โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS)

2020-03-01T23:49:15+07:00

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS; Irritable Bowel Syndrome) เป็นโรคลำไส้ที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยนัก โรคลำไส้แปรปรวนกลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต และทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง โดยผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนจะมีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล บางรายอาจมีอาการท้องผูกเด่น บางรายอาจมีอาการท้องเสียเด่น แต่ทุกรายจะมีอาการปวดท้องเป็นอาการเฉพาะของโรค สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด เบื้องต้นพบว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จึงถือเป็นโรคที่ควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจเพื่อสังเกตตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดโรค อาการของโรคลำไส้แปรปรวน           ผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนมักทรมานจากการปวดท้อง แต่เมื่อได้ถ่ายอุจจาระอาการปวดจะหายไปและสบายท้องมากขึ้น โดยส่วนใหญ่อาการปวดมักปวดเกร็งที่ท้องน้อย อาการปวดท้องแต่ละครั้งจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งปวดมาก บางครั้งปวดน้อย ร่วมกับการมีการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสลับกัน โดยแต่ละรายจะมีอาการหนึ่งอาการใด (ท้องผูก/ท้องเสีย) เด่นกว่าอีกอาการหนึ่ง อาการที่สำคัญของโรคไอบีเอส คือ ผู้ป่วยอาจรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด ท้องผูก

โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคไอบีเอส (IBS)2020-03-01T23:49:15+07:00

กล้วยน้ำว้า: ผลไม้เพิ่มสารแห่งความสุข

2020-02-14T23:14:15+07:00

สถานการณ์ปัจจุบันทำให้คนเรามี ภาวะเครียด วิตกกังวล จนถึงขั้นทำให้เป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากปัญหาเรื่องงาน การเงิน หรือปัญหาครอบครัว ปัจจัยทางด้านลบจากอารมณ์ส่งผลต่ออวัยวะภายใน รวมถึงสมดุลของฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาทต่าง ๆ ที่ควบคุมให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ ในช่วงนี้มีข่าวหลายชีวิตที่จากไปด้วยโรคซึมเศร้า พบว่าทั่วประเทศมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 1.4 ล้านคนซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น่าเป็นห่วง โรคซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

กล้วยน้ำว้า: ผลไม้เพิ่มสารแห่งความสุข2020-02-14T23:14:15+07:00

โรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

2020-02-06T10:32:19+07:00

กลูเตน (Gluten) เป็นโปรตีนในแป้งที่สามารถจับตัวเป็นโครงสร้างที่มีสมบัติต้านความหนืดและยืดหยุ่น โดยการเกิดพันธะไดซัลไฟด์ระหว่างโมเลกุลของกรดอะมิโน กลูเตน ประกอบด้วย โปรตีนกลูตินิน (Glutenin) ซึ่งมีสมบัติสำคัญต่อลักษณะความยืดหยุ่น และโปรตีนไกลอะดิน (Gliadin) เป็นโปรตีนที่สามารถละลายได้ในแอลกอฮอล์ล มีความสำคัญในการปรับและควบคุมลักษณะความข้นหนืดของกลูเตน พบได้ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ ซึ่งพบมากในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งข้าวสาลี เช่น เบเกอรี่ พาย เค้ก เป็นต้น อีกทั้งยังมักใช้เป็นส่วนประกอบในการทำเนื้อเทียมในอาหารมังสวิรัติและอาหารเจ

โรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม2020-02-06T10:32:19+07:00

กล้วยน้ำว้าดิบ วิถีไทย

2020-02-04T15:34:24+07:00

กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์และใกล้ชิดคนไทยมากที่สุดชนิดหนึ่ง ภูมิปัญญาคนไทยในสมัยโบราณนั้นทราบกันมาช้านานแล้วว่ากล้วยน้ำว้ามีคุณประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤทธิ์ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร แม้ว่าคนไทยในสมัยโบราณจะไม่ทราบว่าในกล้วยนั้นมีสารสำคัญอะไรที่ออกฤทธิ์ แต่จากการรับประทานกล้วยน้ำว้าแล้วช่วยลดอาการปวดท้องและรักษาโรคกระเพาะอาหารได้อย่างชะงัด จึงทำให้ภูมิปัญญาดังกล่าวได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน

กล้วยน้ำว้าดิบ วิถีไทย2020-02-04T15:34:24+07:00

กล้วยน้ำว้าดิบ…ช่วยเบาหวานได้อย่างไร?

2020-01-27T22:34:13+07:00

หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าจากสถานการณ์ปัจจุบันผู้สูงอายุ 1 คนในทุก ๆ 5 คน จะป่วยเป็นโรคเบาหวาน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน โดยโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus; DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย กระหายน้ำมาก น้ำหนักลด/เพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด เหนื่อยง่าย  มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น

กล้วยน้ำว้าดิบ…ช่วยเบาหวานได้อย่างไร?2020-01-27T22:34:13+07:00

Resistant Starch 2 (RS2) ในแป้งกล้วยดิบ

2021-02-12T11:47:32+07:00

แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่สามารถถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ และได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นกลูโคส ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ซึ่งหากรับประทานแป้งมากจนเกินไปก็จะทำให้เกิดไขมันสะสมและเกิดโรคอ้วนตามมา อย่างไรก็ตาม ยังมีแป้งอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถทนต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็กได้ เรียกแป้งกลุ่มนี้ว่า “แป้งทนการย่อย” (Resistant starch ; RS) แป้งดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด โดย แป้งทนการย่อยต่อเอนไซม์ชนิดที่ 2 (Resistant starch 2; RS2) เป็นแป้งทนการย่อยที่อยู่ในรูปของเม็ดแป้งดิบ พบได้มากในกล้วยดิบและแป้งสตาร์ชมันฝรั่ง

Resistant Starch 2 (RS2) ในแป้งกล้วยดิบ2021-02-12T11:47:32+07:00

ยาลดกรด (Antacids) คืออะไร???

2021-11-11T11:14:12+07:00

ยาลดกรด เป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารทำให้เป็นกลางมากขึ้น โดยไปจับกับกรดในทางเดินอาหาร ช่วยให้ผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ที่มีปัญหาจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร (Hyperacidity) ยาลดกรด แบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามส่วนประกอบหรือตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์รักษา เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม ไฮดร็อกไซด์ (Aluminium hydroxide; Al[OH]3) และ/หรือแมกนีเซียม ไฮดร็อกไซด์ (Magnesium hydroxide; Mg[OH]2) ยากลุ่มนี้นิยมใช้อยู่ในรูปยาน้ำแขวนตะกอนจึงออกฤทธิ์ค่อนข้างรวดเร็ว ใช้บรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากการดเกินในกระเพาะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ อะลัมมิลค์ (Alum milk), แอนตาซิล (Antacil®), เกลูซิล (Gelusil®), ยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน

ยาลดกรด (Antacids) คืออะไร???2021-11-11T11:14:12+07:00

รู้ทัน! อาการกรดไหลย้อน โรคที่ใคร ๆ ก็เป็นได้

2021-02-12T12:07:49+07:00

ในปัจจุบันเราจะพบเห็นคนใกล้ตัวเป็น “โรคกรดไหลย้อน” กันมากขึ้น ซึ่งจัดว่าเป็นโรคยอดฮิต ยุคใหม่ที่ใคร ๆ ก็เป็นได้ โดยสาเหตุหลักมักมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องและการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสภาพสังคมปัจจุบัน โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารจนทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน หรือแม้แต่ไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม อาการของกรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้ (พบน้อย) รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ กลืนลำบาก กลืนเจ็บ หรือกลืนติดๆ ขัดๆ คล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ เจ็บคอ แสบคอหรือปาก หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก (bile

รู้ทัน! อาการกรดไหลย้อน โรคที่ใคร ๆ ก็เป็นได้2021-02-12T12:07:49+07:00

โพแทสเซียม…แร่ธาตุคุณประโยชน์สูงที่ไม่ควรมองข้าม

2021-02-12T11:56:06+07:00

โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานปกติ ควบคุมสมดุลของแร่ธาตุต่าง ๆ ในเลือดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงาน ช่วยควบคุมให้ร่างกายมีความเป็นกรด-ด่างพอเหมาะ ป้องกันภาวะกรดไหลย้อนหรือกรดเกินในกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีภาวะโรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน จึงควรรับประทานโพแทสเซียมให้เพียงพอเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ และยังช่วยปรับความดันโลหิตให้เหมาะสมในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย จากรายงานของ Food and Nutrition Board, Institute of Medicine-national Academic of Sciences ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าเราควรได้รับโพแทสเซียมในปริมาณอย่างน้อย 3.7 กรัมต่อวัน

โพแทสเซียม…แร่ธาตุคุณประโยชน์สูงที่ไม่ควรมองข้าม2021-02-12T11:56:06+07:00

ความเครียด…วิตกกังวล… ส่งผลกับกรดไหลย้อนหรือไม่???

2021-02-11T20:48:26+07:00

หลาย ๆ ท่านอาจคาดไม่ถึงว่าความเครียด ภาวะซึมเศร้า (Depression) หรือความวิตกกังวล (Anxiety) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อนหรือทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ นักวิจัยพบว่าสมองและหลอดอาหารมีความสามารถในการเชื่อมโยงกันได้อย่างใกล้ชิด โดยความเครียดและอารมณ์ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร  ในขณะเดียวกันอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหารที่มีปัญหาก็จะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลนั้นเช่นเดียวกัน จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ปัจจัยด้านอารมณ์มีผลต่อความรุนแรงของโรคในระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากระบบประสาทที่สมองสามารถสั่งงานให้กรดหลั่งได้มากขึ้นเมื่อเกิดความเครียด การนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิทจากการเป็นโรคซึมเศร้าหรืออาการวิตกกังวล นอกจากนี้ อาการเหล่านี้ยังมีผลเพิ่มความเครียดของกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การบีบตัวของหลอดอาหารลดลง จึงเกิดแรงดันและลมปริมาณมากในกระเพาะอาหาร เมื่อร่างกายย่อยอาหารได้ช้าจึงเกิดอาการจุดเสียด แน่นหน้าอก ความเครียดยังส่งผลให้หูรูดทำงานผิดปกติด้วย โดยหากหูรูดบริเวณกระเพาะอาหารหย่อนจะทำให้ไม่สามารถปิดกั้นกรดที่ย้อนขึ้นมาได้ จึงเกิดอาการแสบร้อนกลางอก  หายใจไม่อิ่ม เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้ นอกจากนี้ การเป็นโรคซึมเศร้าหรืออาการวิตกกังวลยังส่งผลให้ร่างกายไวต่อการรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดผ่านการเชื่อมโยงกันระหว่างสมองและหลอดอาหาร หรือที่เรียกว่า gut-brain axis อีกด้วย การนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท

ความเครียด…วิตกกังวล… ส่งผลกับกรดไหลย้อนหรือไม่???2021-02-11T20:48:26+07:00
Go to Top