สาเหตุโรคลำไส้รั่วและแนวทางป้องกัน ดูแลรักษา

2020-11-25T22:15:01+07:00

โรคลำไส้รั่วอาจเป็นโรคที่หลายคนเคยได้ยิน แต่ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วอาการเป็นอย่างไร  ลำไส้เรารั่วได้จริง ๆ หรือ วันนี้ทางแอดมินมีคำตอบมาฝากกันค่ะ โรคลำไส้รั่วคืออะไร           ในคนปกติเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้จะเรียงตัวชิดติดกันเป็นระเบียบ เรียกว่า “tight junctions” เพื่อทำหน้าที่คัดกรองสารเข้า-ออก และควบคุมสารพิษหรือเชื้อโรคที่จะเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง แต่เมื่อเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เกิดความผิดปกติ มีการอักเสบ เซลล์จึงไม่สามารถเรียงตัวชิดกันได้ ทำให้สารพิษหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ สามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างอิสระ เรียกความผิดปกตินี้ว่า ภาวะลำไส้รั่ว" หรือ "Leaky Gut Syndrome"  ซึ่งเมื่อสารดังกล่าวเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็เปรียบเหมือนสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ร่างกายจะปฏิเสธสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ ด้วยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานมากขึ้นเพื่อมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมนั้น ผลที่ตามมา คือ อาการไม่พึงประสงค์ต่าง

สาเหตุโรคลำไส้รั่วและแนวทางป้องกัน ดูแลรักษา2020-11-25T22:15:01+07:00

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS)

2020-03-01T23:49:15+07:00

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS; Irritable Bowel Syndrome) เป็นโรคลำไส้ที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยนัก โรคลำไส้แปรปรวนกลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต และทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง โดยผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนจะมีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล บางรายอาจมีอาการท้องผูกเด่น บางรายอาจมีอาการท้องเสียเด่น แต่ทุกรายจะมีอาการปวดท้องเป็นอาการเฉพาะของโรค สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด เบื้องต้นพบว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จึงถือเป็นโรคที่ควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจเพื่อสังเกตตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดโรค อาการของโรคลำไส้แปรปรวน           ผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนมักทรมานจากการปวดท้อง แต่เมื่อได้ถ่ายอุจจาระอาการปวดจะหายไปและสบายท้องมากขึ้น โดยส่วนใหญ่อาการปวดมักปวดเกร็งที่ท้องน้อย อาการปวดท้องแต่ละครั้งจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งปวดมาก บางครั้งปวดน้อย ร่วมกับการมีการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสลับกัน โดยแต่ละรายจะมีอาการหนึ่งอาการใด (ท้องผูก/ท้องเสีย) เด่นกว่าอีกอาการหนึ่ง อาการที่สำคัญของโรคไอบีเอส คือ ผู้ป่วยอาจรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด ท้องผูก

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS)2020-03-01T23:49:15+07:00
Go to Top