โรคกรดไหลย้อน เป็นแล้วอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

2019-09-28T00:56:07+07:00

หลายคนรู้จักกับโรคกรดไหลย้อนอยู่แล้ว แต่หลายคนยังไม่รู้ว่ามันสามารถก่อให้เกิด “มะเร็งหลอดอาหาร” ซึ่งอันตรายถึงชีวิต ! อาการของโรคกรดไหลย้อน นั้นผู้ที่เป็นโรคนี้จะรู้สึกจุดเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ (หลายคนมักสับสนกับโรคกระเพาะ) และมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณอก ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีน้ำรสเปรี้ยวหรืออาจจะขมในบางที ไหลย้อนขึ้นมาถึงคอจนกระทั่งปากและลำคอ ส่งผลให้เกิดอาการแสบคอ จนไปถึงการไอเรื้อรัง รู้สึกระคายเคืองที่คอ เสียงแหบ ซึ่งนั่นส่งผลกระทบต่อชีวิตทั้งในด้านบุคลิกภาพ และ การใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งนั่นเป็นแค่อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากโรคกรดไหลย้อน และกรดไหลย้อนยังสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้อีกด้วย โรคกรดไหลย้อนนั้นสร้างความระคายเคืองให้กับหลอดทางเดินอาหาร ทำให้มีความยากลำบากในการกินอาหาร ในการกลืนอาหาร และยังทำให้มีเลือดออกในหลอดอาหารอีกด้วย นี่ยังไม่รวมไปถึงการที่เกิดภาวะหลอดอาหารตีบตัน และ อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ณ บริเวณหลอดอาหาร จนสุดท้ายทำให้กลุ่มคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนมีโอกาสเสี่ยงในการเกิด “โรคมะเร็งหลอดอาหาร” แต่ยังไม่ต้องกลัวจนถึงขนาดนั้น เพราะในปัจจุบันนี้ยังพบคนที่เป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารจากโรคกรดไหลย้อนน้อยมาก ๆ แต่ไม่ใช่จะปล่อยปะละเลยกับภาวะนี้

โรคกรดไหลย้อน เป็นแล้วอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?2019-09-28T00:56:07+07:00

กรดไหลย้อน เป็นง่าย รักษายาก แต่ป้องกันได้ แค่ทำตามนี้‼

2020-06-09T17:14:49+07:00

โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) พบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรืออาการขย้อนจนรบกวนชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญหนึ่งมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องและการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสภาพสังคมปัจจุบัน สิ่งสำคัญเเละง่ายที่สุดในการป้องกันเเละบรรเทาโรคกรดไหลย้อน คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเราเอง ซึ่งการปรับพฤติกรรมแบบง่ายๆ มีอะไรบ้าง เรามาลองดูกันค่ะ ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กๆ 5 หรือ 6 มื้อต่อวันเพื่อป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารสร้างกรดออกมามากเกินไปเเละไม่ทำให้กระเพาะทำงานหนักเกินไป ควรทานอาหารเป็นคำเล็กๆ เเละค่อยๆ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนเพื่อที่จะได้ใช้เวลาในการย่อยอาหารน้อยลงเเละย่อยง่ายขึ้น ควรทานอาหารที่มีไขมันต่ำ, ไฟเบอร์สูง, เนื้อสัตว์สีขาวไม่ติดมัน เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา นมไขมันต่ำ ข้าวโอ๊ต และผงกล้วยดิบ เป็นต้น หลังทานอาหารเสร็จแล้ว ควรรออย่างน้อย

กรดไหลย้อน เป็นง่าย รักษายาก แต่ป้องกันได้ แค่ทำตามนี้‼2020-06-09T17:14:49+07:00

โรคกระเพาะ​กำลังจะมาโดยไม่รู้ตัว​ กว่าจะรู้ก็เป็นเรื้อรังเสียเเล้ว‼️

2019-08-16T02:29:07+07:00

โรคกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ทำงานหนัก จนทำให้เรารับประทานอาหารไม่เวลา หรือความเครียด ความวิตกกังวล ก็สามารถทำให้เราเป็นโรคกระเพาะได้เช่นกัน เพื่อเป็นการปกป้องไม่ให้เกิดโรคกระเพาะ เรามาลองกลับมาสังเกตอาการเตือนของร่างกาย เพื่อให้เราสามารถรับมือได้ทันท่วงที มาเช็คกันดูค่ะ​ ว่าเรามีอาการแบบนี้หรือไม่ ❓ รู้สึกปวดท้องเมื่อท้องว่าง​ บริเวณท้องส่วนบน ตั้งแต่บริเวณใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ อาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมหลังรับประทานอาหาร ปวดแสบร้อนท้อง ​ท้องอืด​ อิ่มง่าย​ อิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้ไม่มาก​ ไม่มีความอยากอาหาร​ อาจมีอาการเรอบ่อย มีอาการท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยร่วมด้วย ปวดท้องเวลาดึก​ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน โรคกระเพาะอาหารเป็นเหมือนภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากเราละเลยไม่ให้ความใส่ใจดูแลสังเกตุอาการของตนเอง อาจจะเป็นเรื้อรังได้​ 🍌🥕มาเริ่มต้นสุขภาพที่ดีในระยะยาวด้วยการทานผักเเละผลไม้ อาหารจากธรรมชาติกันดีกว่าค่ะ "เครื่องดื่มกล้วย​น้ำว้าดิบชนิดผง​ ตราน้ำว้า​ ดื่มง่าย​

โรคกระเพาะ​กำลังจะมาโดยไม่รู้ตัว​ กว่าจะรู้ก็เป็นเรื้อรังเสียเเล้ว‼️2019-08-16T02:29:07+07:00

เรื่อง​ อึ​ อึ​ ที่จำเป็นต้องรู้​ นั่งอึอย่างไร​ ไม่ให้ท้องผูก

2019-08-16T02:28:51+07:00

ท่านั่งขับถ่ายมีผลอย่างมากต่อการขับถ่ายอุจจาระ ท่านั่งที่ถูกต้องจะช่วยให้ลำไส้ตรงทำมุมได้ดีขึ้น​ เเละเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการขับถ่าย อีกทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและไม่ล้า ภาพเปรียบเทียบ​ที่ส่งผลต่อการขับถ่ายของลำใส้ใหญ่ ภาพขวาคือท่านั่งปกติ 90 องศาลำใส้ใหญ่ถูกรัดไว้ด้วยส่วนที่ควบคุมการขับถ่าย ทำให้ถูกบีบรัดขับถ่ายยาก ด้านซ้ายคือท่านั่ง​ 35​ องศา ลำใส้ถูกยืดตรง ง่ายต่อการขับถ่าย ในกรณีที่บางคนมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายมากๆ แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้การนั่งยอง หรือการใช้ห้องน้ำแบบส้วมซึมนั่นเอง เพราะนั่นคือการนั่งขับถ่ายในท่าที่ถูกต้อง และช่วยการขับถ่ายง่ายที่สุด และสำหรับการนั่งชักโครกในท่านั่งที่ถูกหลักนั้น อาจใช้​เก้าอี้ตัวเล็กวางรองเท้าเพื่อที่จะชันหัวเข่าขี้นมาให้ร่างกายทำมุม 35 องศาได้ เพื่อให้การนั่งขับถ่ายถูกวิธี​ หรือจะลองทำตามเทคนิคดังต่อไปนี้ นั่งสบายๆ บนส้วม โดยแยกขาทั้งสองข้างออกจากกันให้กว้างกว่าส่วนสะโพก วางเท้าทั้งสองข้างในแนวราบแนบไปบนม้าวางเท้าที่สูงจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร โน้มตัวไปข้างหน้าและวางปลายแขนไปบนต้นขา ผ่อนคลายและหายใจปกติ อย่ากลั้นหายใจ ทำให้เอวคุณขยายออก โดยยื่นกล้ามเนื้อหน้าท้องคุณออกมา

เรื่อง​ อึ​ อึ​ ที่จำเป็นต้องรู้​ นั่งอึอย่างไร​ ไม่ให้ท้องผูก2019-08-16T02:28:51+07:00

กรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร ?

2019-08-10T02:26:34+07:00

กรดไหลย้อนเป็นอาการแสบร้อนกลางอกที่เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณหลอดอาหารคลายตัวผิดปกติ หากเกิดภาวะนี้ในหญิงตั้งครรภ์มักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลงและทำให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารที่อยู่ติดกับกระเพาะคลายตัวบ่อยกว่าปกติ ประกอบกับทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้นจนมดลูกขยายขนาดใหญ่ขึ้นและเบียดกระเพาะอาหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น เมื่อรับประทานอาหารมาก ๆ หรือเอนตัวลงนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จไม่นาน น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจึงไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้รู้สึกเจ็บและแสบร้อนบริเวณหน้าอกตามมา หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน จะมีอาการเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยอาการที่มักพบได้บ่อย มีดังนี้ แสบร้อนบริเวณคอหรือหน้าอกส่วนบน เรอบ่อย เรอเปรี้ยว หรือรู้สึกขมคอหลังจากตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคืองคอ หรือเสียงแหบ ทั้งนี้ ภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใด เพียงแต่อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตัวคุณแม่เอง และในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองหลังจากคลอดบุตรแล้ว การรับมือกรดไหลย้อนในช่วงตั้งครรภ์  ทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง และทานอาหารตรงตามเวลาทุกมื้ออาหารอ่อน ย่อยง่ายและเคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกคำก่อนกลืน อย่ารับประทานอาหารมากเกินไป หรือรับประทานอาหารมื้อดึก ที่รับประทานเสร็จแล้วนอนเลย

กรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร ?2019-08-10T02:26:34+07:00

โรคอ้วนกับกรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ❓

2019-08-16T02:30:16+07:00

โรคอ้วน นั้นไม่ใช่แค่เพียงส่งความกังวลต่อความสวยงาม สัดส่วน และบุคลิกภาพ ความอ้วนนำมาซึ่งโรคต่างๆ ได้มากมาย และกรดไหลย้อนก็อาจเป็นหนึ่งในนั้น ในการศีกษาวิจัยใหม่ๆ พบว่าเมื่อร่างกายมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนได้ อาการแสบร้อนกลางอก หรือ กรดไหลย้อน GERD (gastroesophagael reflux disease) เกิดจากกรดในกระเพาะหลั่งออกมามากเกินไป ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาตามหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารนี้เชื่อมต่อระหว่างลำคอและกระเพาะอาหาร อาการแสบร้อนกลางอก หรือ กรดไหลย้อนส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังจากรับประทานอาหารไปได้ไม่นาน โดยบางท่านแสบร้อนกลางอกหรือแสบร้อนที่ลำคอ บางท่านมีรสเปรี้ยวหรือรสขมภายในปาก หรือบางท่านมีอาการไอเรื้อรัง ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและกรดไหลย้อนคือ ไขมันที่หน้าท้องที่เพิ่มมากขึ้นนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการดันต่อกระเพาะอาหาร และมีส่วนทำให้ลำไส้เคลื่อนที่มาดันที่กระเพาะอาหาร หรือบางท่านที่เป็นโรคอ้วนมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมา ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการบรรเทาอาการกรดไหลย้อนของคนที่เป็นโรคอ้วน

โรคอ้วนกับกรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ❓2019-08-16T02:30:16+07:00

บุหรี่กับโรคกรดไหลย้อน

2019-08-10T02:11:40+07:00

โรคกรดไหลย้อน เป็นอีกหนึ่งโรคที่ถูกกระตุ้นให้เกิดอาการจากบุหรี่ได้ โดยเฉพาะอาการแสบร้อนกลางหน้าอก ซึ่งมีสาเหตุที่ทำให้เกิดได้ ดังนี้ การสูบบุหรี่ทำให้ผลิตน้ำลายได้น้อยลง ทำให้รู้สึกปากแห้ง น้ำลายข้นหนืด โดยปกติน้ำลายจะเป็นตัวเคลือบหลอดอาหารช่วยลดความเป็นกรดที่ย้อนขึ้นมาจากกระเพาะได้ แต่ในคนที่สูบบุหรี่จะมีน้ำลายน้อยลง ทำให้เมื่อเกิดอาการกรดไหลย้อน หลอดอาหารจะระคายเคืองได้ง่ายและเมื่อเกิดแผลแล้วมักหายยากด้วย การสูบบุหรี่กระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร การหลั่งกรดในปริมาณที่มากเกินไปสามารถทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ การสูบบุหรี่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายอ่อนแรงและคลายตัว​ กล้ามเนื้อหูรูดนี้ตั้งอยู่ระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะ หากหูรูดมีการคลายตัวผิดปกติแล้ว จะทำให้เกิดการไหลย้อนของกรดและอาหารจากกระเพาะอาหารขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้ การสูบบุหรี่ทำให้กรดในกระเพาะมีความรุนแรงมากขึ้น​ เนื่องจากบุหรี่จะกระตุ้นให้เกลือน้ำดีจากลำไส้เล็กไหลเข้าสู่กระเพาะอาหาร อาจทำให้เนื้อเยื่อกระเพาะ หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นถูกทำลายได้ง่ายขึ้น การสูบบุหรี่ทำลายหลอดอาหารได้โดยตรง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหารมากขึ้นด้วย การสูบบุหรี่ทำให้ย่อยอาหารช้าลง เพราะบุหรี่ไปยับยั้งการหลั่งกรดที่สำคัญของกระเพาะ รวมถึงทำให้หลอดเลือดที่กระเพาะและลำไส้เล็กตีบแคบลง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ส่งผลต่อการย่อยอาหาร อาหารจึงค้างอยู่ในกระเพาะนานขึ้น เกิดอาการกรดไหลย้อนตามมาทีหลังได้ ผลของการสูบบุหรี่ต่อระบบทางเดินอาหาร กลไกลการย่อยอาหารเริ่มตั้งแต่ปากจนถึงลำไส้ใหญ่ ซึ่งบุหรี่ก็มีผลต่ออวัยวะเกือบทุกส่วนในร่างกาย ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ผิดปกติไป

บุหรี่กับโรคกรดไหลย้อน2019-08-10T02:11:40+07:00

ความเครียด VS โรคกระเพาะ

2019-08-10T01:52:27+07:00

ความเครียด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาการโรคกระเพาะอาหารกำเริบ เพราะในขณะที่เราเครียด ระบบประสาทอัตโนมัติจะทำงานมากขึ้น มีผลกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ และมีผลต่อการบีบตัวของกระเพาะร่วมด้วย ปกติโรคกระเพาะจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีแผล และ กลุ่มที่ไม่มีแผล ส่วนใหญ่ผู้ที่ประสบกับภาวะเครียดลงกระเพาะจะเกิดกับโรคกระเพาะกลุ่มที่ไม่มีแผล ส่วนใหญ่มีอาการปวดจุกบริเวณลิ้นปี่เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งมักจะเกิดหลังรับประทานอาหาร ซึ่งถ้ามีภาวะเครียดก็อาจทำให้อาการกำเริบได้ ทำให้มีอาการบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นได้ อาการของภาวะเครียดลงกระเพาะ ส่วนใหญ่จะมีอาการปวด จุก แน่น แสบบริเวณลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน แน่นหน้าอก หรือเรอบ่อยได้ มักจะเกิดหลังจากรับประทานอาหาร อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะเกิดอาการระหว่างมื้ออาหารได้เช่นเดียวกัน อาการมักไม่รุนแรง เป็น

ความเครียด VS โรคกระเพาะ2019-08-10T01:52:27+07:00

โรคกรดไหลย้อนเกิดได้อย่างไร❓

2019-08-10T01:42:25+07:00

ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร จะมีกล้ามเนื้อทำหน้าที่เป็นหูรูด (Sphincter) ช่วยบีบบังคับไม่ให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ทั้งนี้เพราะกรดจะทำลายเยื่อบุหลอดอาหาร เเละเนื้อเยื่อหลอดอาหารไม่สามารถทนต่อกรดได้ ดังนั้น เมื่อเกิดภาวะที่ทำให้หูรูดนี้หย่อนยาน หรือปิดไม่สนิท จึงส่งผลให้กรดและอาหารที่กำลังย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลทวนย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร ภาวะที่ทำให้เกิดการหย่อนยาน และ/หรือการปิดไม่สนิทของหูรูดที่สำคัญ มีดังนี้ 1️⃣ กระเพาะอาหารบีบตัวลดน้อยลง จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น จากสูงอายุขึ้น (อายุ 40 ปีขึ้นไป เซลล์ต่างๆทุกชนิดของร่างกายรวมทั้งของหูรูดและของกระเพาะอาหารจะค่อยๆเสื่อมลงๆ) จากการอักเสบของกระเพาะอาหาร หรือของเส้นประสาทกระเพาะอาหาร จากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคลายเครียด ยาลดกรด ยาบรรเทาปวดกล้ามเนื้อ จากสารบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน เช่น สุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจากการบีบตัวลดลง จึงส่งผลให้เกิดการคั่งของอาหารและกรด

โรคกรดไหลย้อนเกิดได้อย่างไร❓2019-08-10T01:42:25+07:00

โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร❓❓❓

2019-08-09T01:15:12+07:00

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ 1️⃣ อายุ ดังกล่าวแล้ว อายุยิ่งสูงขึ้น โอกาสเกิดโรคนี้ยิ่งสูงขึ้น 2️⃣ การกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะกินมื้อเย็นก่อนนอน เพราะปริมาณอาหารยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร และการนอนราบยังเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาหารและกรดจึงไหลย้อนกลับเข้าหลอดอาหารได้ง่าย 3️⃣ การนอนราบหลังกินอาหาร เพราะจะเกิดแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากอาหาร/เครื่องดื่ม 4️⃣ ประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม ได้แก่       ❌ ประเภทอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน เช่น ไขมัน มันฝรั่งทอด มันเผาหรือมันต้ม อาหารทอด อาหารผัดน้ำมันมากๆ       ❌ อาหารและเครื่องดื่มที่มีสารช่วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพราะจะลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร เช่น ช็อกโกแลต สุรา/แอลกอฮอล์  

โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร❓❓❓2019-08-09T01:15:12+07:00
Go to Top