โรคกระเพาะ​กำลังจะมาโดยไม่รู้ตัว​ กว่าจะรู้ก็เป็นเรื้อรังเสียเเล้ว‼️

2019-08-16T02:29:07+07:00

โรคกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ทำงานหนัก จนทำให้เรารับประทานอาหารไม่เวลา หรือความเครียด ความวิตกกังวล ก็สามารถทำให้เราเป็นโรคกระเพาะได้เช่นกัน เพื่อเป็นการปกป้องไม่ให้เกิดโรคกระเพาะ เรามาลองกลับมาสังเกตอาการเตือนของร่างกาย เพื่อให้เราสามารถรับมือได้ทันท่วงที มาเช็คกันดูค่ะ​ ว่าเรามีอาการแบบนี้หรือไม่ ❓ รู้สึกปวดท้องเมื่อท้องว่าง​ บริเวณท้องส่วนบน ตั้งแต่บริเวณใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ อาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมหลังรับประทานอาหาร ปวดแสบร้อนท้อง ​ท้องอืด​ อิ่มง่าย​ อิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้ไม่มาก​ ไม่มีความอยากอาหาร​ อาจมีอาการเรอบ่อย มีอาการท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยร่วมด้วย ปวดท้องเวลาดึก​ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน โรคกระเพาะอาหารเป็นเหมือนภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากเราละเลยไม่ให้ความใส่ใจดูแลสังเกตุอาการของตนเอง อาจจะเป็นเรื้อรังได้​ 🍌🥕มาเริ่มต้นสุขภาพที่ดีในระยะยาวด้วยการทานผักเเละผลไม้ อาหารจากธรรมชาติกันดีกว่าค่ะ "เครื่องดื่มกล้วย​น้ำว้าดิบชนิดผง​ ตราน้ำว้า​ ดื่มง่าย​

โรคกระเพาะ​กำลังจะมาโดยไม่รู้ตัว​ กว่าจะรู้ก็เป็นเรื้อรังเสียเเล้ว‼️2019-08-16T02:29:07+07:00

กรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร ?

2019-08-10T02:26:34+07:00

กรดไหลย้อนเป็นอาการแสบร้อนกลางอกที่เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณหลอดอาหารคลายตัวผิดปกติ หากเกิดภาวะนี้ในหญิงตั้งครรภ์มักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลงและทำให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารที่อยู่ติดกับกระเพาะคลายตัวบ่อยกว่าปกติ ประกอบกับทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้นจนมดลูกขยายขนาดใหญ่ขึ้นและเบียดกระเพาะอาหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น เมื่อรับประทานอาหารมาก ๆ หรือเอนตัวลงนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จไม่นาน น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจึงไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้รู้สึกเจ็บและแสบร้อนบริเวณหน้าอกตามมา หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน จะมีอาการเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยอาการที่มักพบได้บ่อย มีดังนี้ แสบร้อนบริเวณคอหรือหน้าอกส่วนบน เรอบ่อย เรอเปรี้ยว หรือรู้สึกขมคอหลังจากตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคืองคอ หรือเสียงแหบ ทั้งนี้ ภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใด เพียงแต่อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตัวคุณแม่เอง และในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองหลังจากคลอดบุตรแล้ว การรับมือกรดไหลย้อนในช่วงตั้งครรภ์  ทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง และทานอาหารตรงตามเวลาทุกมื้ออาหารอ่อน ย่อยง่ายและเคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกคำก่อนกลืน อย่ารับประทานอาหารมากเกินไป หรือรับประทานอาหารมื้อดึก ที่รับประทานเสร็จแล้วนอนเลย

กรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร ?2019-08-10T02:26:34+07:00

โรคอ้วนกับกรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ❓

2019-08-16T02:30:16+07:00

โรคอ้วน นั้นไม่ใช่แค่เพียงส่งความกังวลต่อความสวยงาม สัดส่วน และบุคลิกภาพ ความอ้วนนำมาซึ่งโรคต่างๆ ได้มากมาย และกรดไหลย้อนก็อาจเป็นหนึ่งในนั้น ในการศีกษาวิจัยใหม่ๆ พบว่าเมื่อร่างกายมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนได้ อาการแสบร้อนกลางอก หรือ กรดไหลย้อน GERD (gastroesophagael reflux disease) เกิดจากกรดในกระเพาะหลั่งออกมามากเกินไป ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาตามหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารนี้เชื่อมต่อระหว่างลำคอและกระเพาะอาหาร อาการแสบร้อนกลางอก หรือ กรดไหลย้อนส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังจากรับประทานอาหารไปได้ไม่นาน โดยบางท่านแสบร้อนกลางอกหรือแสบร้อนที่ลำคอ บางท่านมีรสเปรี้ยวหรือรสขมภายในปาก หรือบางท่านมีอาการไอเรื้อรัง ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและกรดไหลย้อนคือ ไขมันที่หน้าท้องที่เพิ่มมากขึ้นนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการดันต่อกระเพาะอาหาร และมีส่วนทำให้ลำไส้เคลื่อนที่มาดันที่กระเพาะอาหาร หรือบางท่านที่เป็นโรคอ้วนมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมา ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการบรรเทาอาการกรดไหลย้อนของคนที่เป็นโรคอ้วน

โรคอ้วนกับกรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ❓2019-08-16T02:30:16+07:00

บุหรี่กับโรคกรดไหลย้อน

2019-08-10T02:11:40+07:00

โรคกรดไหลย้อน เป็นอีกหนึ่งโรคที่ถูกกระตุ้นให้เกิดอาการจากบุหรี่ได้ โดยเฉพาะอาการแสบร้อนกลางหน้าอก ซึ่งมีสาเหตุที่ทำให้เกิดได้ ดังนี้ การสูบบุหรี่ทำให้ผลิตน้ำลายได้น้อยลง ทำให้รู้สึกปากแห้ง น้ำลายข้นหนืด โดยปกติน้ำลายจะเป็นตัวเคลือบหลอดอาหารช่วยลดความเป็นกรดที่ย้อนขึ้นมาจากกระเพาะได้ แต่ในคนที่สูบบุหรี่จะมีน้ำลายน้อยลง ทำให้เมื่อเกิดอาการกรดไหลย้อน หลอดอาหารจะระคายเคืองได้ง่ายและเมื่อเกิดแผลแล้วมักหายยากด้วย การสูบบุหรี่กระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร การหลั่งกรดในปริมาณที่มากเกินไปสามารถทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ การสูบบุหรี่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายอ่อนแรงและคลายตัว​ กล้ามเนื้อหูรูดนี้ตั้งอยู่ระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะ หากหูรูดมีการคลายตัวผิดปกติแล้ว จะทำให้เกิดการไหลย้อนของกรดและอาหารจากกระเพาะอาหารขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้ การสูบบุหรี่ทำให้กรดในกระเพาะมีความรุนแรงมากขึ้น​ เนื่องจากบุหรี่จะกระตุ้นให้เกลือน้ำดีจากลำไส้เล็กไหลเข้าสู่กระเพาะอาหาร อาจทำให้เนื้อเยื่อกระเพาะ หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นถูกทำลายได้ง่ายขึ้น การสูบบุหรี่ทำลายหลอดอาหารได้โดยตรง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหารมากขึ้นด้วย การสูบบุหรี่ทำให้ย่อยอาหารช้าลง เพราะบุหรี่ไปยับยั้งการหลั่งกรดที่สำคัญของกระเพาะ รวมถึงทำให้หลอดเลือดที่กระเพาะและลำไส้เล็กตีบแคบลง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ส่งผลต่อการย่อยอาหาร อาหารจึงค้างอยู่ในกระเพาะนานขึ้น เกิดอาการกรดไหลย้อนตามมาทีหลังได้ ผลของการสูบบุหรี่ต่อระบบทางเดินอาหาร กลไกลการย่อยอาหารเริ่มตั้งแต่ปากจนถึงลำไส้ใหญ่ ซึ่งบุหรี่ก็มีผลต่ออวัยวะเกือบทุกส่วนในร่างกาย ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ผิดปกติไป

บุหรี่กับโรคกรดไหลย้อน2019-08-10T02:11:40+07:00

ความเครียด VS โรคกระเพาะ

2019-08-10T01:52:27+07:00

ความเครียด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาการโรคกระเพาะอาหารกำเริบ เพราะในขณะที่เราเครียด ระบบประสาทอัตโนมัติจะทำงานมากขึ้น มีผลกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ และมีผลต่อการบีบตัวของกระเพาะร่วมด้วย ปกติโรคกระเพาะจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีแผล และ กลุ่มที่ไม่มีแผล ส่วนใหญ่ผู้ที่ประสบกับภาวะเครียดลงกระเพาะจะเกิดกับโรคกระเพาะกลุ่มที่ไม่มีแผล ส่วนใหญ่มีอาการปวดจุกบริเวณลิ้นปี่เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งมักจะเกิดหลังรับประทานอาหาร ซึ่งถ้ามีภาวะเครียดก็อาจทำให้อาการกำเริบได้ ทำให้มีอาการบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นได้ อาการของภาวะเครียดลงกระเพาะ ส่วนใหญ่จะมีอาการปวด จุก แน่น แสบบริเวณลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน แน่นหน้าอก หรือเรอบ่อยได้ มักจะเกิดหลังจากรับประทานอาหาร อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะเกิดอาการระหว่างมื้ออาหารได้เช่นเดียวกัน อาการมักไม่รุนแรง เป็น

ความเครียด VS โรคกระเพาะ2019-08-10T01:52:27+07:00

โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร❓❓❓

2019-08-09T01:15:12+07:00

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ 1️⃣ อายุ ดังกล่าวแล้ว อายุยิ่งสูงขึ้น โอกาสเกิดโรคนี้ยิ่งสูงขึ้น 2️⃣ การกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะกินมื้อเย็นก่อนนอน เพราะปริมาณอาหารยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร และการนอนราบยังเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาหารและกรดจึงไหลย้อนกลับเข้าหลอดอาหารได้ง่าย 3️⃣ การนอนราบหลังกินอาหาร เพราะจะเกิดแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากอาหาร/เครื่องดื่ม 4️⃣ ประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม ได้แก่       ❌ ประเภทอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน เช่น ไขมัน มันฝรั่งทอด มันเผาหรือมันต้ม อาหารทอด อาหารผัดน้ำมันมากๆ       ❌ อาหารและเครื่องดื่มที่มีสารช่วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพราะจะลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร เช่น ช็อกโกแลต สุรา/แอลกอฮอล์  

โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร❓❓❓2019-08-09T01:15:12+07:00

รู้หรือไม่!! กล้วยน้ำว้า​ 4 สีมีประโยชน์​อย่างไร

2024-01-23T15:00:46+07:00

กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ง่ายและรับประทานกันมานานแล้ว แต่หลายคนอาจจะชินกับการรับประทานกล้วยสุก แต่ทราบหรือไม่ว่า กล้วยน้ำว้ามีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด ทั้งให้พลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โพแทสเซียม วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้าจะแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงวัย (สี) มีดังนี้ ผลดิบ​ (เปลือกสีเขียว)​ แก้โรคกระเพาะ​ เนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และกล้วยดิบเป็นมารฟลาโวนอยด์ธรรมชาติ คือ ลิวโคไซยานิดิน (leucocyanidin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้โดยช่วยเพิ่มการหลั่งเมือกในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แล้วสารเมธาโนลิก (methanolic extract) ที่ได้จากการสกัดกล้วยดิบยังมีคุณสมบัติในการรักษาแผลด้วยเช่นกัน ผลห่าม​ (เปลือกมีสีเขียวอมเหลือง)​ แก้ท้องเสีย​ เนื่องจากในกล้วยน้ำว้ามีคาร์โบไฮเดรตจากกล้วยที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้นั้น เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเหล่าจุลินทรีย์โปรไบโอติกซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่พบในลำไส้ ช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดนี้เพิ่มจำนวนขึ้น และยังอุดมไปด้วยสารแทนนิน

รู้หรือไม่!! กล้วยน้ำว้า​ 4 สีมีประโยชน์​อย่างไร2024-01-23T15:00:46+07:00

ผลไม้ที่คนเป็นกรดไหลย้อนทานได้

2021-11-11T11:15:13+07:00

คนที่เป็นกรดไหล​ย้อน​ หรือมีคนใกล้ตัวเป็นคงทราบดีว่า เมื่อเป็นกรดไหล​ย้อน​เเล้วต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกินอย่างมาก นั่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ได้​ เพราะถ้าเผลอตามใจปากอาจจะทำให้อาการกำเริบได้ทันที แม้กระทั่งผลไม้ ที่เป็นอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ ก็ยังเลือกกินได้แค่บางชนิดเท่านั้นเอง แล้ว ผลไม้สำหรับคนเป็นกรดไหล​ย้อน​ มีอะไรบ้าง? ชนิดไหนกินดี ชนิดไหนกินไม่ได้ วันนี้น้ำว้าจะมาบอกค่ะ ผลไม้ที่​คนเป็น​กรดไหลย้อนทานได้ แอปเปิ้ล​ มะละกอ แตงโม แก้วมังกร​ อโวคาโด เมลอน ลูกพรุน ลูกพีช ลูกแพร์​ เเละ ​กล้วยน้ำว้า​ ผลไม้ที่มีค่าความเป็นกรดต่ำหรือเป็นด่าง จะช่วยทำให้ค่าความเป็นกรดในกระเพาะอาหารมีความเป็นกลางมากขึ้น ช่วยบรรเทาอาการจากกรดไหลย้อนได้​ เเละมีสรรพคุณ​ฤทธิ์​เย็น​ในกระเพาะ​ แต่จะมีฤทธิ์ร้อนที่ลำไส้ในการช่วยย่อยอาหาร ใช้เคลือบลำไส้ได้ดี เพราะจะเป็นเมือกเมื่ออยู่ในลำไส้ ผลไม้ที่ควรเลี่ยง

ผลไม้ที่คนเป็นกรดไหลย้อนทานได้2021-11-11T11:15:13+07:00

รู้ทัน‼ สัญญาณเตือนโรคกระเพาะอาหาร

2019-07-30T23:44:17+07:00

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโรคกระเพาะ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันในระยะเวลารวดเร็ว เป็นในระยะสั้น ๆ และหายภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการบ่อยครั้งเป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดแผล และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ โรคกระเพาะอาหารอักเสบเป็นโรคไม่ร้ายแรง เเต่เป็นโรคเรื้อรัง​ ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแตกต่างกันหรือไม่พบความผิดปกติใด ๆ เราลองมาดูกันว่าอาการที่เราเป็นเข้าข่ายโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือไม่​ เพื่อเราจะได้รักษาได้ทันท่วงที รู้สึกปวดท้องเมื่อท้องว่าง​ บริเวณท้องส่วนบน ตั้งแต่บริเวณใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ อาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมหลังรับประทานอาหาร ท้องอืด​ อิ่มง่าย​ อิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้ไม่มาก​ ไม่มีความอยากอาหาร​ อาจมีอาการเรอบ่อย มีอาการท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยร่วมด้วย ปวดท้องเวลาดึก​ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ปวดแสบร้อนท้อง

รู้ทัน‼ สัญญาณเตือนโรคกระเพาะอาหาร2019-07-30T23:44:17+07:00

สุราส่งผลต่อกระเพาะอาหารอย่างไร ❓

2019-07-30T23:30:51+07:00

กระเพาะอาหาร หมายถึง โรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อกระเพาะอาหาร ถึงแม้ว่าคนที่เป็นโรคนี้แล้วจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรัง ถ้าไม่รักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ที่ดื่มสุรา มักจะพบว่าตนเองมีอาการปวด แสบ จุกท้องเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ดื่มอย่างเรื้อรัง และดื่มขณะท้องว่าง อาการดังกล่าวเกิดเนื่องจาก แอลกอฮอล์ส่วนมากจะไม่ได้ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในทันที แต่จะถูกดูดซึมเข้าสู่บริเวณลำไส้เล็ก แล้วจึงเข้าสู่กระแสเลือด ในช่วงที่แอลกอฮอล์อยู่ในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก จะทำให้ความเป็นกรดของ อวัยวะทั้งสองเพิ่มมากขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อบุชั้นบนสุด ซึ่งเป็นชั้นที่ปกป้องกระเพาะอาหารจากการย่อยของกรดถูกทำลาย ทำให้กรดในกระเพาะไปทำลายเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆที่อยู่ลึกเข้าไปของกระเพาะอาหาร เกิดเป็นอาการปวดแสบ ปวดร้อน และเกิดการอักเสบที่เนื้อเยื่อบริเวณนั้นจนกลายเป็นโรคกระเพาะในที่สุด การเกิดโรคกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา​ พบได้ทั้งแบบเรื้อรัง และเฉียบพลัน อาการที่พบได้ทั่วไปในรายที่มีโรคกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน คือมีความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณท้องช่วงบน บางครั้งพบว่า มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

สุราส่งผลต่อกระเพาะอาหารอย่างไร ❓2019-07-30T23:30:51+07:00
Go to Top