สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่
1️⃣ อายุ ดังกล่าวแล้ว อายุยิ่งสูงขึ้น โอกาสเกิดโรคนี้ยิ่งสูงขึ้น
2️⃣ การกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะกินมื้อเย็นก่อนนอน เพราะปริมาณอาหารยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร และการนอนราบยังเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาหารและกรดจึงไหลย้อนกลับเข้าหลอดอาหารได้ง่าย
3️⃣ การนอนราบหลังกินอาหาร เพราะจะเกิดแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากอาหาร/เครื่องดื่ม
4️⃣ ประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม ได้แก่
❌ ประเภทอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน เช่น ไขมัน มันฝรั่งทอด มันเผาหรือมันต้ม อาหารทอด อาหารผัดน้ำมันมากๆ
❌ อาหารและเครื่องดื่มที่มีสารช่วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพราะจะลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร เช่น ช็อกโกแลต สุรา/แอลกอฮอล์
❌ เครื่องดื่มมีกาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มกลุ่มโคล่า ยาชูกำลังบางชนิด) เพราะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น
❌ อาหารที่ก่อการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด เผ็ดจัด เครื่องดื่มและอา หารที่มีความเป็นกรด (เช่น รสเปรี้ยว มะเขือเทศ)
❌ อาหารและเครื่องดื่มที่ให้แก๊สมาก (เช่น น้ำอัดลม หอม กระเทียม)
นอกจากนั้นแต่ละคนต้องสังเกตตนเองว่า อาหารและเครื่องดื่มประเภทใด ปริมาณอย่างไรที่กระตุ้นให้เกิดอาการ หรือก่อให้เกิดอาการมากขึ้น ทั้งนี้เพราะแต่ละคนจะไวต่ออาหารได้แตก ต่างกัน
5️⃣ บุหรี่ เพราะมีสารพิษ เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร และอาจทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง
6️⃣ โรคเรื้อรังต่างๆที่มีผลต่อการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งของกระเพาะอาหารและของเส้น ประสาทกระเพาะอาหารเช่น โรคเบาหวาน และโรคที่ส่งผลให้มีการไอเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง
7️⃣ โรคอ้วน เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้น ความดันในกระเพาะอาหารจึงสูงขึ้น
8️⃣ การตั้งครรภ์ เพราะเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารจากครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น
9️⃣ โรคของกะบังลม ซึ่งมักเป็นแต่กำเนิด ทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมหย่อนหรือมีช่อง กระเพาะอา หารจึงดันเข้าไปอยู่ในช่องอก ส่งผลให้มีอาหารค้างในกระเพาะอาหาร รวมทั้งเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารด้วย
🔟 โรคกล้ามเนื้อ และ/หรือ ของเนื้อเยื่อต่างๆ (พบได้น้อย) ส่งผลให้กล้ามเนื้อ และ/หรือเนื้อเยื่อหลอดอาหารและกระเพาะอาหารทำงานด้อยประสิทธิภาพลง
🙏ขอขอบคุณ🙏 ข้อมูลจากบทความจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์