ระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร การดูดซึม และการขับถ่าย จากงานวิจัยพบว่าถ้าเรามีระบบการย่อยอาหารที่ดี สุขภาพโดยรวมของร่างกายก็จะดีตามไปด้วยดังนั้น หากไม่อยากทุกข์ทรมานจากการป่วยเป็นโรคของระบบทางเดินอาหารแล้วละก็ ควรจะต้องดูแลเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยเช่นกัน

ระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นอย่างไร

          ระบบย่อยอาหารที่ดี คือ การที่อวัยวะต่าง ๆ ภายในระบบย่อยอาหารทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด การติดเชื้อ การรับประทานยาบางชนิด หรือความเครียด อาจมีผลทำให้ระบบย่อยอาหารเกิดความผิดปกติและส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และทำให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งขึ้นได้ การหันมาดูแลระบบย่อยอาหารด้วยการปรับพฤติกรรมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและความผิดปกติของระบบย่อยอาหารได้

อาหารที่เหมาะสำหรับสุขภาพของทางเดินอาหารที่ดี มีดังนี้

ผงกล้วยดิบ prebiotic foods for gut health

  1. ดูแลตัวช่วยที่สำคัญของระบบการย่อยอาหาร “จุลินทรีย์ตัวดี (Probiotics)

จุลินทรีย์พื้นถิ่นในทางเดินอาหาร เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ (GUT Microbiota) มีหน้าที่สำคัญในการกำจัดแบคทีเรียตัวร้าย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้เป็นปกติ สร้างสมดุลในระบบทางเดินอาหาร และช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ อาหารที่ช่วยให้จุลินทรีย์เติบโตได้ดี พบมากในอาหาร 2 ประเภท ได้แก่

  • อาหารกลุ่มไฟเบอร์สูง หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ oligofructose, fructo-oligosaccharides และ inulin หรือที่เราเรียกกันว่า พรีไบโอติก ซึ่งจะพบมากในกล้วย เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง หัวหอม กระเทียม ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เล่ย์ และธัญพืช
  • อาหารที่มีโพรไบโอติกหรืออาหารที่มีจุลินทรีย์ตัวดี เช่น โยเกิร์ต ชีส น้ำนมดิบ อาหารหมักดองตามธรรมชาติ เช่น กิมจิ มิโซ ถั่งเน่า ที่ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  1. รับประทานไขมันไม่อิ่มตัว โปรตีนจากปลา และผักใบเขียว เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง และช้วยให้ระบบของร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
  2. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร หากเราเคี้ยวอาหารได้ละเอียด อวัยวะอื่นจะสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นมาก การเริ่มต้นที่ดี ก็ทำให้มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วล่ะค่ะ
  3. การหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น ยาปฏิชีวนะถือเป็นสิ่งที่อันตรายต่อแบคทีเรียในลำไส้ สามารถทำให้มีความเสียหายของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ยาวนานถึง 6 เดือนหลังการใช้
  4. ฝึกนิสัยขับถ่ายที่ดี อย่าปล่อยให้ท้องผูกเรื้อรัง ฝึกนิสัยการขับถ่ายที่ดีและเป็นเวลา การดื่มน้ำให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ลำไส้ได้เกิดการเคลื่อนไหวจะทำให้ขับถ่ายได้ง่ายและคล่องขึ้น
  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น หรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด เนื่องจากอาจปนเปื้อนเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารบางชนิดได้
  6. หลีกเลี่ยงความเครียด รับประทานอาหารเผ็ดหรือไม่ตรงเวลา เพราะปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้กรดในกระเพาะอาหารหลั่งมากขึ้น และทำให้กระเพาะอาหารเกิดแผลได้
  7. การสูบบุหรี่ การดื่มคาเฟอีน ทำให้การเป็นแผลในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น แผลหายช้า และเกิดเป็นแผลเรื้อรังได้ง่าย
  8. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มเอ็นเสด (NSAID เช่น ยาแอสไพริน โวทาเรน ไอบูโพรเฟน) เพราะอาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ในหลอดอาหารจนเกิดการอักเสบมากขึ้น
  9. รับประทานกระเทียม และขิงสม่ำเสมอ การรับประทานกระเทียมและขิงช่วยปรับสมดุลของระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยรักษาสมดุลของแบคทีเรียตัวดี กระตุ้นการบีบตัวของทางเดินอาหาร และช่วยลดอาการอักเสบของทางเดินอาหารได้
  10. รับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นประจำ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าดิบสามารถช่วยปรับสมดุลและรักษาโรคกระเพาะอาหารได้ เนื่องจากในกล้วยดิบมีสาร “แทนนิน” ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยปกป้องผนังทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร และสำไส้จากเชื้อโรคและอาหารรสเผ็ดร้อนได้

การดูแลรักษาระบบย่อยอาหาร และทางเดินอาหารที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคของระบบทางเดินอาหารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งทางเดินอาหารหลาย ๆ ชนิดที่มักพบได้บ่อยในปัจจุบัน สาเหตุหลัก ๆ ก็มักมาจากพฤติกรรมการรับประทาน และการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสมนั่นเองค่ะ

 

สนใจ ผงกล้วยน้ำว้าดิบออร์แกนิค ตราน้ำว้า เพิ่มเติม

ผงกล้วยน้ำว้าดิบ บรรเทาเเละป้องกันโรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน

add-friend-buttom-namwah

 

เอกสารอ้างอิง
  1. https://www.bbc.co.uk/food/articles/what_should_you_eat_for_a_healthy_gut. Access online: 3 August 2020.
  2. https://www.healthline.com/nutrition/improve-gut-bacteria. 18 November 2016.
  3. https://www.benenden.co.uk/be-healthy/nutrition/gut-food-15-foods-for-good-gut-health/. 14 January 2020.