ยาลดกรด (Antacids) คืออะไร???

2021-11-11T11:14:12+07:00

ยาลดกรด เป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารทำให้เป็นกลางมากขึ้น โดยไปจับกับกรดในทางเดินอาหาร ช่วยให้ผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ที่มีปัญหาจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร (Hyperacidity) ยาลดกรด แบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามส่วนประกอบหรือตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์รักษา เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม ไฮดร็อกไซด์ (Aluminium hydroxide; Al[OH]3) และ/หรือแมกนีเซียม ไฮดร็อกไซด์ (Magnesium hydroxide; Mg[OH]2) ยากลุ่มนี้นิยมใช้อยู่ในรูปยาน้ำแขวนตะกอนจึงออกฤทธิ์ค่อนข้างรวดเร็ว ใช้บรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากการดเกินในกระเพาะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ อะลัมมิลค์ (Alum milk), แอนตาซิล (Antacil®), เกลูซิล (Gelusil®), ยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน

ยาลดกรด (Antacids) คืออะไร???2021-11-11T11:14:12+07:00

รู้ทัน! อาการกรดไหลย้อน โรคที่ใคร ๆ ก็เป็นได้

2021-02-12T12:07:49+07:00

ในปัจจุบันเราจะพบเห็นคนใกล้ตัวเป็น “โรคกรดไหลย้อน” กันมากขึ้น ซึ่งจัดว่าเป็นโรคยอดฮิต ยุคใหม่ที่ใคร ๆ ก็เป็นได้ โดยสาเหตุหลักมักมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องและการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสภาพสังคมปัจจุบัน โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารจนทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน หรือแม้แต่ไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม อาการของกรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้ (พบน้อย) รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ กลืนลำบาก กลืนเจ็บ หรือกลืนติดๆ ขัดๆ คล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ เจ็บคอ แสบคอหรือปาก หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก (bile

รู้ทัน! อาการกรดไหลย้อน โรคที่ใคร ๆ ก็เป็นได้2021-02-12T12:07:49+07:00

โพแทสเซียม…แร่ธาตุคุณประโยชน์สูงที่ไม่ควรมองข้าม

2021-02-12T11:56:06+07:00

โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานปกติ ควบคุมสมดุลของแร่ธาตุต่าง ๆ ในเลือดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงาน ช่วยควบคุมให้ร่างกายมีความเป็นกรด-ด่างพอเหมาะ ป้องกันภาวะกรดไหลย้อนหรือกรดเกินในกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีภาวะโรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน จึงควรรับประทานโพแทสเซียมให้เพียงพอเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ และยังช่วยปรับความดันโลหิตให้เหมาะสมในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย จากรายงานของ Food and Nutrition Board, Institute of Medicine-national Academic of Sciences ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าเราควรได้รับโพแทสเซียมในปริมาณอย่างน้อย 3.7 กรัมต่อวัน

โพแทสเซียม…แร่ธาตุคุณประโยชน์สูงที่ไม่ควรมองข้าม2021-02-12T11:56:06+07:00

ยายับยั้งการหลั่งกรดโอมีพราโซล (Omeprazole)

2021-02-12T11:59:05+07:00

สำหรับหลาย ๆ ท่านที่มีอาการ อาหารไม่ย่อย หรือ Dyspepsia น่าจะเคยได้ยินหรือมีโอกาสได้ใช้ ยาโอมีพราโซล (Omeprazole) หรือ ยามิราซิด (Miracid®) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จึงช่วยลดอาการแสบกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องส่วนบน ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว คลื่นไส้ อาเจียน อาการแสบร้อนกลางอกหลังรับประทานอาหารเนื่องจากกรดเกิน โดยอาการที่เกิดขึ้นสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา ร่วมกับการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยา Omeprazole เป็นยาช่วยยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารในกลุ่มยับยั้งโปรตอน ปั๊ม (Proton Pump Inhibitors: PPIs) ออกฤทธิ์โดยการขัดขวางการหลั่งกรดในขั้นตอนสุดท้าย โดยตัวยาจะเข้ายับยั้งเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Miracid®,

ยายับยั้งการหลั่งกรดโอมีพราโซล (Omeprazole)2021-02-12T11:59:05+07:00

ความเครียด…วิตกกังวล… ส่งผลกับกรดไหลย้อนหรือไม่???

2021-02-11T20:48:26+07:00

หลาย ๆ ท่านอาจคาดไม่ถึงว่าความเครียด ภาวะซึมเศร้า (Depression) หรือความวิตกกังวล (Anxiety) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อนหรือทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ นักวิจัยพบว่าสมองและหลอดอาหารมีความสามารถในการเชื่อมโยงกันได้อย่างใกล้ชิด โดยความเครียดและอารมณ์ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร  ในขณะเดียวกันอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหารที่มีปัญหาก็จะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลนั้นเช่นเดียวกัน จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ปัจจัยด้านอารมณ์มีผลต่อความรุนแรงของโรคในระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากระบบประสาทที่สมองสามารถสั่งงานให้กรดหลั่งได้มากขึ้นเมื่อเกิดความเครียด การนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิทจากการเป็นโรคซึมเศร้าหรืออาการวิตกกังวล นอกจากนี้ อาการเหล่านี้ยังมีผลเพิ่มความเครียดของกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การบีบตัวของหลอดอาหารลดลง จึงเกิดแรงดันและลมปริมาณมากในกระเพาะอาหาร เมื่อร่างกายย่อยอาหารได้ช้าจึงเกิดอาการจุดเสียด แน่นหน้าอก ความเครียดยังส่งผลให้หูรูดทำงานผิดปกติด้วย โดยหากหูรูดบริเวณกระเพาะอาหารหย่อนจะทำให้ไม่สามารถปิดกั้นกรดที่ย้อนขึ้นมาได้ จึงเกิดอาการแสบร้อนกลางอก  หายใจไม่อิ่ม เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้ นอกจากนี้ การเป็นโรคซึมเศร้าหรืออาการวิตกกังวลยังส่งผลให้ร่างกายไวต่อการรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดผ่านการเชื่อมโยงกันระหว่างสมองและหลอดอาหาร หรือที่เรียกว่า gut-brain axis อีกด้วย การนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท

ความเครียด…วิตกกังวล… ส่งผลกับกรดไหลย้อนหรือไม่???2021-02-11T20:48:26+07:00

ทานมื้อเย็นยังไง ไม่ให้อ้วน ❗️❓

2019-10-28T22:12:45+07:00

อาหารมื้อเย็น เป็นมื้ออาหารที่ช่วยเติมเต็มสารอาหารต่างๆ และพลังงานตามที่ร่างหายต้องการตลอดทั้งวัน และมื้อเย็นช่วยให้การกระจายสารอาหาร พลังงาน และวิตามินเกลือแร่ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมในแต่ละวัน เพราะกระเพาะอาหารของเรามีเพดานการทำงานที่เหมาะสมตามปริมาณอาหารที่กินเข้าไป ดังนั้น การทานอาหารมื้อเย็นอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายของเราได้รับพลังงานและสารอาหารครบถ้วนแล้ว ยังสามารถให้เราควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี วิธีทานมื้อเย็นอย่างเหมาะสม  ควรทานมื้อเย็น ช่วงเวลาหกโมงเย็นถึงหนึ่งทุ่ม หรือก่อนเข้านอน 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะโปรตีนต้องใช้เวลาย่อยและดูดซึมถึง 4 ชั่วโมง และการรับประทานอาหารแล้วนอนเลย อาจทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ นอกจากนี้ หลังมื้ออาหาร ควรเว้นอย่างน้อย 30 นาทีจึงค่อยอาบน้ำ เพราะขณะที่อาหารกำลังย่อย เลือดต้องไปเลี้ยงกระเพาะเพื่อช่วยย่อย แต่ถ้าเราไปอาบน้ำทันที จะทำให้เลือดต้องมาที่ผิวหนังก่อน เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น ทำให้เลือดส่งไปเลี้ยงที่กระเพาะน้อย

ทานมื้อเย็นยังไง ไม่ให้อ้วน ❗️❓2019-10-28T22:12:45+07:00

กรดไหลย้อน เป็นง่าย รักษายาก แต่ป้องกันได้ แค่ทำตามนี้‼

2020-06-09T17:14:49+07:00

โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) พบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรืออาการขย้อนจนรบกวนชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญหนึ่งมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องและการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสภาพสังคมปัจจุบัน สิ่งสำคัญเเละง่ายที่สุดในการป้องกันเเละบรรเทาโรคกรดไหลย้อน คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเราเอง ซึ่งการปรับพฤติกรรมแบบง่ายๆ มีอะไรบ้าง เรามาลองดูกันค่ะ ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กๆ 5 หรือ 6 มื้อต่อวันเพื่อป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารสร้างกรดออกมามากเกินไปเเละไม่ทำให้กระเพาะทำงานหนักเกินไป ควรทานอาหารเป็นคำเล็กๆ เเละค่อยๆ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนเพื่อที่จะได้ใช้เวลาในการย่อยอาหารน้อยลงเเละย่อยง่ายขึ้น ควรทานอาหารที่มีไขมันต่ำ, ไฟเบอร์สูง, เนื้อสัตว์สีขาวไม่ติดมัน เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา นมไขมันต่ำ ข้าวโอ๊ต และผงกล้วยดิบ เป็นต้น หลังทานอาหารเสร็จแล้ว ควรรออย่างน้อย

กรดไหลย้อน เป็นง่าย รักษายาก แต่ป้องกันได้ แค่ทำตามนี้‼2020-06-09T17:14:49+07:00

โรคกระเพาะ​กำลังจะมาโดยไม่รู้ตัว​ กว่าจะรู้ก็เป็นเรื้อรังเสียเเล้ว‼️

2019-08-16T02:29:07+07:00

โรคกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ทำงานหนัก จนทำให้เรารับประทานอาหารไม่เวลา หรือความเครียด ความวิตกกังวล ก็สามารถทำให้เราเป็นโรคกระเพาะได้เช่นกัน เพื่อเป็นการปกป้องไม่ให้เกิดโรคกระเพาะ เรามาลองกลับมาสังเกตอาการเตือนของร่างกาย เพื่อให้เราสามารถรับมือได้ทันท่วงที มาเช็คกันดูค่ะ​ ว่าเรามีอาการแบบนี้หรือไม่ ❓ รู้สึกปวดท้องเมื่อท้องว่าง​ บริเวณท้องส่วนบน ตั้งแต่บริเวณใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ อาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมหลังรับประทานอาหาร ปวดแสบร้อนท้อง ​ท้องอืด​ อิ่มง่าย​ อิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้ไม่มาก​ ไม่มีความอยากอาหาร​ อาจมีอาการเรอบ่อย มีอาการท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยร่วมด้วย ปวดท้องเวลาดึก​ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน โรคกระเพาะอาหารเป็นเหมือนภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากเราละเลยไม่ให้ความใส่ใจดูแลสังเกตุอาการของตนเอง อาจจะเป็นเรื้อรังได้​ 🍌🥕มาเริ่มต้นสุขภาพที่ดีในระยะยาวด้วยการทานผักเเละผลไม้ อาหารจากธรรมชาติกันดีกว่าค่ะ "เครื่องดื่มกล้วย​น้ำว้าดิบชนิดผง​ ตราน้ำว้า​ ดื่มง่าย​

โรคกระเพาะ​กำลังจะมาโดยไม่รู้ตัว​ กว่าจะรู้ก็เป็นเรื้อรังเสียเเล้ว‼️2019-08-16T02:29:07+07:00

กรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร ?

2019-08-10T02:26:34+07:00

กรดไหลย้อนเป็นอาการแสบร้อนกลางอกที่เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณหลอดอาหารคลายตัวผิดปกติ หากเกิดภาวะนี้ในหญิงตั้งครรภ์มักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลงและทำให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารที่อยู่ติดกับกระเพาะคลายตัวบ่อยกว่าปกติ ประกอบกับทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้นจนมดลูกขยายขนาดใหญ่ขึ้นและเบียดกระเพาะอาหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น เมื่อรับประทานอาหารมาก ๆ หรือเอนตัวลงนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จไม่นาน น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจึงไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้รู้สึกเจ็บและแสบร้อนบริเวณหน้าอกตามมา หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน จะมีอาการเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยอาการที่มักพบได้บ่อย มีดังนี้ แสบร้อนบริเวณคอหรือหน้าอกส่วนบน เรอบ่อย เรอเปรี้ยว หรือรู้สึกขมคอหลังจากตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคืองคอ หรือเสียงแหบ ทั้งนี้ ภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใด เพียงแต่อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตัวคุณแม่เอง และในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองหลังจากคลอดบุตรแล้ว การรับมือกรดไหลย้อนในช่วงตั้งครรภ์  ทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง และทานอาหารตรงตามเวลาทุกมื้ออาหารอ่อน ย่อยง่ายและเคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกคำก่อนกลืน อย่ารับประทานอาหารมากเกินไป หรือรับประทานอาหารมื้อดึก ที่รับประทานเสร็จแล้วนอนเลย

กรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร ?2019-08-10T02:26:34+07:00

โรคอ้วนกับกรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ❓

2019-08-16T02:30:16+07:00

โรคอ้วน นั้นไม่ใช่แค่เพียงส่งความกังวลต่อความสวยงาม สัดส่วน และบุคลิกภาพ ความอ้วนนำมาซึ่งโรคต่างๆ ได้มากมาย และกรดไหลย้อนก็อาจเป็นหนึ่งในนั้น ในการศีกษาวิจัยใหม่ๆ พบว่าเมื่อร่างกายมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนได้ อาการแสบร้อนกลางอก หรือ กรดไหลย้อน GERD (gastroesophagael reflux disease) เกิดจากกรดในกระเพาะหลั่งออกมามากเกินไป ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาตามหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารนี้เชื่อมต่อระหว่างลำคอและกระเพาะอาหาร อาการแสบร้อนกลางอก หรือ กรดไหลย้อนส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังจากรับประทานอาหารไปได้ไม่นาน โดยบางท่านแสบร้อนกลางอกหรือแสบร้อนที่ลำคอ บางท่านมีรสเปรี้ยวหรือรสขมภายในปาก หรือบางท่านมีอาการไอเรื้อรัง ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและกรดไหลย้อนคือ ไขมันที่หน้าท้องที่เพิ่มมากขึ้นนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการดันต่อกระเพาะอาหาร และมีส่วนทำให้ลำไส้เคลื่อนที่มาดันที่กระเพาะอาหาร หรือบางท่านที่เป็นโรคอ้วนมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมา ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการบรรเทาอาการกรดไหลย้อนของคนที่เป็นโรคอ้วน

โรคอ้วนกับกรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ❓2019-08-16T02:30:16+07:00
Go to Top