ยาลดกรด เป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารทำให้เป็นกลางมากขึ้น โดยไปจับกับกรดในทางเดินอาหาร ช่วยให้ผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ที่มีปัญหาจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร (Hyperacidity)

ยาลดกรด แบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามส่วนประกอบหรือตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์รักษา เช่น

  • ยาที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม ไฮดร็อกไซด์ (Aluminium hydroxide; Al[OH]3) และ/หรือแมกนีเซียม ไฮดร็อกไซด์ (Magnesium hydroxide; Mg[OH]2) ยากลุ่มนี้นิยมใช้อยู่ในรูปยาน้ำแขวนตะกอนจึงออกฤทธิ์ค่อนข้างรวดเร็ว ใช้บรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากการดเกินในกระเพาะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ อะลัมมิลค์ (Alum milk), แอนตาซิล (Antacil®), เกลูซิล (Gelusil®), ยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน อย่างไรก็ตาม ยาที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต โดยผู้ป่วยไม่ควรใช้ยาเกินขนาดสูงสุดต่อวัน (อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ 3 กรัม แมกนีเซียมคาร์บอเนต 2 กรัม) ในระยะเวลา 24ชั่วโมงหรือรับประทานทุกวันติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์ ยกเว้นเป็นการรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  • ยาที่มีส่วนผสมของสารประกอบโซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate; NaHCO3) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โซดามินท์ (Sodamint) เป็นยาลดกรดชนิดออกฤทธิ์เร็ว และมีฤทธิ์ในการรักษาสั้น จึงเหมาะที่จะใช้ในการบรรเทาอาการกรดเกิน หรือการระคายเคืองทางเดินอาหารเมื่ออาการกำเริบ อย่างไรก็ตาม ยานี้สามารถดูดซึมผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้จึงอาจทำให้เลือดและปัสสาวะมีความเป็นด่างสูงกว่าปกติ รวมถึงการมีโซเดียมมากเกิดในกระแสเลือดได้ จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้เป็นประจำต่อเนื่องเพื่อควบคุมความเป็นกรด ให้ใช้เพียงระยะสั้น ๆ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น อีโน (ENO®)
  • กรดอัลจินิก (algenic acid) หรือ โซเดียมแอลจิเนต (sodium alginate) เป็นสารกลุ่มเดียวกับแป้งที่มีคุณสมบัติพองตัวเป็นเจลเมื่อสัมผัสกรด จึงมีความสามารถในการจับกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดเป็นโฟม ซึ่งจะมีความหนืดและลอยตัวเป็นแพอยู่ในกระเพาะอาหาร จึงช่วยลดการระเหยของไอกรดไปยังหลอดอาหาร และลดการระคายเคืองจากกรดในกระเพาะ มักใช้ร่วมกับยาลดกรดประเภทโซเดียมไบคาร์บอเนต ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น กาวิสคอน (Gaviscon®) เป็นยาที่มีส่วนประกอบของโซเดียมแอลจิเนต โซเดียมไบคาร์บอเนต และแคลเซียมคาร์บอเนต

การรับประทานยาลดกรด ให้รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด หรือ 1-2 ช้อนโต๊ะ หลังอาหาร 3 เวลา เฉพาะเวลามีอาการ กลุ่มยาลดกรดมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ หากไม่มีความจำเป็นพิเศษ และไม่ควรใช้หากแพ้ส่วนประกอบใด ๆ ในยาลดกรด

นอกจากนี้ ยาลดกรดสามารถเกิดปัญหายาตีกันกับยาดังต่อไปนี้ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเตตร้าไซคลิน (Tetracyclines) ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน ได้แก่ นอร์ฟลอกซาซิน (Norfloxacin), โอฟลอกซาซิน (Ofloxacin) และ ซิโพรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) ยาฆ่าเชื้อรากลุ่มเอโซล (Azoles) โดยเฉพาะยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ทำให้การดูดซึมยาฆ่าเชื้อลดลง ถ้าระดับยาฆ่าเชื้อในเลือดต่ำมาก อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล สำหรับการรับประทานยาลดกรดร่วมกับยากันชัก จะทำให้ยากันชักบางตัวถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้จนเกิดพิษ ส่วนบางตัวอาจทำให้ยากันชักถูกดูดซึมลดลงจนไม่สามารถควบคุมอาการชักได้

นอกเหนือจากการรับประทานยาลดกรดแล้ว การปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ลดการรับประทานอาหารเผ็ดร้อน เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน และรับประทานผักผลไม้ที่ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เราสามารถหันมาทานผักเเละผลไม้ที่มีประโยชน์ เช่น​ ผงกล้วย​ดิบออร์แกนิคตราน้ำว้า อีกทางเลือก​เพื่อ​สุขภาพ​ที่ดี​

 

เอกสารอ้างอิง

  1. MIMs Thailand. https://www.mims.com/thailand/drug/info/algycon/special-precautions?selectedTab=warnings.
  2. MIMs Thailand. https://www.mims.com/thailand/drug/info/alginic%20acid/?type=brief&mtype=generic.

 

สนใจ เครื่องดื่มกล้วยน้ำว้าดิบ ชนิดผง ตราน้ำว้า เพิ่มเติม

สอบถาม สั่งซื้อ Namwah คลิ๊ก!!!