึ้น โดยไปจับกับกรดในทางเดินอาหาร ช่วยให้ผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ที่มีปัญหาจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร (Hyperacidity) ยาลดกรด แบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามส่วนประกอบหรือตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์รักษา เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม ไฮดร็อกไซด์ (Aluminium hydroxide; Al[OH]3) และ/หรือแมกนีเซียม ไฮดร็อกไซด์ (Magnesium hydroxide; Mg[OH]2) ยากลุ่มนี้นิยมใช้อยู่ในรูปยาน้ำแขวนตะกอนจึงออกฤทธิ์ค่อนข้างรวดเร็ว ใช้บรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากการดเกินในกระเพาะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ อะลัมมิลค์ (Alum milk), แอนตาซิล (Antacil®), เกลูซิล (Gelusil®), ยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน

ยาลดกรด (Antacids) คืออะไร???2021-11-11T11:14:12+07:00

ยายับยั้งการหลั่งกรดโอมีพราโซล (Omeprazole)

2021-02-12T11:59:05+07:00

สำหรับหลาย ๆ ท่านที่มีอาการ อาหารไม่ย่อย หรือ Dyspepsia น่าจะเคยได้ยินหรือมีโอกาสได้ใช้ ยาโอมีพราโซล (Omeprazole) หรือ ยามิราซิด (Miracid®) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จึงช่วยลดอาการแสบกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องส่วนบน ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว คลื่นไส้ อาเจียน อาการแสบร้อนกลางอกหลังรับประทานอาหารเนื่องจากกรดเกิน โดยอาการที่เกิดขึ้นสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา ร่วมกับการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยา Omeprazole เป็นยาช่วยยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารในกลุ่มยับยั้งโปรตอน ปั๊ม (Proton Pump Inhibitors: PPIs) ออกฤทธิ์โดยการขัดขวางการหลั่งกรดในขั้นตอนสุดท้าย โดยตัวยาจะเข้ายับยั้งเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Miracid®,

ยายับยั้งการหลั่งกรดโอมีพราโซล (Omeprazole)2021-02-12T11:59:05+07:00
Go to Top