ไลฟ์สไตล์ชีวิตคนเมืองในปัจจุบัน “ทานด่วน ทานไม่อั้น และทานให้คุ้ม” นั้นทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืดตามมาได้ง่าย นอกจากนี้ยังสาเหตุที่ทำให้โรคต่าง ๆ ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ กลุ่มโรคที่เด่นชัด คือโรคของระบบทางเดินอาหาร และภาวะที่พบบ่อยคือ “อาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง” ที่ดูเหมือนเป็นอาการธรรมดาทั่วไป แต่หากเป็นบ่อยและปล่อยไว้นาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะ “ท้องอืดเรื้อรัง” ได้ค่ะ

สาเหตุของอาการท้องอืดแน่นท้อง

ภาวะท้องอืด เกิดจากมีแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่มากเกินไป ทำให้รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง จุกเสียด มีอาการปวด และมีลมในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก จนทำให้เรอ หรือผายลมบ่อย บางครั้งอาจมียินเสียงโครกครากภายในท้อง สำหรับตัวอย่างสาเหตุของอาการท้องอืดแน่นท้อง เช่น

  • พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เร่งรีบ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เคี้ยวไม่ละเอียด ทำให้กระเพาะอาหารต้องทำงานหนักส่งผลให้เกิดภาวะท้องอืดได้
  • การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแก๊สหรือก่อให้เกิดแก๊ส
  • ภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหาร
  • อาการท้องผูก
  • การมีผนังช่องท้องอ่อนแอ
  • ภาวะโรคกรดไหลย้อน (GERD)
  • โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome)
  • การแพ้อาหารชนิดต่าง ๆ เช่น โปรตีนนม
  • แบคทีเรียในกระเพาะอาหารเจริญเติบโตมากผิดปกติ

ชาขิงผสมขมิ้นออร์แกนิค ตราจินเจอร์ริก บรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้อง ขับลม

การรักษาและบรรเทาอาการท้องอืด

การรักษาอาการท้องอืดให้หายขาดควรจะต้องหาสาเหตุของอาการท้องอืดให้พบก่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออาการท้องอืด การใช้ยาบรรเทาอาการ หรือสมุนไพร เช่น

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น
    • ทานอาหารให้ช้าลง เพื่อลดปริมาณอากาศที่กลืนเข้าสู่ร่างกาย หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง และลดการใช้หลอดดูดเครื่องดื่ม
    • ลดการดื่มเครื่องดื่มอัดแก๊ส น้ำอัดลม และน้ำหวาน เช่น น้ำอัดลม โซดา น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ อาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด มะเขือเทศ อาหารมัน แอลกอฮอล์ และกาแฟ ผู้ที่แพ้โปรตีนกลูเตน ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกลูเตนทุกชนิด ผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโตสก็ควรงดผลิตภัณฑ์จากนมที่มีน้ำตาลแลคโทสเช่นกัน
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น ซอลบิทอล (Sorbitol) เพราะผลิตจากน้ำตาลฟรุกโตสที่เป็นสาเหตุของอาการท้องอืด
    • หลังกินอาหารอิ่ม อย่าเพิ่งนอน ควรนั่งหรือเดินอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ไม่ควรนอนทันที
    • งดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้มีอากาศเข้าร่างกายมากเกินไป การงดสูบบุหรี่จะช่วยให้อาการท้องอืดบรรเทาลงได้
  • การใช้ยา เช่น
    • ยาไซเมทิโคน (Simethicone) เป็นยาลดกรดเกินและแก๊สในกระเพาอาหาร ช่วยลดอาการท้องอืดและจุกแน่นในช่องท้องได้ โดยยาดังกล่าวจะเข้าไปมีผลลดแรงตึงผิวทำให้แก๊สถูกขับออกผ่านการเรอหรือผายลมได้ง่ายขึ้น ยาที่มีวางจำหน่าย เช่น Air-X®, Degas®, Simcone®, Kremil® เป็นต้น
    • เอนไซม์ช่วยย่อย (Digestive Enzyme) ออกฤทธิ์โดยใช้เอนไซม์ช่วยย่อย โดยเอนไซม์แพนคริเอตินช่วยเพิ่มการย่อยไขมัน เอนไซม์โปรติเอสเพิ่มการย่อยโปรตีน เอนไซม์อะไมเลสและไดแอสเตสช่วยเพิ่มการย่อยคาร์โบไฮเดรตในระบบทางเดินอาหารให้กลายเป็นน้ำตาล เช่น Magesto F®, Combizym® เป็นต้น
  • การใช้สมุนไพร ถือเป็นอีกทางเลือกนอกเหนือจากการใช้ยา เพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นและลดการนำเอาเคมีเข้าสู่ร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบเคมีและใส่ใจสุขภาพตามวิถีธรรมชาติบำบัด เช่น การใช้ขิง ข่า ตะไคร้ พริกไทย ขมิ้นชัน กระชาย กระวาน กระเทียม กะเพรา ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับลมและช่วยย่อย

     สมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการขับลมส่วนมากมักมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ในตัว มีฤทธิ์ลดการหดเกร็งกระเพาะอาหาร ช่วยให้การหดตัวของระบบทางเดินอาหารทำงานเป็นปกติ ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงได้มากขึ้น จึงสามารถขับแก๊สและอาหารที่ค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้นผ่านการเรอหรือการผายลม

การใช้สมุนไพรอาจใช้การรับประทานสด ต้มดื่มเป็นน้ำสมุนไพร หรือการรับประทานในรูปแคปซูลที่ประกอบด้วยสมุนไพรเดี่ยว และสมุนไพรผสมเพื่อช่วยเสริมฤทธิ์

โดยทางเลือกหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการจุกเสียด แน่นท้อง ขับลม ช่วยย่อย และลดอาการอักเสบของกระเพาะอาหารในตัว คือ การรับประทาน เครื่องดื่มชาขิงผสมขมิ้นออร์แกนิค “จินเจอร์ริก” ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิดเพื่อช่วยในการออกฤทธิ์ ได้แก่ ขิง ขมิ้น ตะไคร้ เถาวัลย์เปรียง พริกไทยดำ ใบบัวบก และมะขามป้อม ซึ่งจะช่วยเสริมฤทธิ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ

 

สนใจข้อมูล เครื่องดื่มชาขิงผสมขมิ้นออร์แกนิค “จินเจอร์ริก” เพิ่มเติม กดที่รูปได้เลยค่าาา

ชาขิงผสมขมิ้น ออร์แกนิค ตราจินเจอร์ริก

Line-ผงกล้วยดิบ ผงกล้วยขมิ้น ตราน้ำว้า บรรเทาโรค กรดไหลย้อน

เอกสารอ้างอิง
  1. https://www.healthline.com/health/abdominal-bloating. 11 December 2017.
  2. https://www.medicinenet.com/why_am_i_so_bloated/article.htm 16 September 2019.
  3. https://www.medicalnewstoday.com/articles/321869. 14 January 2020.