สรรพคุณเครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบผสมใบกัญชงออร์แกนิค ชนิดผง

2022-10-07T10:26:48+07:00

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “เครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบผสมใบกัญชงออร์แกนิค ชนิดผง” โดย “น้ำว้า” ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด ที่ทำการผสาน 2 คุณประโยชน์จากกล้วยน้ำว้าดิบและใบกัญชง ผลิตภายใต้มาตรฐานระดับสากลเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณประโยชน์จากแหล่งวัตถุดิบออร์แกนิคธรรมชาติแท้ 100% เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ อ่อนเพลีย วิตกกังวล มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ กล้วย จัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง จนได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้ต้านอนุมูลอิสระ” ช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยชะลอวัยและลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้ กล้วยประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประเภทเบต้าแคโรทีนและโดปามีน จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมต่าง ๆ เช่น การแก่ก่อนวัย โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น นอกจากนี้ คาเทชินที่พบในกล้วยเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลายชนิด เช่น

สรรพคุณเครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบผสมใบกัญชงออร์แกนิค ชนิดผง2022-10-07T10:26:48+07:00

ปรับสมดุลทางเดินอาหารด้วย….พรีไบโอติกส์???

2022-01-13T11:52:27+07:00

วันนี้ "น้ำว้า" จะพาทุกท่านมารู้จัก....พรีไบโอติกส์กันค่ะ พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คือ อาหารชนิดหนึ่งซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปไม่เปลี่ยนแปลง พรีไบโอติกส์เป็นสิ่งไม่มีชีวิตและจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรียในลำไส้ จึงขึ้นชื่อเรื่องช่วยการขัยถ่าย และปรับสมดุลของลำไส้ กล่าวง่ายๆ ก็คือ พรีไบโอติกส์เป็นอาหารของโพรไบโอติกส์นั่นเอง พรีไบโอติกส์พบได้มากในกล้วยดิบ หัวหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น เพราะอะไรร่างกายเราถึงควรได้รับโพรไบโอติกส์เสริม? โพรไบโอติกส์จัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่น (normal flora) อย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย  จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ถูกรุกรานทำให้การทำงานของทางเดินอาหารเกิดความผิดปกติตามมาได้ จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบประโยชน์ของพรีไบโอติกส์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบทางเดินอาหาร

ปรับสมดุลทางเดินอาหารด้วย….พรีไบโอติกส์???2022-01-13T11:52:27+07:00

รู้หรือไม่?…กรดไหลย้อนทารกก็เป็นได้

2021-10-15T09:40:53+07:00

หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบว่าโรคกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นกับทารกได้ พบว่าทารก 100 คน เป็นกรดไหลย้อนได้มากถึง 25 คน หรือสูงถึง 25% ของทารกทั้งหมด  แต่หลังจากอายุ 10 เดือนไปแล้ว โอกาสของการเป็นกรดไหลย้อนจะลดลง กรดไหลย้อนในทารกเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสนใจเพื่อใช้ในการสังเกตอาการของลูก ๆ และรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว   อาการกรดไหลย้อนในทารก อาการกรดไหลย้อนในทารกจะทำให้ทารกมีอาการไม่สบายตัว งอแง คลื่นไส้ กระสับกระส่ายทุกครั้งที่กินนม มีการแหวะนมบ่อย ๆ และอาเจียนนมออกมาหลังจากกินนม หรือเกิดอาการสะอึก และถ้าอาเจียนออกมาแล้วแต่ไหลกลับไปไม่ถูกจังหวะ ลูกอาจมีอาการไอร่วมด้วย น้ำหนักไม่ค่อยขึ้นในช่วง 1 เดือนที่มีอาการ

รู้หรือไม่?…กรดไหลย้อนทารกก็เป็นได้2021-10-15T09:40:53+07:00

อาการแสบท้อง: สาเหตุและวิธีดูแลระบบทางเดินอาหาร | Namwah

2024-09-20T12:27:59+07:00

หิวก็แสบท้อง อิ่มแล้วก็ยังแสบท้อง ตอนกลางดึกก็ยังจะแสบท้องอยู่อีก ยิ่งเวลาเครียด ๆ ด้วยแล้วยิ่งปวดแสบเลย อาการแสบท้องเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเกิดจากความหิวหรือหลังรับประทานอาหาร บางครั้งอาการนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงกลางดึกหรือเมื่อเกิดความเครียด ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเรื้อรังโดยไม่ดูแล อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เรามาทำความรู้จักกับสาเหตุและวิธีดูแลอาการแสบท้องกันค่ะ สาเหตุของอาการแสบท้อง โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบท้องติดอันดับต้น ๆ ของคนไทยเรา สาเหตุเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารรสจัดติดต่อกันนาน ๆ ความเครียด ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดแผล มีการอักเสบ บวม แดง หรือเกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) ซึ่งทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังต่อเนื่องนานเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการที่เห็นได้ชัดของโรคกระเพาะอาหารทั้งฉับพลันและเรื้อรังนี้ คือ อาการปวดแสบท้องบริเวณกระเพาะอาหารหรือใต้ลิ้นปี่ ท้องอืด

อาการแสบท้อง: สาเหตุและวิธีดูแลระบบทางเดินอาหาร | Namwah2024-09-20T12:27:59+07:00

เเอลกอฮอลล์เเละบุหรี่ส่งผลต่อกรดไหลย้อนได้อย่างไร

2021-05-19T13:31:47+07:00

หลายคนอาจคิดว่าการที่เรารับประทานอาหารไม่เป็นเวลาเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน อย่างไรก็ตาม แท้จริงแล้วชนิดของอาหาร เครื่องดื่ม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัวหลาย ๆ อย่าง ล้วนมีความเชื่อมโยงกับการกำเริบหรือความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าการสูบบุหรี่และการสัมผัสควันบุหรี่ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกรดไหลย้อนมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า รวมถึงทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนแย่ลง แน่นอนว่าบุหรี่นั้นเป็นโทษต่อร่างกาย และทำให้สุขภาพต่าง ๆ ในหลายด้านแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นโรคปอด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร  เพราะสารพิษในควันบุหรี่จะเข้าไปทำลายหลอดอาหารโดยตรง ทำให้การย่อยอาหารเกิดขึ้นช้าลง และยับยั้งการหลั่งกรดที่สำคัญของกระเพาะอาหาร ทำให้หลอดเลือดในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กตีบแคบลง เลือดจึงไหลเวียนได้ไม่สะดวก อาหารจึงค้างอยู่ในนั้นนานและทำให้เกิดกรดไหลย้อนตามมา นอกจากนี้ ควันบุหรี่ยังเข้าไปกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดกรดที่มากเกินไป สารพิษในควันบุหรี่ยังส่งผลทำลายกล้ามเนื้อหูรูด ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัวจึงเกิดกรดไหลย้อนตามมาอีกด้วย การสูบบุหรี่ทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ลดปริมาณน้ำลาย ทำให้น้ำลายเหนียวข้น โดยปกติแล้วน้ำลายนี้เองที่จะทำหน้าที่เคลือบหลอดอาหาร มีหน้าที่กำจัดกรดออกจากหลอดอาหาร

เเอลกอฮอลล์เเละบุหรี่ส่งผลต่อกรดไหลย้อนได้อย่างไร2021-05-19T13:31:47+07:00

ระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นอย่างไร (GUT HEALTH DIET​)

2020-08-25T10:16:21+07:00

ระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร การดูดซึม และการขับถ่าย จากงานวิจัยพบว่าถ้าเรามีระบบการย่อยอาหารที่ดี สุขภาพโดยรวมของร่างกายก็จะดีตามไปด้วยดังนั้น หากไม่อยากทุกข์ทรมานจากการป่วยเป็นโรคของระบบทางเดินอาหารแล้วละก็ ควรจะต้องดูแลเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยเช่นกัน ระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นอย่างไร           ระบบย่อยอาหารที่ดี คือ การที่อวัยวะต่าง ๆ ภายในระบบย่อยอาหารทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด การติดเชื้อ การรับประทานยาบางชนิด หรือความเครียด อาจมีผลทำให้ระบบย่อยอาหารเกิดความผิดปกติและส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และทำให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งขึ้นได้ การหันมาดูแลระบบย่อยอาหารด้วยการปรับพฤติกรรมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและความผิดปกติของระบบย่อยอาหารได้ อาหารที่เหมาะสำหรับสุขภาพของทางเดินอาหารที่ดี มีดังนี้ ดูแลตัวช่วยที่สำคัญของระบบการย่อยอาหาร “จุลินทรีย์ตัวดี (Probiotics)” จุลินทรีย์พื้นถิ่นในทางเดินอาหาร เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ (GUT

ระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นอย่างไร (GUT HEALTH DIET​)2020-08-25T10:16:21+07:00

โรคเบาหวาน และการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

2021-01-13T15:40:59+07:00

โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดใหญ่ และหลอดเลือดเล็กตามมา เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบเป็นอย่างมากเนื่องจากอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพที่เพิ่มมาก ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2568 โดยการพยากรณ์จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุ 1 คนในทุก ๆ 5 คน จะเป็นโรคเบาหวาน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวานเป็นกลุ่มโรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินเพื่อนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ลดลง ทำให้มีผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายผิดปกติตามมา อินซูลินสร้างและหลั่งจากตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ

โรคเบาหวาน และการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน2021-01-13T15:40:59+07:00

อาหารที่ควรทานและควรหลีกเลี่ยงสำหรับ โรคกรดไหลย้อน

2021-11-11T11:21:26+07:00

อาการของโรคกรดไหลย้อนมักจะกำเริบมากขึ้นหลังจากที่กินอาหารมื้อหนัก ๆ หรือกินอาหารบางชนิดที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้กรดหลั่งออกมามากขึ้น โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ หากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเดิม ๆ ที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่ส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น อาหารที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ควรรับประทาน ได้แก่ อาหารไขมันต่ำ เช่น เนื้อไม่ติดมัน เนื้อปลา ไก่ ไข่ขาว นมไขมันต่ำ หรือน้ำเต้าหู้ เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา อะโวคาโด น้ำมันดอกทานตะวัน ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ โดยแนะนำให้รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวที่ดีต่อสุขภาพเหล่านี้แทน อาหารไฟเบอร์สูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี

อาหารที่ควรทานและควรหลีกเลี่ยงสำหรับ โรคกรดไหลย้อน2021-11-11T11:21:26+07:00

สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร และการดูแลรักษา

2020-06-29T11:40:33+07:00

โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคเรื้อรังเกี่ยวกับทางเดินอาหารโรคหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นกันเยอะ และมักทุกข์ทรมานกับอาการปวดท้องอยู่เนือง ๆ บางท่านอาจไม่แน่ใจว่าตนเองประสบปัญหาเรื่องโรคกระเพาะอยู่หรือไม่ และมีวิธีดูแลตนเองอย่างไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ อาการของโรค อาการปวดท้องที่เป็นตัวบอกว่าเป็น “โรคกระเพาะอาหาร” คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเสียด ตื้อ จุกแน่น ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ชายโครงซ้าย ตำแหน่งเกิดขึ้นได้บ่อยจะอยู่ในกระเพาะส่วนปลาย ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และอาการมักเป็น ๆ หาย ๆ โดยอาการปวดจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร โดยอาจปวดก่อน ระหว่าง หรือหลังรับประทานอาหารก็ได้ และมักมีอาการปวดท้องตอนท้องว่าง จากการที่กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคืองเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่นการมีกรดหลั่ง เป็นต้น สาเหตุของโรค โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน

สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร และการดูแลรักษา2020-06-29T11:40:33+07:00

กล้วยน้ำว้า: Plant-based diet

2021-03-30T16:25:13+07:00

ในยุคนี้นอกจากการออกกำลังกายแล้วยังต้องดูแลเรื่องอาหารการกินมากขึ้นเพื่อการมีสุขภาพที่ดี การรับประทานแบบ Plant-based diet เป็นการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นให้มีสุขภาพที่แข็งแรง รวมถึงเพื่อการลดน้ำหนักอีกด้วย Plant-based diet คือ การรับประทานพืชผักผลไม้เป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงกับธรรมชาติ พูดง่าย ๆ คือ การรับประทานอาหารประเภทผักผลไม้โดยเฉพาะพวกธัญพืช ถั่ว ถั่วเปลือกแข็งให้มากขึ้น ลดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และอาหารแปรรูปต่าง ๆ วิถีการกินแบบ plant-based ไม่ได้บังคับว่าต้องไม่กินเนื้อสัตว์เลย 100% อาจมีหรือไม่มีเนื้อสัตว์ก็ได้ แต่ถ้ามีก็ควรจะรับประทานในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับผัก อย่างน้อย 95% ควรเป็นการรับประทานอาหารที่เน้นพืชผักผลไม้ อีกทั้งไม่ได้หมายความว่าคนที่มีไลฟ์สไตล์แบบ Plant-based diet จะต้องเป็นมังสวิรัติหรือกินเจ แต่คือการเลือกทานอาหารที่ทำจากพืชในอัตราที่มากกว่านั่นเอง การรับประทานกล้วยน้ำว้าดิบถือว่าเป็นผลไม้ที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด

กล้วยน้ำว้า: Plant-based diet2021-03-30T16:25:13+07:00
Go to Top