ช็อกโกแลตคือ เมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน (Tropical Cacao Tree) โดยเป็นส่วนผสมระหว่างเมล็ดโกโก้ กับเนยโกโก้หรือไขมันของเมล็ดโกโก้ ปัจจุบันช็อกโกแลตมีหลากหลายรูปแบบเเละหลายรสชาติ
แล้วจริงหรือที่ว่า กินช็อกโกแลตแล้วมีผลต่อกรดไหลย้อน
1. ช็อกโกแลตมีสารเมทิลเเซนทีน (Methyl-xanthine) ซึ่งมีรายงานว่าทำให้หูรูดหลอดอาหารมีการคลายตัวมากขึ้น โดยกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร ที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยขึ้น ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น
2. ช็อกโกแลตมีส่วนผสมของโกโก้ (Cocoa) โดยช็อกโกแลตแท่งไหนทำจากโกโก้แท้และยิ่งเข้มข้นเท่าไรปริมาณคาเฟอีนก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งคาเฟอีนจะไปเพิ่มการหลั่งของน้ำย่อยเเละกรดในกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้น
3. ช็อกโกแลตมีเนยโกโก้ (Cocoa butter) เป็นส่วนผสม โดยเนยโกโก้เป็น#ไขมันชนิดหนึ่งที่ทำให้ช็อกโกแลตขึ้นรูปได้ เนยโกโก้มีไขมันที่สูงที่ทำให้กระเพาะใช้เวลาในการย่อยอาหารนานขึ้น เเละไขมันนี้จะไปรวมกับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุก แน่น หรือร้อนที่กลางอกได้
จะเห็นได้ว่าการรับประทานช็อกโกแลตจะกระตุ้นให้อาการกรดไหลย้อนกำเริบมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อน ควรจะหลีกเลี่ยงการรับประทานช็อกโกแลตเเละระวังเรื่องของอาหารและพฤติกรรมในการกินอาหาร เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยลดไม่ให้อาการกรดไหลย้อนกำเริบขึ้นมาได้ค่ะ