จริงหรือไม่? ผงกล้วยดิบช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ส่วนต้นได้

2022-12-07T13:24:22+07:00

อย่างที่ทุกท่านทราบกันว่ากล้วยน้ำว้าดิบมีประโยชน์พร้อมด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมายในตัว ไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่าง ๆ ที่ครบถ้วน แร่ธาตุโพแทสเซียมที่พบในกล้วยด้วยปริมาณที่สูง แต่อีกสิ่งที่หลายคนมองข้าม คือ คุณสมบัติในการเป็นแป้งทนต่อการย่อยซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมาก วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับประโยชน์ของกล้วยที่หลายท่านไม่เคยรู้มาก่อนกันค่ะ ทำความรู้จักแป้งทนต่อการย่อย แป้งถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย แต่หากเรารับประทานแป้งมากจนเกินไปก็จะทำให้เกิดไขมันสะสมและเกิดโรคอ้วนตามมา อย่างไรก็ตาม ยังมีแป้งอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็กได้ เรียกแป้งกลุ่มนี้ว่า “แป้งทนการย่อย” (Resistant starch ; RS) สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด โดยแป้งทนการย่อยต่อเอนไซม์ชนิดที่ 2 (Resistant starch 2; RS2) เป็นแป้งทนการย่อยที่อยู่ในรูปของเม็ดแป้งดิบ พบได้มากในกล้วยดิบ สรรพคุณของแป้งทนต่อการย่อยจากกล้วยน้ำว้าดิบ แป้งทนการย่อยชนิดที่ 2 นี้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้

จริงหรือไม่? ผงกล้วยดิบช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ส่วนต้นได้2022-12-07T13:24:22+07:00

สาเหตุโรคลำไส้รั่วและแนวทางป้องกัน ดูแลรักษา

2020-11-25T22:15:01+07:00

โรคลำไส้รั่วอาจเป็นโรคที่หลายคนเคยได้ยิน แต่ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วอาการเป็นอย่างไร  ลำไส้เรารั่วได้จริง ๆ หรือ วันนี้ทางแอดมินมีคำตอบมาฝากกันค่ะ โรคลำไส้รั่วคืออะไร           ในคนปกติเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้จะเรียงตัวชิดติดกันเป็นระเบียบ เรียกว่า “tight junctions” เพื่อทำหน้าที่คัดกรองสารเข้า-ออก และควบคุมสารพิษหรือเชื้อโรคที่จะเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง แต่เมื่อเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เกิดความผิดปกติ มีการอักเสบ เซลล์จึงไม่สามารถเรียงตัวชิดกันได้ ทำให้สารพิษหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ สามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างอิสระ เรียกความผิดปกตินี้ว่า ภาวะลำไส้รั่ว" หรือ "Leaky Gut Syndrome"  ซึ่งเมื่อสารดังกล่าวเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็เปรียบเหมือนสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ร่างกายจะปฏิเสธสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ ด้วยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานมากขึ้นเพื่อมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมนั้น ผลที่ตามมา คือ อาการไม่พึงประสงค์ต่าง

สาเหตุโรคลำไส้รั่วและแนวทางป้องกัน ดูแลรักษา2020-11-25T22:15:01+07:00

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS)

2020-03-01T23:49:15+07:00

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS; Irritable Bowel Syndrome) เป็นโรคลำไส้ที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยนัก โรคลำไส้แปรปรวนกลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต และทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง โดยผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนจะมีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล บางรายอาจมีอาการท้องผูกเด่น บางรายอาจมีอาการท้องเสียเด่น แต่ทุกรายจะมีอาการปวดท้องเป็นอาการเฉพาะของโรค สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด เบื้องต้นพบว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จึงถือเป็นโรคที่ควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจเพื่อสังเกตตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดโรค อาการของโรคลำไส้แปรปรวน           ผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนมักทรมานจากการปวดท้อง แต่เมื่อได้ถ่ายอุจจาระอาการปวดจะหายไปและสบายท้องมากขึ้น โดยส่วนใหญ่อาการปวดมักปวดเกร็งที่ท้องน้อย อาการปวดท้องแต่ละครั้งจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งปวดมาก บางครั้งปวดน้อย ร่วมกับการมีการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสลับกัน โดยแต่ละรายจะมีอาการหนึ่งอาการใด (ท้องผูก/ท้องเสีย) เด่นกว่าอีกอาการหนึ่ง อาการที่สำคัญของโรคไอบีเอส คือ ผู้ป่วยอาจรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด ท้องผูก

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS)2020-03-01T23:49:15+07:00

โรคกระเพาะ​กำลังจะมาโดยไม่รู้ตัว​ กว่าจะรู้ก็เป็นเรื้อรังเสียเเล้ว‼️

2019-08-16T02:29:07+07:00

โรคกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ทำงานหนัก จนทำให้เรารับประทานอาหารไม่เวลา หรือความเครียด ความวิตกกังวล ก็สามารถทำให้เราเป็นโรคกระเพาะได้เช่นกัน เพื่อเป็นการปกป้องไม่ให้เกิดโรคกระเพาะ เรามาลองกลับมาสังเกตอาการเตือนของร่างกาย เพื่อให้เราสามารถรับมือได้ทันท่วงที มาเช็คกันดูค่ะ​ ว่าเรามีอาการแบบนี้หรือไม่ ❓ รู้สึกปวดท้องเมื่อท้องว่าง​ บริเวณท้องส่วนบน ตั้งแต่บริเวณใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ อาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมหลังรับประทานอาหาร ปวดแสบร้อนท้อง ​ท้องอืด​ อิ่มง่าย​ อิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้ไม่มาก​ ไม่มีความอยากอาหาร​ อาจมีอาการเรอบ่อย มีอาการท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยร่วมด้วย ปวดท้องเวลาดึก​ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน โรคกระเพาะอาหารเป็นเหมือนภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากเราละเลยไม่ให้ความใส่ใจดูแลสังเกตุอาการของตนเอง อาจจะเป็นเรื้อรังได้​ 🍌🥕มาเริ่มต้นสุขภาพที่ดีในระยะยาวด้วยการทานผักเเละผลไม้ อาหารจากธรรมชาติกันดีกว่าค่ะ "เครื่องดื่มกล้วย​น้ำว้าดิบชนิดผง​ ตราน้ำว้า​ ดื่มง่าย​

โรคกระเพาะ​กำลังจะมาโดยไม่รู้ตัว​ กว่าจะรู้ก็เป็นเรื้อรังเสียเเล้ว‼️2019-08-16T02:29:07+07:00

เรื่อง​ อึ​ อึ​ ที่จำเป็นต้องรู้​ นั่งอึอย่างไร​ ไม่ให้ท้องผูก

2019-08-16T02:28:51+07:00

ท่านั่งขับถ่ายมีผลอย่างมากต่อการขับถ่ายอุจจาระ ท่านั่งที่ถูกต้องจะช่วยให้ลำไส้ตรงทำมุมได้ดีขึ้น​ เเละเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการขับถ่าย อีกทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและไม่ล้า ภาพเปรียบเทียบ​ที่ส่งผลต่อการขับถ่ายของลำใส้ใหญ่ ภาพขวาคือท่านั่งปกติ 90 องศาลำใส้ใหญ่ถูกรัดไว้ด้วยส่วนที่ควบคุมการขับถ่าย ทำให้ถูกบีบรัดขับถ่ายยาก ด้านซ้ายคือท่านั่ง​ 35​ องศา ลำใส้ถูกยืดตรง ง่ายต่อการขับถ่าย ในกรณีที่บางคนมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายมากๆ แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้การนั่งยอง หรือการใช้ห้องน้ำแบบส้วมซึมนั่นเอง เพราะนั่นคือการนั่งขับถ่ายในท่าที่ถูกต้อง และช่วยการขับถ่ายง่ายที่สุด และสำหรับการนั่งชักโครกในท่านั่งที่ถูกหลักนั้น อาจใช้​เก้าอี้ตัวเล็กวางรองเท้าเพื่อที่จะชันหัวเข่าขี้นมาให้ร่างกายทำมุม 35 องศาได้ เพื่อให้การนั่งขับถ่ายถูกวิธี​ หรือจะลองทำตามเทคนิคดังต่อไปนี้ นั่งสบายๆ บนส้วม โดยแยกขาทั้งสองข้างออกจากกันให้กว้างกว่าส่วนสะโพก วางเท้าทั้งสองข้างในแนวราบแนบไปบนม้าวางเท้าที่สูงจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร โน้มตัวไปข้างหน้าและวางปลายแขนไปบนต้นขา ผ่อนคลายและหายใจปกติ อย่ากลั้นหายใจ ทำให้เอวคุณขยายออก โดยยื่นกล้ามเนื้อหน้าท้องคุณออกมา

เรื่อง​ อึ​ อึ​ ที่จำเป็นต้องรู้​ นั่งอึอย่างไร​ ไม่ให้ท้องผูก2019-08-16T02:28:51+07:00

กรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร ?

2019-08-10T02:26:34+07:00

กรดไหลย้อนเป็นอาการแสบร้อนกลางอกที่เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณหลอดอาหารคลายตัวผิดปกติ หากเกิดภาวะนี้ในหญิงตั้งครรภ์มักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลงและทำให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารที่อยู่ติดกับกระเพาะคลายตัวบ่อยกว่าปกติ ประกอบกับทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้นจนมดลูกขยายขนาดใหญ่ขึ้นและเบียดกระเพาะอาหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น เมื่อรับประทานอาหารมาก ๆ หรือเอนตัวลงนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จไม่นาน น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจึงไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้รู้สึกเจ็บและแสบร้อนบริเวณหน้าอกตามมา หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน จะมีอาการเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยอาการที่มักพบได้บ่อย มีดังนี้ แสบร้อนบริเวณคอหรือหน้าอกส่วนบน เรอบ่อย เรอเปรี้ยว หรือรู้สึกขมคอหลังจากตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคืองคอ หรือเสียงแหบ ทั้งนี้ ภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใด เพียงแต่อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตัวคุณแม่เอง และในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองหลังจากคลอดบุตรแล้ว การรับมือกรดไหลย้อนในช่วงตั้งครรภ์  ทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง และทานอาหารตรงตามเวลาทุกมื้ออาหารอ่อน ย่อยง่ายและเคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกคำก่อนกลืน อย่ารับประทานอาหารมากเกินไป หรือรับประทานอาหารมื้อดึก ที่รับประทานเสร็จแล้วนอนเลย

กรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร ?2019-08-10T02:26:34+07:00

โรคอ้วนกับกรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ❓

2019-08-16T02:30:16+07:00

โรคอ้วน นั้นไม่ใช่แค่เพียงส่งความกังวลต่อความสวยงาม สัดส่วน และบุคลิกภาพ ความอ้วนนำมาซึ่งโรคต่างๆ ได้มากมาย และกรดไหลย้อนก็อาจเป็นหนึ่งในนั้น ในการศีกษาวิจัยใหม่ๆ พบว่าเมื่อร่างกายมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนได้ อาการแสบร้อนกลางอก หรือ กรดไหลย้อน GERD (gastroesophagael reflux disease) เกิดจากกรดในกระเพาะหลั่งออกมามากเกินไป ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาตามหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารนี้เชื่อมต่อระหว่างลำคอและกระเพาะอาหาร อาการแสบร้อนกลางอก หรือ กรดไหลย้อนส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังจากรับประทานอาหารไปได้ไม่นาน โดยบางท่านแสบร้อนกลางอกหรือแสบร้อนที่ลำคอ บางท่านมีรสเปรี้ยวหรือรสขมภายในปาก หรือบางท่านมีอาการไอเรื้อรัง ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและกรดไหลย้อนคือ ไขมันที่หน้าท้องที่เพิ่มมากขึ้นนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการดันต่อกระเพาะอาหาร และมีส่วนทำให้ลำไส้เคลื่อนที่มาดันที่กระเพาะอาหาร หรือบางท่านที่เป็นโรคอ้วนมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมา ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการบรรเทาอาการกรดไหลย้อนของคนที่เป็นโรคอ้วน

โรคอ้วนกับกรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ❓2019-08-16T02:30:16+07:00

ความเครียด VS โรคกระเพาะ

2019-08-10T01:52:27+07:00

ความเครียด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาการโรคกระเพาะอาหารกำเริบ เพราะในขณะที่เราเครียด ระบบประสาทอัตโนมัติจะทำงานมากขึ้น มีผลกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ และมีผลต่อการบีบตัวของกระเพาะร่วมด้วย ปกติโรคกระเพาะจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีแผล และ กลุ่มที่ไม่มีแผล ส่วนใหญ่ผู้ที่ประสบกับภาวะเครียดลงกระเพาะจะเกิดกับโรคกระเพาะกลุ่มที่ไม่มีแผล ส่วนใหญ่มีอาการปวดจุกบริเวณลิ้นปี่เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งมักจะเกิดหลังรับประทานอาหาร ซึ่งถ้ามีภาวะเครียดก็อาจทำให้อาการกำเริบได้ ทำให้มีอาการบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นได้ อาการของภาวะเครียดลงกระเพาะ ส่วนใหญ่จะมีอาการปวด จุก แน่น แสบบริเวณลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน แน่นหน้าอก หรือเรอบ่อยได้ มักจะเกิดหลังจากรับประทานอาหาร อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะเกิดอาการระหว่างมื้ออาหารได้เช่นเดียวกัน อาการมักไม่รุนแรง เป็น

ความเครียด VS โรคกระเพาะ2019-08-10T01:52:27+07:00

โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร❓❓❓

2019-08-09T01:15:12+07:00

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ 1️⃣ อายุ ดังกล่าวแล้ว อายุยิ่งสูงขึ้น โอกาสเกิดโรคนี้ยิ่งสูงขึ้น 2️⃣ การกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะกินมื้อเย็นก่อนนอน เพราะปริมาณอาหารยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร และการนอนราบยังเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาหารและกรดจึงไหลย้อนกลับเข้าหลอดอาหารได้ง่าย 3️⃣ การนอนราบหลังกินอาหาร เพราะจะเกิดแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากอาหาร/เครื่องดื่ม 4️⃣ ประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม ได้แก่       ❌ ประเภทอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน เช่น ไขมัน มันฝรั่งทอด มันเผาหรือมันต้ม อาหารทอด อาหารผัดน้ำมันมากๆ       ❌ อาหารและเครื่องดื่มที่มีสารช่วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพราะจะลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร เช่น ช็อกโกแลต สุรา/แอลกอฮอล์  

โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร❓❓❓2019-08-09T01:15:12+07:00

รู้หรือไม่!! กล้วยน้ำว้า​ 4 สีมีประโยชน์​อย่างไร

2024-01-23T15:00:46+07:00

กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ง่ายและรับประทานกันมานานแล้ว แต่หลายคนอาจจะชินกับการรับประทานกล้วยสุก แต่ทราบหรือไม่ว่า กล้วยน้ำว้ามีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด ทั้งให้พลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โพแทสเซียม วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้าจะแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงวัย (สี) มีดังนี้ ผลดิบ​ (เปลือกสีเขียว)​ แก้โรคกระเพาะ​ เนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และกล้วยดิบเป็นมารฟลาโวนอยด์ธรรมชาติ คือ ลิวโคไซยานิดิน (leucocyanidin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้โดยช่วยเพิ่มการหลั่งเมือกในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แล้วสารเมธาโนลิก (methanolic extract) ที่ได้จากการสกัดกล้วยดิบยังมีคุณสมบัติในการรักษาแผลด้วยเช่นกัน ผลห่าม​ (เปลือกมีสีเขียวอมเหลือง)​ แก้ท้องเสีย​ เนื่องจากในกล้วยน้ำว้ามีคาร์โบไฮเดรตจากกล้วยที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้นั้น เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเหล่าจุลินทรีย์โปรไบโอติกซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่พบในลำไส้ ช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดนี้เพิ่มจำนวนขึ้น และยังอุดมไปด้วยสารแทนนิน

รู้หรือไม่!! กล้วยน้ำว้า​ 4 สีมีประโยชน์​อย่างไร2024-01-23T15:00:46+07:00
Go to Top