เเอลกอฮอลล์เเละบุหรี่ส่งผลต่อกรดไหลย้อนได้อย่างไร

2021-05-19T13:31:47+07:00

หลายคนอาจคิดว่าการที่เรารับประทานอาหารไม่เป็นเวลาเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน อย่างไรก็ตาม แท้จริงแล้วชนิดของอาหาร เครื่องดื่ม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัวหลาย ๆ อย่าง ล้วนมีความเชื่อมโยงกับการกำเริบหรือความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าการสูบบุหรี่และการสัมผัสควันบุหรี่ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกรดไหลย้อนมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า รวมถึงทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนแย่ลง แน่นอนว่าบุหรี่นั้นเป็นโทษต่อร่างกาย และทำให้สุขภาพต่าง ๆ ในหลายด้านแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นโรคปอด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร  เพราะสารพิษในควันบุหรี่จะเข้าไปทำลายหลอดอาหารโดยตรง ทำให้การย่อยอาหารเกิดขึ้นช้าลง และยับยั้งการหลั่งกรดที่สำคัญของกระเพาะอาหาร ทำให้หลอดเลือดในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กตีบแคบลง เลือดจึงไหลเวียนได้ไม่สะดวก อาหารจึงค้างอยู่ในนั้นนานและทำให้เกิดกรดไหลย้อนตามมา นอกจากนี้ ควันบุหรี่ยังเข้าไปกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดกรดที่มากเกินไป สารพิษในควันบุหรี่ยังส่งผลทำลายกล้ามเนื้อหูรูด ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัวจึงเกิดกรดไหลย้อนตามมาอีกด้วย การสูบบุหรี่ทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ลดปริมาณน้ำลาย ทำให้น้ำลายเหนียวข้น โดยปกติแล้วน้ำลายนี้เองที่จะทำหน้าที่เคลือบหลอดอาหาร มีหน้าที่กำจัดกรดออกจากหลอดอาหาร

เเอลกอฮอลล์เเละบุหรี่ส่งผลต่อกรดไหลย้อนได้อย่างไร2021-05-19T13:31:47+07:00

สุราส่งผลต่อกระเพาะอาหารอย่างไร ❓

2019-07-30T23:30:51+07:00

กระเพาะอาหาร หมายถึง โรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อกระเพาะอาหาร ถึงแม้ว่าคนที่เป็นโรคนี้แล้วจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรัง ถ้าไม่รักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ที่ดื่มสุรา มักจะพบว่าตนเองมีอาการปวด แสบ จุกท้องเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ดื่มอย่างเรื้อรัง และดื่มขณะท้องว่าง อาการดังกล่าวเกิดเนื่องจาก แอลกอฮอล์ส่วนมากจะไม่ได้ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในทันที แต่จะถูกดูดซึมเข้าสู่บริเวณลำไส้เล็ก แล้วจึงเข้าสู่กระแสเลือด ในช่วงที่แอลกอฮอล์อยู่ในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก จะทำให้ความเป็นกรดของ อวัยวะทั้งสองเพิ่มมากขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อบุชั้นบนสุด ซึ่งเป็นชั้นที่ปกป้องกระเพาะอาหารจากการย่อยของกรดถูกทำลาย ทำให้กรดในกระเพาะไปทำลายเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆที่อยู่ลึกเข้าไปของกระเพาะอาหาร เกิดเป็นอาการปวดแสบ ปวดร้อน และเกิดการอักเสบที่เนื้อเยื่อบริเวณนั้นจนกลายเป็นโรคกระเพาะในที่สุด การเกิดโรคกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา​ พบได้ทั้งแบบเรื้อรัง และเฉียบพลัน อาการที่พบได้ทั่วไปในรายที่มีโรคกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน คือมีความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณท้องช่วงบน บางครั้งพบว่า มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

สุราส่งผลต่อกระเพาะอาหารอย่างไร ❓2019-07-30T23:30:51+07:00
Go to Top