โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคเรื้อรังเกี่ยวกับทางเดินอาหารโรคหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นกันเยอะ และมักทุกข์ทรมานกับอาการปวดท้องอยู่เนือง ๆ บางท่านอาจไม่แน่ใจว่าตนเองประสบปัญหาเรื่องโรคกระเพาะอยู่หรือไม่ และมีวิธีดูแลตนเองอย่างไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ
อาการของโรค
อาการปวดท้องที่เป็นตัวบอกว่าเป็น “โรคกระเพาะอาหาร” คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเสียด ตื้อ จุกแน่น ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ชายโครงซ้าย ตำแหน่งเกิดขึ้นได้บ่อยจะอยู่ในกระเพาะส่วนปลาย ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และอาการมักเป็น ๆ หาย ๆ โดยอาการปวดจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร โดยอาจปวดก่อน ระหว่าง หรือหลังรับประทานอาหารก็ได้ และมักมีอาการปวดท้องตอนท้องว่าง จากการที่กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคืองเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่นการมีกรดหลั่ง เป็นต้น
สาเหตุของโรค
โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน โรคกระเพาะอาหารอาจเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลัน โดยเป็นในระยะเวลาสั้น ๆ และหายภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดแผลและเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้หากไม่ได้รับการรักษา
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ได้แก่ เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอ มีความเครียดสูงไม่ว่าจะเกิดจากการทำงานหรือครอบครัว อาหารที่รับประทานมีรสเผ็ดจัด และรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโรไล (H. pylori)
แนวทางการรักษา
นอกเหนือจากการทานยาลดกรดแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ลดปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นอาการของโรค เช่น การรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงความเครียด และการรับประทานอาหารที่ไม่เผ็ดก็จะช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น การใช้ยาลดกรดเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ การรักษาด้วยสมุนไพรพื้นบ้านไทยอย่างการรับประทานกล้วยน้ำว้าดิบก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ได้รับความนิยมและเห็นผลดี การรับประทานกล้วยดิบคงจะเป็นเรื่องที่ยาก ผงกล้วยน้ำว้าดิบตราน้ำว้า จึงเป็นเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร ช่วยลดอาการจุกเสียด ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหาร และปัญหาแผลในทางเดินอาหาร
สนใจ เครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบ ชนิดผง ตราน้ำว้า เพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
-
https://www.everydayhealth.com/ulcer/differences-between-ulcers-and-gerd.aspx. 11 August 2009.
-
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4154828/. September 2010.