รู้ทัน‼ สัญญาณเตือนโรคกระเพาะอาหาร

2019-07-30T23:44:17+07:00

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโรคกระเพาะ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันในระยะเวลารวดเร็ว เป็นในระยะสั้น ๆ และหายภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการบ่อยครั้งเป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดแผล และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ โรคกระเพาะอาหารอักเสบเป็นโรคไม่ร้ายแรง เเต่เป็นโรคเรื้อรัง​ ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแตกต่างกันหรือไม่พบความผิดปกติใด ๆ เราลองมาดูกันว่าอาการที่เราเป็นเข้าข่ายโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือไม่​ เพื่อเราจะได้รักษาได้ทันท่วงที รู้สึกปวดท้องเมื่อท้องว่าง​ บริเวณท้องส่วนบน ตั้งแต่บริเวณใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ อาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมหลังรับประทานอาหาร ท้องอืด​ อิ่มง่าย​ อิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้ไม่มาก​ ไม่มีความอยากอาหาร​ อาจมีอาการเรอบ่อย มีอาการท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยร่วมด้วย ปวดท้องเวลาดึก​ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ปวดแสบร้อนท้อง

รู้ทัน‼ สัญญาณเตือนโรคกระเพาะอาหาร2019-07-30T23:44:17+07:00

สุราส่งผลต่อกระเพาะอาหารอย่างไร ❓

2019-07-30T23:30:51+07:00

กระเพาะอาหาร หมายถึง โรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อกระเพาะอาหาร ถึงแม้ว่าคนที่เป็นโรคนี้แล้วจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรัง ถ้าไม่รักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ที่ดื่มสุรา มักจะพบว่าตนเองมีอาการปวด แสบ จุกท้องเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ดื่มอย่างเรื้อรัง และดื่มขณะท้องว่าง อาการดังกล่าวเกิดเนื่องจาก แอลกอฮอล์ส่วนมากจะไม่ได้ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในทันที แต่จะถูกดูดซึมเข้าสู่บริเวณลำไส้เล็ก แล้วจึงเข้าสู่กระแสเลือด ในช่วงที่แอลกอฮอล์อยู่ในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก จะทำให้ความเป็นกรดของ อวัยวะทั้งสองเพิ่มมากขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อบุชั้นบนสุด ซึ่งเป็นชั้นที่ปกป้องกระเพาะอาหารจากการย่อยของกรดถูกทำลาย ทำให้กรดในกระเพาะไปทำลายเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆที่อยู่ลึกเข้าไปของกระเพาะอาหาร เกิดเป็นอาการปวดแสบ ปวดร้อน และเกิดการอักเสบที่เนื้อเยื่อบริเวณนั้นจนกลายเป็นโรคกระเพาะในที่สุด การเกิดโรคกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา​ พบได้ทั้งแบบเรื้อรัง และเฉียบพลัน อาการที่พบได้ทั่วไปในรายที่มีโรคกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน คือมีความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณท้องช่วงบน บางครั้งพบว่า มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

สุราส่งผลต่อกระเพาะอาหารอย่างไร ❓2019-07-30T23:30:51+07:00

ประโยชน์จากการทานกล้วยน้ำว้าดิบ

2019-08-08T10:23:39+07:00

💚 มีคุณสมบัติเป็นแป้งที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ (resistant starch) ช่วยลดอัตราการดูดซึมและ การเปลี่ยนเป็นพลังงาน ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่ต่ำลง 💚 รีซิสแทนต์สตาร์ชของกล้วย ยังมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก (Prebiotic) ซึ่งเป็น อาหารที่ดีสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มที่ดีในลำไส้ ส่งผลให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารเป็นปกติดี ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อโรคในระบบทางเดินอาหาร 💚 มีสารแทนนิน มีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ 💚 เป็นแหล่งของโพแทสเซียม ช่วยรักษาสมดุลแร่ธาตุและสมดุลของกรด – ด่าง ในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน ในกระเพาะอาหาร (hyperacidity) และยังช่วยควบคุมความดัน โลหิตที่สูงและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย 💚 มีใยอาหาร ทั้งชนิดที่ละลายน้าและไม่ละลายน้ำ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาล ช่วยในการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มเนื้อของอุจจาระได้ จึงช่วยทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น 💚 นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัย ยังพบว่า

ประโยชน์จากการทานกล้วยน้ำว้าดิบ2019-08-08T10:23:39+07:00

4 เหตุผล ที่คนเป็นโรคกระเพาะไม่ควรดื่มน้ำอัดลม

2019-07-30T00:35:06+07:00

น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร แต่ให้พลังงานและความอิ่มแก่ร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยน้ำอัดลมปริมาณ 1 ลิตร ให้พลังงาน 424 กิโลแคลอรี ประกอบไปด้วยส่วนผสมหลักๆ 3 อย่าง คือ น้ำ, น้ำตาล และสารปรุงแต่งกลิ่นและสี อีกทั้งยังมีกรดคาร์บอนิกที่อัดใส่เข้าไป เพื่อให้มีความซ่าเกิดเป็นฟอง สร้างความสดชื่นขณะดื่ม รวมถึงกรดฟอสฟอริก คาเฟอีน และสารกันบูดอีกด้วย เหตุใดผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม หากเราดื่มน้ำอัดลมในเวลาใกล้จะถึงเวลารับประทานอาหาร หรือในระหว่างรับประทานอาหาร จะทำให้อิ่มและทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติได้ โดย​ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อัดในน้ำอัดลมที่เกิดเป็น​กรดคาร์บอนิก เป็นกรดที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจเกิดอาการปวดท้อง ทำให้ท้องอืด และปวดท้องเนื่องจากเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร กรดฟอสฟอริก​ ที่อยู่ในน้ำอัดลม​ ซึ่งมีความเป็นกรดสูงมากพอที่จะ ละลายตะปูได้ภายใน 4

4 เหตุผล ที่คนเป็นโรคกระเพาะไม่ควรดื่มน้ำอัดลม2019-07-30T00:35:06+07:00

ช็อกโกแลต อร่อยถูกปาก แต่ไม่ถูกใจกรดไหลย้อน

2019-07-30T00:17:15+07:00

ช็อกโกแลตคือ เมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน (Tropical Cacao Tree) โดยเป็นส่วนผสมระหว่างเมล็ดโกโก้ กับเนยโกโก้หรือไขมันของเมล็ดโกโก้ ปัจจุบันช็อกโกแลต​มีหลากหลายรูปแบบเเละหลายรสชาติ​ แล้วจริงหรือที่ว่า กินช็อกโกแลตแล้วมีผลต่อกรดไหลย้อน​ 1. ช็อกโกแลตมี​สารเมทิลเเซนทีน​ (Methyl-xanthine) ซึ่งมีรายงานว่าทำให้หูรูดหลอดอาหาร​มีการคลายตัวมากขึ้น​ โดยกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร ที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยขึ้น ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น 2. ช็อกโกแลต​มีส่วนผสมของ​โกโก้​ (Cocoa) โดยช็อกโกแลตแท่งไหนทำจ­ากโกโก้แท้และยิ่งเข้มข้นเท่าไรปริม­าณ​คาเฟอีน​ก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งคาเฟอีนจะไปเพิ่มการหลั่งของน้ำย่อยเเละกรดในกระเพาะ​อาหาร​มากยิ่งขึ้น 3. ช็อกโกแลต​มี​เนยโกโก้​ (Cocoa butter) เป็นส่วนผสม​ โดยเนยโกโก้เป็น#ไขมันชนิดหนึ่งที่ทำให้ช็อกโกแลต​ขึ้นรูปได้​ เนยโกโก้มีไขมันที่สูง​ที่ทำให้กระเพาะใช้เวลาในการย่อยอาหารนานขึ้น​ เเละไขมันนี้จะไปรวมกับกรดในกระเพาะ​อาหาร​ ทำให้เกิดอาการจุก​ แน่น​ หรือร้อนที่กลางอกได้

ช็อกโกแลต อร่อยถูกปาก แต่ไม่ถูกใจกรดไหลย้อน2019-07-30T00:17:15+07:00

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค​กรด​ไหล​ย้อน

2019-07-30T00:05:26+07:00

โรคกรดไหลย้อน (GERD) พบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรืออาการขย้อนจนรบกวนชีวิตประจำวันได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค​กรด​ไหล​ย้อน​ ได้แก่ การทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร (Lower Esophageal Sphincter - LES) ทำให้กรดหรือน้ำย่อยภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาบริเวณหลอดอาหารจนสร้างความระคายเคืองกับผนังของหลอดอาหาร มีปริมาณกรดค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ เนื่องจากกลไกในการกำจัดกรดในหลอดอาหารผิดปกติ กระเพาะอาหารบีบตัวลดลงเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ การมีแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น จึงดันให้หูรูดเปิดหรือปิดไม่สนิท ทำให้อาหารหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคกรดไหลย้อนกำเริบ การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ได้แก่​ อาหารรสจัด เผ็ดจัด​ ไขมัน อาหารผัดหรืออาหารทอดที่อมน้ำมัน​ กระเทียม หัวหอม สะระแหน่ เปปเปอร์มินต์ ​ช็อกโกแลต​ ผลไม้เปรี้ยว น้ำผลไม้รสเปรี้ยว

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค​กรด​ไหล​ย้อน2019-07-30T00:05:26+07:00

สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร

2019-07-29T17:44:42+07:00

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า​ #โรคกระเพาะ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันในระยะเวลารวดเร็ว เป็นในระยะสั้น ๆ และหายภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการบ่อยครั้งเป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดแผล สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เอช ไพโลไร (Helicobacter pylorior หรือ H. pylori) เป็นเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม ทานยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบ หรือยาแก้ปวดกลุ่มเอนเสดส์ (NSAIDs, Non-steroidal anti inflammatory drugs) การกินยาอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร2019-07-29T17:44:42+07:00

ประโยชน์​ของเปลือกกล้วย​ ที่เราคาดไม่ถึง

2019-07-29T17:43:39+07:00

ปกติเราทานกล้วยจะปลอกเปลือกทิ้งแล้วทานเนื้อกล้วยด้านใน จากนั้นเราก็จะโยนเปลือกทิ้งลงในถังขยะ โดยที่เราไม่เคยรู้ว่าจริงๆ แล้ว เปลือกกล้วยมีประโยชน์กว่าที่เราคิดมากมายขนาดไหน??? เปลือกกล้วยมีโพแทสเซียมสูง และมีเส้นใยอาหารทั้งที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำสูงมากกว่าเนื้อกล้วยของตัวเอง ซึ่งใยอาหารนี้ ช่วยส่งเสริมการย่อยอาหาร และการเคลื่อนไหวในลำไส้ อีกทั้งยังสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ในเปลือกกล้วยยังมีทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนิน (Serotonin) ในร่างกาย ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้ดี นักวิจัยในไต้หวันได้ค้นพบว่าสารสกัดจากเปลือกกล้วยสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ เนื่องจากสารเซโรโทนินในเปลือกกล้วย ทำหน้าที่เป็นสื่อประสาทในสมองปรับสภาวะทางอารมณ์ให้สมดุลได้ เปลือกกล้วยสามารถทานแบบสดได้ แม้ว่ารสชาติของเปลือกกล้วยจะไม่อร่อย เราสามารถนำเปลือกกล้วยผสมในน้ำผลไม้ปั่นหรือนำไปปรุงอาหารได้ จากประโยชน์จากเปลือกกล้วยที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จึงเป็นสาเหตุที่ร้านน้ำว้าต้องผสมเปลือก เพราะเราเห็นความสำคัญของประโยชน์ที่เรามุ่งหวังให้ผู้บริโภคที่ทานเครื่องดื่มกล้วยน้ำว่าดิบชนิดผงตราน้ำว้าจะได้รับประโยชน์สูงที่สุดจากการทานสินค้าของเรา ขอบคุณข้อมูลจาก www.livestrong.com

ประโยชน์​ของเปลือกกล้วย​ ที่เราคาดไม่ถึง2019-07-29T17:43:39+07:00

สาเหตุ ของอาการท้องอืด

2019-07-27T02:18:21+07:00

ท้องอืด (Bloated stomach) คือภาวะที่ท้องเกิดอาการแน่นเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้ท้องดูมีลักษณะบวม ท้องอืดสามารถเกิดขึ้นกับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเมื่อเกิดอาการแล้วจะส่งผลให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไม่สะดวกเนื่องจากรู้สึกอึดอัดท้อง อาการท้องอืดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งเกิดจากปัญหาสุขภาพ หรือเกิดจากการกิน โดยสาเหตุที่ทำให้ท้องอืด มีดังนี้ 1. มีลมในทางเดินอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีสาเหตุมาจากการอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเนื้องอก เนื้อร้ายซ่อนอยู่ในกระเพาะอาหาร อาจพบการติดเชื้อแบคทีเรียแฝงที่เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารที่เรียกว่า Helicobacter Pylori (เอช.ไพโรไล) 2. การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแก๊สหรือก่อให้เกิดแก๊ส อาหารเช่น ถั่ว บรอกโคลี เครื่องดื่มอัดแก๊ส หรือเบียร์ จะทำให้เกิดการสะสมแก๊สในกระเพาะอาหารจนกลายเป็นอาการท้องอืด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพระบบย่อยอาหารของแต่ละคนด้วย 3.

สาเหตุ ของอาการท้องอืด2019-07-27T02:18:21+07:00

6 เคล็ดลับ ห่างไกลโรคกระเพาะ

2020-06-09T22:04:15+07:00

โรคกระเพาะ​อา​หาร นั้นมีสาเหตุมาจากกรด​ เมื่อไรที่กรดในกระเพาะมีมากเกินความสมดุลจะทำให้เกิด​โรคกระเพาะอาหาร โรคนี้ไม่ใช่แค่บั่นทอนสุขภาพให้แย่ลงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการทำลายสุขภาพจิตและลดประสิทธิภาพในการทำงานลงเกินกว่าครึ่งด้วยอาการปวดแสบในช่องท้อง

6 เคล็ดลับ ห่างไกลโรคกระเพาะ2020-06-09T22:04:15+07:00
Go to Top