จริงหรือไม่? ผงกล้วยดิบช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ส่วนต้นได้

2022-12-07T13:24:22+07:00

อย่างที่ทุกท่านทราบกันว่ากล้วยน้ำว้าดิบมีประโยชน์พร้อมด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมายในตัว ไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่าง ๆ ที่ครบถ้วน แร่ธาตุโพแทสเซียมที่พบในกล้วยด้วยปริมาณที่สูง แต่อีกสิ่งที่หลายคนมองข้าม คือ คุณสมบัติในการเป็นแป้งทนต่อการย่อยซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมาก วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับประโยชน์ของกล้วยที่หลายท่านไม่เคยรู้มาก่อนกันค่ะ ทำความรู้จักแป้งทนต่อการย่อย แป้งถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย แต่หากเรารับประทานแป้งมากจนเกินไปก็จะทำให้เกิดไขมันสะสมและเกิดโรคอ้วนตามมา อย่างไรก็ตาม ยังมีแป้งอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็กได้ เรียกแป้งกลุ่มนี้ว่า “แป้งทนการย่อย” (Resistant starch ; RS) สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด โดยแป้งทนการย่อยต่อเอนไซม์ชนิดที่ 2 (Resistant starch 2; RS2) เป็นแป้งทนการย่อยที่อยู่ในรูปของเม็ดแป้งดิบ พบได้มากในกล้วยดิบ สรรพคุณของแป้งทนต่อการย่อยจากกล้วยน้ำว้าดิบ แป้งทนการย่อยชนิดที่ 2 นี้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้

จริงหรือไม่? ผงกล้วยดิบช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ส่วนต้นได้2022-12-07T13:24:22+07:00

ผงหญ้าหวานออร์แกนิค ทานหวานได้ไม่มีแคลอรี่

2021-02-03T12:00:43+07:00

ในช่วงปีที่ผ่านมา หญ้าหวาน (Stevia) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่คนไทยที่รักสุขภาพ นิยมนำมาใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เนื่องจากสารสกัดที่ได้จากหญ้าหวานที่มีชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (Stevioside) เป็นสารที่ให้รสหวานมากกว่าน้ำตาล 100-300 เท่า แต่ปราศจากแคลอรี่ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาจัดให้สารสกัดหญ้าหวานเป็นสารที่ปลอดภัยต่อการบริโภค ปัจจุบันจึงมีการนำหญ้าหวานมารับประทานปรุงแต่งรสและใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เครื่องดื่ม ยาสมุนไพร และทางการแพทย์ ประโยชน์ของหญ้าหวาน นอกจากประโยชน์ที่ให้ความหวานแล้ว หญ้าหวานยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลังและรักษาปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ด้วย เช่น ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ช่วยในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยบำรุงตับ ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก

ผงหญ้าหวานออร์แกนิค ทานหวานได้ไม่มีแคลอรี่2021-02-03T12:00:43+07:00

2 สมุนไพรตัวช่วยลดโรคเบาหวาน และโรคกระเพาะอาหาร

2021-01-10T13:25:07+07:00

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่หลายคนอาจจะมองว่าไม่ร้ายแรง แต่แท้จริงแล้วโรคเบาหวานสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจทำให้พิการตามมาได้ เช่น โรคหัวใจผิดปกติ ตามัว เห็นภาพไม่ชัดจนถึงขั้นตาบอด มีอาการชาปลายมือและปลายเท้า แผลหายยาก ติดเชื้อที่บาดแผลเรื้อรัง บางรายรุนแรงถึงขั้นต้องตัดขาทิ้ง เป็นต้น เป็นภาวะที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน เนื่องจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินซึ่งใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือภาวะที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินที่หลั่งออกมา เมื่อน้ำตาลไม่ถูกนำไปใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ จึงเกิดเป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังเกี่ยวกับทางเดินอาหารที่คนส่วนใหญ่เป็นกันเยอะ และทำให้ทุกข์ทรมานกับอาการปวดท้องอยู่เนือง ๆ เนื่องจากแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) ที่เกิดการอักเสบ อาการที่พบได้บ่อย เช่น ปวดท้อง จุกเสียด แน่นหน้าอก เรอเปรี้ยว โดยอาการปวดจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร คือ อาจปวดก่อน

2 สมุนไพรตัวช่วยลดโรคเบาหวาน และโรคกระเพาะอาหาร2021-01-10T13:25:07+07:00

โรคเบาหวาน และการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

2021-01-13T15:40:59+07:00

โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดใหญ่ และหลอดเลือดเล็กตามมา เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบเป็นอย่างมากเนื่องจากอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพที่เพิ่มมาก ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2568 โดยการพยากรณ์จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุ 1 คนในทุก ๆ 5 คน จะเป็นโรคเบาหวาน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวานเป็นกลุ่มโรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินเพื่อนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ลดลง ทำให้มีผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายผิดปกติตามมา อินซูลินสร้างและหลั่งจากตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ

โรคเบาหวาน และการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน2021-01-13T15:40:59+07:00

โรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

2020-02-06T10:32:19+07:00

กลูเตน (Gluten) เป็นโปรตีนในแป้งที่สามารถจับตัวเป็นโครงสร้างที่มีสมบัติต้านความหนืดและยืดหยุ่น โดยการเกิดพันธะไดซัลไฟด์ระหว่างโมเลกุลของกรดอะมิโน กลูเตน ประกอบด้วย โปรตีนกลูตินิน (Glutenin) ซึ่งมีสมบัติสำคัญต่อลักษณะความยืดหยุ่น และโปรตีนไกลอะดิน (Gliadin) เป็นโปรตีนที่สามารถละลายได้ในแอลกอฮอล์ล มีความสำคัญในการปรับและควบคุมลักษณะความข้นหนืดของกลูเตน พบได้ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ ซึ่งพบมากในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งข้าวสาลี เช่น เบเกอรี่ พาย เค้ก เป็นต้น อีกทั้งยังมักใช้เป็นส่วนประกอบในการทำเนื้อเทียมในอาหารมังสวิรัติและอาหารเจ

โรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม2020-02-06T10:32:19+07:00

กล้วยน้ำว้าดิบ…ช่วยเบาหวานได้อย่างไร?

2020-01-27T22:34:13+07:00

หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าจากสถานการณ์ปัจจุบันผู้สูงอายุ 1 คนในทุก ๆ 5 คน จะป่วยเป็นโรคเบาหวาน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน โดยโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus; DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย กระหายน้ำมาก น้ำหนักลด/เพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด เหนื่อยง่าย  มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น

กล้วยน้ำว้าดิบ…ช่วยเบาหวานได้อย่างไร?2020-01-27T22:34:13+07:00

Resistant Starch 2 (RS2) ในแป้งกล้วยดิบ

2021-02-12T11:47:32+07:00

แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่สามารถถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ และได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นกลูโคส ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ซึ่งหากรับประทานแป้งมากจนเกินไปก็จะทำให้เกิดไขมันสะสมและเกิดโรคอ้วนตามมา อย่างไรก็ตาม ยังมีแป้งอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถทนต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็กได้ เรียกแป้งกลุ่มนี้ว่า “แป้งทนการย่อย” (Resistant starch ; RS) แป้งดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด โดย แป้งทนการย่อยต่อเอนไซม์ชนิดที่ 2 (Resistant starch 2; RS2) เป็นแป้งทนการย่อยที่อยู่ในรูปของเม็ดแป้งดิบ พบได้มากในกล้วยดิบและแป้งสตาร์ชมันฝรั่ง

Resistant Starch 2 (RS2) ในแป้งกล้วยดิบ2021-02-12T11:47:32+07:00

Resistant Starch 2 (RS2) ในแป้งกล้วยดิบ

2021-02-11T20:42:00+07:00

แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่สามารถถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ และได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นกลูโคส ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ซึ่งหากรับประทานแป้งมากจนเกินไปก็จะทำให้เกิดไขมันสะสมและเกิดโรคอ้วนตามมา อย่างไรก็ตาม ยังมีแป้งอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถทนต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็กได้ เรียกแป้งกลุ่มนี้ว่า “แป้งทนการย่อย” (Resistant starch ; RS) แป้งดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด โดยแป้งทนการย่อยต่อเอนไซม์ชนิดที่ 2 (Resistant starch 2; RS2) เป็นแป้งทนการย่อยที่อยู่ในรูปของเม็ดแป้งดิบ พบได้มากในกล้วยดิบและแป้งสตาร์ชมันฝรั่ง แป้งทนการย่อยชนิดที่ 2 นี้มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า แป้งที่ทนการย่อยซึ่งมีค่า Glycemic Index (GI) ต่ำนั้นมีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ โดยจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ผนังลำไส้ใหญ่ ผลจากการย่อยที่เกิดขึ้นอย่างช้า

Resistant Starch 2 (RS2) ในแป้งกล้วยดิบ2021-02-11T20:42:00+07:00
Go to Top