โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดใหญ่ และหลอดเลือดเล็กตามมา เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบเป็นอย่างมากเนื่องจากอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพที่เพิ่มมาก ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2568 โดยการพยากรณ์จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุ 1 คนในทุก ๆ 5 คน จะเป็นโรคเบาหวาน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน

โรคเบาหวานคืออะไร

โรคเบาหวานเป็นกลุ่มโรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินเพื่อนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ลดลง ทำให้มีผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายผิดปกติตามมา

อินซูลินสร้างและหลั่งจากตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต

โรคเบาหวานมีกี่ชนิด

โรคเบาหวานแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

เบาหวานประเภทที่ 1 พบได้น้อย ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ จึงต้องฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ ผู้ที่เป็นมักเป็นตั้งแต่กำเนิด

เบาหวานประเภทที่ 2 พบได้มาก ประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานไทย และส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มคนอายุ 45 ปีขึ้นไป เกิดจากร่างกายดื้ออินซูลิน ประเภทนี้มักไม่มีอาการที่เห็นได้เฉียบพลัน แต่หากขาดการควบคุม ก็สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เป็นอันตรายร้ายแรงได้

เบาหวานประเภทที่ 3 เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

เบาหวานประเภทที่ 4 เป็นเบาหวานชนิดที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ

อาการของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ อาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ปากแห้ง กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลด/เพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เหนื่อยง่าย  เป็นต้น หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น เช่น การเกิดแผลบริเวณเท้ารักษาไม่หายจนถึงขั้นที่ต้องตัดขาทิ้ง ตาบอดจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ไตเสื่อมเรื้อรัง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และการเกิดโรคหัวใจหรือโรคไขมันในเลือดสูงตามมา เป็นต้น

การดูแลรักษาและป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน

  • การรักษาแบบไม่ใช้ยา (Non-pharmacologic treatment)
    1. รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ ผู้เป็นโรคเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนที่ร่างกายต้องการ โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีความหวานต่ำ ควรรับประทานข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อยอื่นๆ ขนมปังโฮลวีท ควรรับประทานผักวันละ 3-4 ทัพพี ควรลดการรับประทานผักที่เป็นหัวใต้ดินหรือมีแป้งสะสมเยอะ เช่น ฟักทอง หัวแครอท หัวผักกาดข้าว เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงผลไม้ทุกชนิดที่มีน้ำตาลเป็น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทอด และอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ
    1. ควบคุมน้ำหนัก
    2. งดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์
    3. ออกกำลังกายเป็นประจำ ในรูปแบบแอโรบิค (moderate intensity) อย่างน้อยวันละ 30 นาที 4-5 วันต่อสัปดาห์
    4. ติดตามผลการรักษาและตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  • การรักษาแบบใช้ยา (Pharmacologic treatment)

นอกจากการควบคุมการรับประทานอาหารและปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตแล้ว หากยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา แพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม แพทย์อาจเริ่มจากยา 1 ชนิดก่อน หากยังไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ แพทย์อาจพิจารณาเพิ่มยาเป็น 2-3 ชนิดต่อไปตามลำดับ การรับประทานยา ควรรับประทายาตามจำนวนที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรปรับเพิ่ม/ลดยาเอง หากเกิดความผิดปกติใด ๆ ควรพบแพทย์เพื่อให้คำแนะนำและปรับขนาดยา นอกจากนี้ควรพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินและปรับเปลี่ยนแผนการรักษาให้เหมาะสมต่อไป

นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานยาตามแพทย์สั่งแล้ว เราสามารถหันมาทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีประโยชน์ ผงกล้วยน้ำว้าดิบตราน้ำว้า เครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานค่ะ

 

สนใจ เครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบ ชนิดผง ตราน้ำว้า เพิ่มเติม 

ผงกล้วยดิบ ตราน้ำว้า โรคเบาหวานทานได้ดี

add-friend-buttom-namwah

 

เอกสารอ้างอิง
  1. https://www.helpguide.org/articles/diets/the-diabetes-diet.htm. Authors: Jeanne Segal, Ph.D., Lawrence Robinson, and Melinda Smith, M.A. Last updated: November 2019.
  2. https://www.webmd.com/diabetes/diabetic-food-list-best-worst-foods. Access online: 28 Nov 2019.
  3. https://www.webmd.com/diabetes/diabetic-diet-6-foods-control-blood-sugar#1. Access online: 28 Nov 2019.