“ระบบทางเดินอาหาร” เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร การดูดซึม และการขับถ่าย จากงานวิจัยพบว่าถ้าเรามีระบบการย่อยอาหารที่ดี สุขภาพโดยรวมของร่างกายก็จะดีตามไปด้วยดังนั้น หากไม่อยากทุกข์ทรมานจากการป่วยเป็นโรคของระบบทางเดินอาหารแล้วละก็ ควรจะต้องดูแลเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยเช่นกัน
ขิง ยาอายุวัฒนะสำหรับทางเดินอาหารและข้อ
ขิงถือได้ว่าเป็นทั้งอาหาร เครื่องปรุงรส และยาสมุนไพรที่ใช้บ่อย ควรมีไว้ประจำครัวเรือน โดยพบว่าขิงมีสารสำคัญที่มีชื่อว่า “gingerol (จิงเจอร์รอล)” มีสรรพคุณเด่นด้านการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับลม และปรับสมดุลของอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร ดังนี้
- ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในขิงช่วยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้อย่างอ่อน และยังช่วยกระตุ้นให้กระเพาะเกิดการย่อยอาหารอีกด้วย
- ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น โดยได้มีการวิจัยจากการทดลองในสัตว์ทดลอง พบว่าขิงช่วยกระตุ้นการสร้างและหลั่งเมือก (mucin) เพื่อปกป้องกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ขิงยังช่วยลดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร และลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบได้อีกด้วย
- ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
- ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของถุงน้ำดี ควบคุมการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน (prostaglandin, PG) ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดหนึ่ง ทำให้ลดปริมาณเมือกและการเกาะตัวของเมือกในถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีมีสุขภาพแข็งแรง
- แก้อาเจียนที่เกิดจากความผิดปกติของกระเพาะอาหาร และลำไส้ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของอาหารหรือสารเคมีบางชนิด
- ช่วยป้องกันและรักษาตับอักเสบ มีงานวิจัยพบว่าในหนูทดลองที่ได้รับบาดเจ็บจากสารพิษคาร์บอนเตตราคลอไรด์ การให้น้ำขิงสกัดหรือขิงผสมน้ำผึ้ง สามารถลดการอักเสบของตับได้
- มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยมีการศึกษาทดลองในหนูที่มีอาการบวมอักเสบที่ขา เมื่อให้น้ำมันสกัดจากขิง 140 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเข้าไป พบว่าสามารถลดอาการอักเสบที่ขาของหนูได้ จึงช่วยลดอาการอักเสบของข้อต่าง ๆ ได้
ขมิ้นชัน ตัวช่วยกรดไหลย้อนและขับลม
เหง้าขมิ้นมีน้ามันหอมระเหยที่ประกอบด้วยสารหลายชนิด ได้แก่ Turmerone, Zingiberene, Borneol เป็นต้น และมีสารสีเหลืองส้ม คือ เคอร์ควิมิน (Curcumin) ซึ่งมีสารสำคัญที่ชื่อว่า “เคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids)” เป็นสารเคมีประเภทโพลีฟีนอล (polyphenol) ที่ออกฤทธิ์ทางชีวเคมีหลายประการ ดังนี้
- บรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เนื่องจากขมิ้นชันมีฤทธิ์ช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะอาหาร
- ขมิ้นชันช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ รักษาอาการของโรคกรดไหลย้อน ช่วยในการขับลม ทำให้ระบบการขับถ่ายเป็นปกติ ช่วยทำความสะอาดลำไส้ และช่วยบรรเทาอาการของโรคกรดไหลย้อนได้ดี
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสามารถยับยัั้งการเติบโตและการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ในเหง้าขมิ้นชันสารอาหารและสารสำคัญในมีสรรพคุณช่วยลดการเกิดโรคได้หลายชนิด และทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงขึ้น
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีบทบาทสำคัญในการต้านโรคที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกายได้
- ขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ เพราะในขมิ้นชันมีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการลดอาการอักเสบ โดยเฉพาะโรคข้อเสื่อม โรคไขข้ออักเสบได้ดี
สมุนไพรตัวช่วยอื่น ๆ
เถาวัลย์เปรียง
สมุนไพรรสเย็นช่วยบรรเทาอาการปวดหลังปวดเอว ปวดข้อ มีประสิทธิภาพดีมากจนได้รับการพัฒนาเป็นยาสมุนไพรแก้อักเสบแทนยาแผนปัจจุบัน
พริกไทยดำ
มีสารสำคัญ Piperine ช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อ แน่นท้อง จุกเสียด ช่วยขับลมในลำไส้ บรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบเนื่องจากสาร spathulenol ในเมล็ดพริกไทยดำ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในขบวนการอักเสบ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยในเรื่องความจำ
ใบบัวบก
ประกอบด้วยสารหลักที่สำคัญ 4 ชนิด ได้แก่ มาเดคาสโซไซด์ (Madecassoside) อะเซียติโคไซด์ (Asiaticoside) กรดมาเดคาสสิก (Madecassic Acid) และกรดอะเซียติก (Asiatic Acid) ช่วยลดการอักเสบบริเวณทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ช่วยสมานแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย และมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงจึงช่วยชะลอความชราก่อนวัยอันควร
มะขามป้อม
มีวิตามินซีสูงและเป็นแหล่งของธาตุเหล็ก ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ และลดการอักเสบ ต่าง ๆ
การดูแลรักษาและปรับสมดุลร่างกายด้วยสมุนไพรถือว่าเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านคู่คนไทยมาอย่างช้านาน เครื่องดื่มขิงผสมขมิ้นออร์แกนิค “จินเจอร์ริก” ประกอบด้วยสมุนไพรออร์แกนิคหลายชนิดที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานการผลิต ….ให้ “จินเจอร์ริก” โดย “น้ำว้า” เป็นผู้ช่วยคุณภาพที่ช่วยดูแลคุณ
สนใจสั้งซื้อ…กดที่รูป👇 ได้เลยค่ะ😊
เอกสารอ้างอิง
-
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=90. Access online: 4 August 2020.
-
https://www.healthline.com/health/ginger-for-arthritis. 3 April 2017.
-
https://www.healthline.com/nutrition/top-10-evidence-based-health-benefits-of-turmeric. 13 July 2018.
-
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3665023/. April 2013.
-
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29460197/. 7 April 2018.