หิวก็แสบท้อง อิ่มแล้วก็ยังแสบท้อง ตอนกลางดึกก็ยังจะแสบท้องอยู่อีก ยิ่งเวลาเครียด ๆ ด้วยแล้วยิ่งปวดแสบเลย อาการแสบท้องเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเกิดจากความหิวหรือหลังรับประทานอาหาร บางครั้งอาการนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงกลางดึกหรือเมื่อเกิดความเครียด ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเรื้อรังโดยไม่ดูแล อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เรามาทำความรู้จักกับสาเหตุและวิธีดูแลอาการแสบท้องกันค่ะ

สาเหตุของอาการแสบท้อง

โรคกระเพาะ ผงกล้วดิบ ตราน้าว้า

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบท้องติดอันดับต้น ๆ ของคนไทยเรา สาเหตุเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารรสจัดติดต่อกันนาน ๆ ความเครียด ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดแผล มีการอักเสบ บวม แดง หรือเกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) ซึ่งทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังต่อเนื่องนานเป็นเดือนหรือเป็นปี

อาการที่เห็นได้ชัดของโรคกระเพาะอาหารทั้งฉับพลันและเรื้อรังนี้ คือ อาการปวดแสบท้องบริเวณกระเพาะอาหารหรือใต้ลิ้นปี่ ท้องอืด แน่นท้องทั้งที่ไม่ได้กินอาหาร

เบื้องต้นการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยตนเอง โดยการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัดหรือเผ็ด รับประทานอาหารอ่อน ๆ รับประทานสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการและเสริมความแข็งแรงของกระเพาะอาหาร เช่น กล้วยดิบ ขมิ้นขัน ขิง และโยเกิร์ตเป็นต้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงความเครียดด้วยนะคะ อย่างไรก็ตาม หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคว่าเกิดจากมีเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรหรือไม่ หากมีเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวจะต้องทานยาฆ่าเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในกระเพาะอาหารนี้ให้หมดไป แพทย์อาจให้ยาต้านการหลั่งกรด และยารักษาแผลในกระเพาะอาหารร่วมด้วย ซึ่งต้องกินติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ค่ะ

 

กรดไหลย้อนและการดูแล น้ำว้า ผงกล้วยดิบ

โรคกรดไหลย้อน หรือ GERD

โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคยอดฮิตของคนทำงานยุคนี้เลยค่ะ ส่วนใหญ่เกิดจากจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา โดยเฉพาะคนที่ชอบทานดึก ๆ และเข้านอนทันที

โรคกรดไหลย้อน เกิดจากภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่บริเวณหลอดอาหาร ทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ เกิดได้ทั้งจากมีกรดเกินในกระเพาะอาหารจนไหลย้อนขึ้นมา หรืออาจเกิดจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายที่ต่อกับกระเพาะอาหารหย่อนคล้อยทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาด้านบนหลอดอาหารได้

วิธีดูแลและป้องกันอาการแสบท้อง

โรคทางเดินอาหารสามารถรักษาได้ หายขาดได้ (อาการสงบ)

  1. ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร:
    • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด อาหารมัน อาหารที่มีกรดสูง เช่น น้ำส้ม หรืออาหารเผ็ดจัด
    • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม เพราะจะทำให้กรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น
    • หลังรับประทานอาหารควรเว้นระยะเวลาก่อนนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อลดการเกิดกรดไหลย้อน
  2. การดูแลสุขภาพจิต:
    • ลดความเครียดด้วยการทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ การออกกำลังกาย หรือการพูดคุยกับคนใกล้ชิด
    • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับที่มีคุณภาพจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
  3. การดูแลด้วยสมุนไพร:
    • กล้วยดิบ: กล้วยดิบเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีสารเพกทิน (Pectin) ซึ่งช่วยเสริมสร้างเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรงขึ้น
    • ขมิ้นชัน: ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมินอยด์ที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร และเสริมความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร
    • ขิง: ขิงช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกสบายท้อง และช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้

ผลิตภัณฑ์จาธรรมชาติที่ช่วยดูแลระบบทางเดินอาหาร

ผงกล้วยดิบออร์แกนิคตรา “น้ำว้า” ผลิตจากกล้วยดิบออร์แกนิคแท้ 100% ซึ่งสามารถรับประทานร่วมกับผงขิงออร์แกนิคสำเร็ปรูปตราจินเจอร์ริกได้ ทั้งสองผลิตภัณฑ์นี้มีสารอาหารที่ช่วยเสริมสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพกระเพาะอาหารและระบบย่อยอาหารในระยะยาว

ข้อควรระวังและคำแนะนำเพิ่มเติม

หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการแสบท้องยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดแสบรุนแรง หรือต้องการคำแนะนำเรื่องการใช้ยาและการดูแลสุขภาพเพิ่มเติม

เลือกผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่คุณวางใจ เลือกผงกล้วยดิบออร์แกนิคตรา “น้ำว้า” และผงขิงออร์แกนิคตราจินเจอร์ริก เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณค่ะ

สนใจ ผลิตภัณฑ์ของ “น้ำว้า” เพิ่มเติม กดที่รูปได้เลยค่าาา

สินค้าของเรา น้ำว้า และ จินเจอร์ริก

เอกสารอ้างอิง:

  1. Drugs.com – Gastrointestinal Disorders (2019)
  2. UPMC Health Beat – 5 Foods to Help Your Digestive System (2014)
  3. Indian Express – Health Benefits of Banana (2021)