อาการแสบท้อง: สาเหตุและวิธีดูแลระบบทางเดินอาหาร | Namwah

2024-09-20T12:27:59+07:00

หิวก็แสบท้อง อิ่มแล้วก็ยังแสบท้อง ตอนกลางดึกก็ยังจะแสบท้องอยู่อีก ยิ่งเวลาเครียด ๆ ด้วยแล้วยิ่งปวดแสบเลย อาการแสบท้องเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเกิดจากความหิวหรือหลังรับประทานอาหาร บางครั้งอาการนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงกลางดึกหรือเมื่อเกิดความเครียด ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเรื้อรังโดยไม่ดูแล อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เรามาทำความรู้จักกับสาเหตุและวิธีดูแลอาการแสบท้องกันค่ะ สาเหตุของอาการแสบท้อง โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบท้องติดอันดับต้น ๆ ของคนไทยเรา สาเหตุเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารรสจัดติดต่อกันนาน ๆ ความเครียด ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดแผล มีการอักเสบ บวม แดง หรือเกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) ซึ่งทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังต่อเนื่องนานเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการที่เห็นได้ชัดของโรคกระเพาะอาหารทั้งฉับพลันและเรื้อรังนี้ คือ อาการปวดแสบท้องบริเวณกระเพาะอาหารหรือใต้ลิ้นปี่ ท้องอืด

อาการแสบท้อง: สาเหตุและวิธีดูแลระบบทางเดินอาหาร | Namwah2024-09-20T12:27:59+07:00

เเอลกอฮอลล์เเละบุหรี่ส่งผลต่อกรดไหลย้อนได้อย่างไร

2021-05-19T13:31:47+07:00

หลายคนอาจคิดว่าการที่เรารับประทานอาหารไม่เป็นเวลาเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน อย่างไรก็ตาม แท้จริงแล้วชนิดของอาหาร เครื่องดื่ม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัวหลาย ๆ อย่าง ล้วนมีความเชื่อมโยงกับการกำเริบหรือความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าการสูบบุหรี่และการสัมผัสควันบุหรี่ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกรดไหลย้อนมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า รวมถึงทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนแย่ลง แน่นอนว่าบุหรี่นั้นเป็นโทษต่อร่างกาย และทำให้สุขภาพต่าง ๆ ในหลายด้านแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นโรคปอด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร  เพราะสารพิษในควันบุหรี่จะเข้าไปทำลายหลอดอาหารโดยตรง ทำให้การย่อยอาหารเกิดขึ้นช้าลง และยับยั้งการหลั่งกรดที่สำคัญของกระเพาะอาหาร ทำให้หลอดเลือดในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กตีบแคบลง เลือดจึงไหลเวียนได้ไม่สะดวก อาหารจึงค้างอยู่ในนั้นนานและทำให้เกิดกรดไหลย้อนตามมา นอกจากนี้ ควันบุหรี่ยังเข้าไปกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดกรดที่มากเกินไป สารพิษในควันบุหรี่ยังส่งผลทำลายกล้ามเนื้อหูรูด ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัวจึงเกิดกรดไหลย้อนตามมาอีกด้วย การสูบบุหรี่ทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ลดปริมาณน้ำลาย ทำให้น้ำลายเหนียวข้น โดยปกติแล้วน้ำลายนี้เองที่จะทำหน้าที่เคลือบหลอดอาหาร มีหน้าที่กำจัดกรดออกจากหลอดอาหาร

เเอลกอฮอลล์เเละบุหรี่ส่งผลต่อกรดไหลย้อนได้อย่างไร2021-05-19T13:31:47+07:00

สาเหตุ โรคกรดไหลย้อน และการดูแลสุขภาพ

2020-10-30T19:02:16+07:00

“โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease; GERD)” เป็นโรคเรื้อรังในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในคนไทย  โดยเป็นโรคที่มีผลรบกวนความสุขในการดำรงชีวิต และทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันต้องถูกรบกวนด้วยอาการปวดท้อง แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ โรคกรดไหลย้อนเป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก จุกแน่นหน้าอกคล้ายกับอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย อาจจะรู้สึกเหมือนมีน้ำรสขมหรือรสเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นมาทางปาก หรือเกิดการขย้อนอาหารจนรบกวนชีวิตประจำวันได้ โรคกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่

สาเหตุ โรคกรดไหลย้อน และการดูแลสุขภาพ2020-10-30T19:02:16+07:00

รู้ทัน! อาการกรดไหลย้อน โรคที่ใคร ๆ ก็เป็นได้

2021-02-12T12:07:49+07:00

ในปัจจุบันเราจะพบเห็นคนใกล้ตัวเป็น “โรคกรดไหลย้อน” กันมากขึ้น ซึ่งจัดว่าเป็นโรคยอดฮิต ยุคใหม่ที่ใคร ๆ ก็เป็นได้ โดยสาเหตุหลักมักมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องและการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสภาพสังคมปัจจุบัน โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารจนทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน หรือแม้แต่ไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม อาการของกรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้ (พบน้อย) รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ กลืนลำบาก กลืนเจ็บ หรือกลืนติดๆ ขัดๆ คล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ เจ็บคอ แสบคอหรือปาก หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก (bile

รู้ทัน! อาการกรดไหลย้อน โรคที่ใคร ๆ ก็เป็นได้2021-02-12T12:07:49+07:00

ยายับยั้งการหลั่งกรดโอมีพราโซล (Omeprazole)

2021-02-12T11:59:05+07:00

สำหรับหลาย ๆ ท่านที่มีอาการ อาหารไม่ย่อย หรือ Dyspepsia น่าจะเคยได้ยินหรือมีโอกาสได้ใช้ ยาโอมีพราโซล (Omeprazole) หรือ ยามิราซิด (Miracid®) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จึงช่วยลดอาการแสบกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องส่วนบน ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว คลื่นไส้ อาเจียน อาการแสบร้อนกลางอกหลังรับประทานอาหารเนื่องจากกรดเกิน โดยอาการที่เกิดขึ้นสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา ร่วมกับการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยา Omeprazole เป็นยาช่วยยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารในกลุ่มยับยั้งโปรตอน ปั๊ม (Proton Pump Inhibitors: PPIs) ออกฤทธิ์โดยการขัดขวางการหลั่งกรดในขั้นตอนสุดท้าย โดยตัวยาจะเข้ายับยั้งเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Miracid®,

ยายับยั้งการหลั่งกรดโอมีพราโซล (Omeprazole)2021-02-12T11:59:05+07:00

โรคกรดไหลย้อน เป็นแล้วอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

2019-09-28T00:56:07+07:00

หลายคนรู้จักกับโรคกรดไหลย้อนอยู่แล้ว แต่หลายคนยังไม่รู้ว่ามันสามารถก่อให้เกิด “มะเร็งหลอดอาหาร” ซึ่งอันตรายถึงชีวิต ! อาการของโรคกรดไหลย้อน นั้นผู้ที่เป็นโรคนี้จะรู้สึกจุดเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ (หลายคนมักสับสนกับโรคกระเพาะ) และมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณอก ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีน้ำรสเปรี้ยวหรืออาจจะขมในบางที ไหลย้อนขึ้นมาถึงคอจนกระทั่งปากและลำคอ ส่งผลให้เกิดอาการแสบคอ จนไปถึงการไอเรื้อรัง รู้สึกระคายเคืองที่คอ เสียงแหบ ซึ่งนั่นส่งผลกระทบต่อชีวิตทั้งในด้านบุคลิกภาพ และ การใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งนั่นเป็นแค่อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากโรคกรดไหลย้อน และกรดไหลย้อนยังสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้อีกด้วย โรคกรดไหลย้อนนั้นสร้างความระคายเคืองให้กับหลอดทางเดินอาหาร ทำให้มีความยากลำบากในการกินอาหาร ในการกลืนอาหาร และยังทำให้มีเลือดออกในหลอดอาหารอีกด้วย นี่ยังไม่รวมไปถึงการที่เกิดภาวะหลอดอาหารตีบตัน และ อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ณ บริเวณหลอดอาหาร จนสุดท้ายทำให้กลุ่มคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนมีโอกาสเสี่ยงในการเกิด “โรคมะเร็งหลอดอาหาร” แต่ยังไม่ต้องกลัวจนถึงขนาดนั้น เพราะในปัจจุบันนี้ยังพบคนที่เป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารจากโรคกรดไหลย้อนน้อยมาก ๆ แต่ไม่ใช่จะปล่อยปะละเลยกับภาวะนี้

โรคกรดไหลย้อน เป็นแล้วอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?2019-09-28T00:56:07+07:00

กรดไหลย้อน เป็นง่าย รักษายาก แต่ป้องกันได้ แค่ทำตามนี้‼

2020-06-09T17:14:49+07:00

โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) พบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรืออาการขย้อนจนรบกวนชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญหนึ่งมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องและการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสภาพสังคมปัจจุบัน สิ่งสำคัญเเละง่ายที่สุดในการป้องกันเเละบรรเทาโรคกรดไหลย้อน คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเราเอง ซึ่งการปรับพฤติกรรมแบบง่ายๆ มีอะไรบ้าง เรามาลองดูกันค่ะ ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กๆ 5 หรือ 6 มื้อต่อวันเพื่อป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารสร้างกรดออกมามากเกินไปเเละไม่ทำให้กระเพาะทำงานหนักเกินไป ควรทานอาหารเป็นคำเล็กๆ เเละค่อยๆ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนเพื่อที่จะได้ใช้เวลาในการย่อยอาหารน้อยลงเเละย่อยง่ายขึ้น ควรทานอาหารที่มีไขมันต่ำ, ไฟเบอร์สูง, เนื้อสัตว์สีขาวไม่ติดมัน เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา นมไขมันต่ำ ข้าวโอ๊ต และผงกล้วยดิบ เป็นต้น หลังทานอาหารเสร็จแล้ว ควรรออย่างน้อย

กรดไหลย้อน เป็นง่าย รักษายาก แต่ป้องกันได้ แค่ทำตามนี้‼2020-06-09T17:14:49+07:00

โรคกรดไหลย้อนเกิดได้อย่างไร❓

2019-08-10T01:42:25+07:00

ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร จะมีกล้ามเนื้อทำหน้าที่เป็นหูรูด (Sphincter) ช่วยบีบบังคับไม่ให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ทั้งนี้เพราะกรดจะทำลายเยื่อบุหลอดอาหาร เเละเนื้อเยื่อหลอดอาหารไม่สามารถทนต่อกรดได้ ดังนั้น เมื่อเกิดภาวะที่ทำให้หูรูดนี้หย่อนยาน หรือปิดไม่สนิท จึงส่งผลให้กรดและอาหารที่กำลังย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลทวนย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร ภาวะที่ทำให้เกิดการหย่อนยาน และ/หรือการปิดไม่สนิทของหูรูดที่สำคัญ มีดังนี้ 1️⃣ กระเพาะอาหารบีบตัวลดน้อยลง จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น จากสูงอายุขึ้น (อายุ 40 ปีขึ้นไป เซลล์ต่างๆทุกชนิดของร่างกายรวมทั้งของหูรูดและของกระเพาะอาหารจะค่อยๆเสื่อมลงๆ) จากการอักเสบของกระเพาะอาหาร หรือของเส้นประสาทกระเพาะอาหาร จากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคลายเครียด ยาลดกรด ยาบรรเทาปวดกล้ามเนื้อ จากสารบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน เช่น สุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจากการบีบตัวลดลง จึงส่งผลให้เกิดการคั่งของอาหารและกรด

โรคกรดไหลย้อนเกิดได้อย่างไร❓2019-08-10T01:42:25+07:00

โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร❓❓❓

2019-08-09T01:15:12+07:00

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ 1️⃣ อายุ ดังกล่าวแล้ว อายุยิ่งสูงขึ้น โอกาสเกิดโรคนี้ยิ่งสูงขึ้น 2️⃣ การกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะกินมื้อเย็นก่อนนอน เพราะปริมาณอาหารยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร และการนอนราบยังเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาหารและกรดจึงไหลย้อนกลับเข้าหลอดอาหารได้ง่าย 3️⃣ การนอนราบหลังกินอาหาร เพราะจะเกิดแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากอาหาร/เครื่องดื่ม 4️⃣ ประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม ได้แก่       ❌ ประเภทอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน เช่น ไขมัน มันฝรั่งทอด มันเผาหรือมันต้ม อาหารทอด อาหารผัดน้ำมันมากๆ       ❌ อาหารและเครื่องดื่มที่มีสารช่วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพราะจะลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร เช่น ช็อกโกแลต สุรา/แอลกอฮอล์  

โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร❓❓❓2019-08-09T01:15:12+07:00

รู้หรือไม่!! กล้วยน้ำว้า​ 4 สีมีประโยชน์​อย่างไร

2024-01-23T15:00:46+07:00

กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ง่ายและรับประทานกันมานานแล้ว แต่หลายคนอาจจะชินกับการรับประทานกล้วยสุก แต่ทราบหรือไม่ว่า กล้วยน้ำว้ามีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด ทั้งให้พลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โพแทสเซียม วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้าจะแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงวัย (สี) มีดังนี้ ผลดิบ​ (เปลือกสีเขียว)​ แก้โรคกระเพาะ​ เนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และกล้วยดิบเป็นมารฟลาโวนอยด์ธรรมชาติ คือ ลิวโคไซยานิดิน (leucocyanidin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้โดยช่วยเพิ่มการหลั่งเมือกในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แล้วสารเมธาโนลิก (methanolic extract) ที่ได้จากการสกัดกล้วยดิบยังมีคุณสมบัติในการรักษาแผลด้วยเช่นกัน ผลห่าม​ (เปลือกมีสีเขียวอมเหลือง)​ แก้ท้องเสีย​ เนื่องจากในกล้วยน้ำว้ามีคาร์โบไฮเดรตจากกล้วยที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้นั้น เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเหล่าจุลินทรีย์โปรไบโอติกซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่พบในลำไส้ ช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดนี้เพิ่มจำนวนขึ้น และยังอุดมไปด้วยสารแทนนิน

รู้หรือไม่!! กล้วยน้ำว้า​ 4 สีมีประโยชน์​อย่างไร2024-01-23T15:00:46+07:00
Go to Top