กระชายขาว หรือ กระชาย (Boesenbergia rotunda) บางแห่งอาจรู้จักกันในชื่อกระชายเหลือง กระชายขาวเป็นสายพันธุ์ที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน โดยนิยมนำมาประกอบอาหารเพื่อให้กลิ่นของอาหารโดดเด่นชวนรับประทาน พร้อมยังบำรุงสุขภาพไปด้วยในตัว ซึ่งประโยชน์ของกระชายขาวจะแตกต่างจากกระชายดำ เนื่องจากกระชายดำจะนิยมนำมาใช้เพื่อเสริมสรรถภาพทางเพศเป็นหลัก โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในกระชายขาว ได้แก่ แพนดูราทิน (Panduratin) พินอสทรอบิน (Pinostrobin) ไบเซนเบอร์จิน (Boesenbergin) และน้ำมันระเหยง่ายชนิดต่าง ๆ สารสำคัญเหล่านี้จะช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

แปรรูป​จากกระชายออร์แก​นิค​ 100% ที่มีมาตรฐาน​ออร์แก​นิคสากล

กระชายขาว ก็คือ “โสมเมืองไทย”

กระชายเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น “โสมไทย” เนื่องจากกระชายกับโสมมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่น สรรพคุณที่ช่วยในการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ ช่วยปรับสมดุลร่างกาย และช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ามีกำลังวังชา นอกจากนี้ ยังมีความคล้ายกันในเรื่องของลักษณะที่คล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือน ๆ กัน ซึ่งบางครั้งเราจะเรียกโสมว่า “โสมคน” และเรียกกระชายว่า “นมกระชาย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ผลของกระชายต่อการต่อต้านเชื้อก็ยิ่งเป็นสิ่งยืนยันประสิทธิภาพในการเสริมภูมิต้านทานของร่างกายต่อโรคได้อย่างเป็นที่ประจักษ์ ส่งผลให้ตอนนี้กระชายขาวได้รับความนิยมและมีราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ผงกระชาย​ขาวสกัดออร์แก​นิค​ตราน้ำว้า​ใช้กระบวนการผลิตแบบสเปรย์ดราย

สรรพคุณของกระชายขาว

จริง ๆ แล้วกระชายสามารถนำมาใช้ได้เกือบจะทุกส่วนของต้น แต่ส่วนใหญ่ที่เราจะนำมาใช้มากที่สุด คือ ส่วนเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน โดยพบว่ากระชายมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า โดยช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยให้แผลหายเร็ว และช่วยยับยั้งเชื้อโรคต่าง ๆได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส

 

นอกจากนี้ กระชายขาวยังมีสรรพคุณที่ช่วยลดอาการวิงเวียน บรรเทาอาการแน่นหน้าอก ช่วยบำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunctional) ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงลดการทำลายกระดูด ช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำ เพราะกระชายจะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิตสูง แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นได้ ช่วยแก้โรคในช่องปากและลำคอ เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล ช่วยแก้ฝ้าขาวในปาก เนื่องจากเหง้าใต้ดินมีรสเผ็ดร้อนและขม จึงมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน รักษาโรคกระเพาะ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านอักเสบ และช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย

 

พบว่าสรรพคุณของกระชายได้รับการยืนยันโดยงานวิจัยหลากหลาย เช่น ฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบว่าสารไบเซนเบอร์จิน เอ (Boesenbergin A) ที่แยกได้จากรากกระชาย สามารถต้านการอักเสบได้ดีที่ความเข้มข้น 12.5-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ส่วนฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งพบว่าสารไบเซนเบอร์จิน เอสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก(PC3) เซลล์มะเร็งตับ (HepG2) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HT-29) ที่แยกได้จากมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ยังพบว่าสารสกัดกระชายขาวมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) ได้ที่ปริมาณความเข้มข้นในระดับน้อย ๆ โดยไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ในอนาคตในการช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 โดยสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งไวรัส คือ แพนดูราทิน เอ (Panduratin A) และพินอสทรอบิน (Pinostrobin) เป็นต้น

 

ผงกระชายขาวออร์แกนิคเข้มข้นตรา “น้ำว้า”

ผงกระชายขาวออร์แกนิคตรา “น้ำว้า” มีข้อดีที่เหนือกว่ากระชายขาวปกติ คือเราได้นำกระชายขาวที่ได้รับการรับรองว่าเป็นออร์แกนิค 100% ซึ่งได้มีการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด มีความปลอดภัยต่อร่างกาย และเราได้นำกระบวนการผลิตโดยใช้วิธีการทำให้เป็นผ’แห้งแบบสเปรย์ดรายซึ่งจะทำให้ได้กระชายขาวที่มีความเข้มข้นสูง และมีสารสำคัญครบถ้วนไม่เกิดการสลายตัวในระหว่างการผลิต จึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าผงกระชายขาวออร์แกนิคเข้มข้น ตรา “น้ำว้า” จะช่วยบำรุงสุขภาพของท่านได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สามารถรับประทานได้ง่ายเพียงชงน้ำดื่ม ผสมในเครื่องดื่มสมูทตี้ นำไปใส่ในอาหารจานโปรด หรือผสมในเครื่องแกงทำอาหารก็สามารถทำได้ กระชายขาวนอกจากจะช่วยชูรสของอาหารแล้วยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงไปด้วยในตัว เห็นประโยชน์ของกระชายขาวอย่างนี้แล้วรอช้าไม่ได้ค่ะ…

 

สนใจสั้งซื้อ…กดที่รูป👇 ได้เลยค่ะ😊

ผงกระชาย ออร์แกนิค ละลายทันที

 

เอกสารอ้างอิง

  1. https://med.mahidol.ac.th/atrama/issue041/healthy-eating. July, 2021.
  2. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramaclinic/article/09sep2020-1522. June, 2018
  3. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32998148/. September 30, 2020.
  4. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33565047/. February 09, 2021.
  5. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33212374/. November 16, 2020.