เรื่อง​ อึ​ อึ​ ที่จำเป็นต้องรู้​ นั่งอึอย่างไร​ ไม่ให้ท้องผูก

2019-08-16T02:28:51+07:00

ท่านั่งขับถ่ายมีผลอย่างมากต่อการขับถ่ายอุจจาระ ท่านั่งที่ถูกต้องจะช่วยให้ลำไส้ตรงทำมุมได้ดีขึ้น​ เเละเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการขับถ่าย อีกทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและไม่ล้า ภาพเปรียบเทียบ​ที่ส่งผลต่อการขับถ่ายของลำใส้ใหญ่ ภาพขวาคือท่านั่งปกติ 90 องศาลำใส้ใหญ่ถูกรัดไว้ด้วยส่วนที่ควบคุมการขับถ่าย ทำให้ถูกบีบรัดขับถ่ายยาก ด้านซ้ายคือท่านั่ง​ 35​ องศา ลำใส้ถูกยืดตรง ง่ายต่อการขับถ่าย ในกรณีที่บางคนมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายมากๆ แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้การนั่งยอง หรือการใช้ห้องน้ำแบบส้วมซึมนั่นเอง เพราะนั่นคือการนั่งขับถ่ายในท่าที่ถูกต้อง และช่วยการขับถ่ายง่ายที่สุด และสำหรับการนั่งชักโครกในท่านั่งที่ถูกหลักนั้น อาจใช้​เก้าอี้ตัวเล็กวางรองเท้าเพื่อที่จะชันหัวเข่าขี้นมาให้ร่างกายทำมุม 35 องศาได้ เพื่อให้การนั่งขับถ่ายถูกวิธี​ หรือจะลองทำตามเทคนิคดังต่อไปนี้ นั่งสบายๆ บนส้วม โดยแยกขาทั้งสองข้างออกจากกันให้กว้างกว่าส่วนสะโพก วางเท้าทั้งสองข้างในแนวราบแนบไปบนม้าวางเท้าที่สูงจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร โน้มตัวไปข้างหน้าและวางปลายแขนไปบนต้นขา ผ่อนคลายและหายใจปกติ อย่ากลั้นหายใจ ทำให้เอวคุณขยายออก โดยยื่นกล้ามเนื้อหน้าท้องคุณออกมา

เรื่อง​ อึ​ อึ​ ที่จำเป็นต้องรู้​ นั่งอึอย่างไร​ ไม่ให้ท้องผูก2019-08-16T02:28:51+07:00

4 เหตุผล ที่คนเป็นโรคกระเพาะไม่ควรดื่มน้ำอัดลม

2019-07-30T00:35:06+07:00

น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร แต่ให้พลังงานและความอิ่มแก่ร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยน้ำอัดลมปริมาณ 1 ลิตร ให้พลังงาน 424 กิโลแคลอรี ประกอบไปด้วยส่วนผสมหลักๆ 3 อย่าง คือ น้ำ, น้ำตาล และสารปรุงแต่งกลิ่นและสี อีกทั้งยังมีกรดคาร์บอนิกที่อัดใส่เข้าไป เพื่อให้มีความซ่าเกิดเป็นฟอง สร้างความสดชื่นขณะดื่ม รวมถึงกรดฟอสฟอริก คาเฟอีน และสารกันบูดอีกด้วย เหตุใดผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม หากเราดื่มน้ำอัดลมในเวลาใกล้จะถึงเวลารับประทานอาหาร หรือในระหว่างรับประทานอาหาร จะทำให้อิ่มและทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติได้ โดย​ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อัดในน้ำอัดลมที่เกิดเป็น​กรดคาร์บอนิก เป็นกรดที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจเกิดอาการปวดท้อง ทำให้ท้องอืด และปวดท้องเนื่องจากเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร กรดฟอสฟอริก​ ที่อยู่ในน้ำอัดลม​ ซึ่งมีความเป็นกรดสูงมากพอที่จะ ละลายตะปูได้ภายใน 4

4 เหตุผล ที่คนเป็นโรคกระเพาะไม่ควรดื่มน้ำอัดลม2019-07-30T00:35:06+07:00
Go to Top