ระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นอย่างไร (GUT HEALTH DIET​)

2020-08-25T10:16:21+07:00

ระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร การดูดซึม และการขับถ่าย จากงานวิจัยพบว่าถ้าเรามีระบบการย่อยอาหารที่ดี สุขภาพโดยรวมของร่างกายก็จะดีตามไปด้วยดังนั้น หากไม่อยากทุกข์ทรมานจากการป่วยเป็นโรคของระบบทางเดินอาหารแล้วละก็ ควรจะต้องดูแลเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยเช่นกัน ระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นอย่างไร           ระบบย่อยอาหารที่ดี คือ การที่อวัยวะต่าง ๆ ภายในระบบย่อยอาหารทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด การติดเชื้อ การรับประทานยาบางชนิด หรือความเครียด อาจมีผลทำให้ระบบย่อยอาหารเกิดความผิดปกติและส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และทำให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งขึ้นได้ การหันมาดูแลระบบย่อยอาหารด้วยการปรับพฤติกรรมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและความผิดปกติของระบบย่อยอาหารได้ อาหารที่เหมาะสำหรับสุขภาพของทางเดินอาหารที่ดี มีดังนี้ ดูแลตัวช่วยที่สำคัญของระบบการย่อยอาหาร “จุลินทรีย์ตัวดี (Probiotics)” จุลินทรีย์พื้นถิ่นในทางเดินอาหาร เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ (GUT

ระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นอย่างไร (GUT HEALTH DIET​)2020-08-25T10:16:21+07:00

โรคเบาหวาน และการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

2021-01-13T15:40:59+07:00

โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดใหญ่ และหลอดเลือดเล็กตามมา เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบเป็นอย่างมากเนื่องจากอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพที่เพิ่มมาก ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2568 โดยการพยากรณ์จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุ 1 คนในทุก ๆ 5 คน จะเป็นโรคเบาหวาน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวานเป็นกลุ่มโรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินเพื่อนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ลดลง ทำให้มีผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายผิดปกติตามมา อินซูลินสร้างและหลั่งจากตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ

โรคเบาหวาน และการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน2021-01-13T15:40:59+07:00

อาหารที่ควรทานและควรหลีกเลี่ยงสำหรับ โรคกรดไหลย้อน

2021-11-11T11:21:26+07:00

อาการของโรคกรดไหลย้อนมักจะกำเริบมากขึ้นหลังจากที่กินอาหารมื้อหนัก ๆ หรือกินอาหารบางชนิดที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้กรดหลั่งออกมามากขึ้น โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ หากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเดิม ๆ ที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่ส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น อาหารที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ควรรับประทาน ได้แก่ อาหารไขมันต่ำ เช่น เนื้อไม่ติดมัน เนื้อปลา ไก่ ไข่ขาว นมไขมันต่ำ หรือน้ำเต้าหู้ เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา อะโวคาโด น้ำมันดอกทานตะวัน ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ โดยแนะนำให้รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวที่ดีต่อสุขภาพเหล่านี้แทน อาหารไฟเบอร์สูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี

อาหารที่ควรทานและควรหลีกเลี่ยงสำหรับ โรคกรดไหลย้อน2021-11-11T11:21:26+07:00

สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร และการดูแลรักษา

2020-06-29T11:40:33+07:00

โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคเรื้อรังเกี่ยวกับทางเดินอาหารโรคหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นกันเยอะ และมักทุกข์ทรมานกับอาการปวดท้องอยู่เนือง ๆ บางท่านอาจไม่แน่ใจว่าตนเองประสบปัญหาเรื่องโรคกระเพาะอยู่หรือไม่ และมีวิธีดูแลตนเองอย่างไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ อาการของโรค อาการปวดท้องที่เป็นตัวบอกว่าเป็น “โรคกระเพาะอาหาร” คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเสียด ตื้อ จุกแน่น ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ชายโครงซ้าย ตำแหน่งเกิดขึ้นได้บ่อยจะอยู่ในกระเพาะส่วนปลาย ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และอาการมักเป็น ๆ หาย ๆ โดยอาการปวดจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร โดยอาจปวดก่อน ระหว่าง หรือหลังรับประทานอาหารก็ได้ และมักมีอาการปวดท้องตอนท้องว่าง จากการที่กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคืองเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่นการมีกรดหลั่ง เป็นต้น สาเหตุของโรค โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน

สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร และการดูแลรักษา2020-06-29T11:40:33+07:00

กล้วยน้ำว้า: Plant-based diet

2021-03-30T16:25:13+07:00

ในยุคนี้นอกจากการออกกำลังกายแล้วยังต้องดูแลเรื่องอาหารการกินมากขึ้นเพื่อการมีสุขภาพที่ดี การรับประทานแบบ Plant-based diet เป็นการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นให้มีสุขภาพที่แข็งแรง รวมถึงเพื่อการลดน้ำหนักอีกด้วย Plant-based diet คือ การรับประทานพืชผักผลไม้เป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงกับธรรมชาติ พูดง่าย ๆ คือ การรับประทานอาหารประเภทผักผลไม้โดยเฉพาะพวกธัญพืช ถั่ว ถั่วเปลือกแข็งให้มากขึ้น ลดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และอาหารแปรรูปต่าง ๆ วิถีการกินแบบ plant-based ไม่ได้บังคับว่าต้องไม่กินเนื้อสัตว์เลย 100% อาจมีหรือไม่มีเนื้อสัตว์ก็ได้ แต่ถ้ามีก็ควรจะรับประทานในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับผัก อย่างน้อย 95% ควรเป็นการรับประทานอาหารที่เน้นพืชผักผลไม้ อีกทั้งไม่ได้หมายความว่าคนที่มีไลฟ์สไตล์แบบ Plant-based diet จะต้องเป็นมังสวิรัติหรือกินเจ แต่คือการเลือกทานอาหารที่ทำจากพืชในอัตราที่มากกว่านั่นเอง การรับประทานกล้วยน้ำว้าดิบถือว่าเป็นผลไม้ที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด

กล้วยน้ำว้า: Plant-based diet2021-03-30T16:25:13+07:00

สาเหตุ โรคกรดไหลย้อน และการดูแลสุขภาพ

2020-10-30T19:02:16+07:00

“โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease; GERD)” เป็นโรคเรื้อรังในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในคนไทย  โดยเป็นโรคที่มีผลรบกวนความสุขในการดำรงชีวิต และทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันต้องถูกรบกวนด้วยอาการปวดท้อง แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ โรคกรดไหลย้อนเป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก จุกแน่นหน้าอกคล้ายกับอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย อาจจะรู้สึกเหมือนมีน้ำรสขมหรือรสเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นมาทางปาก หรือเกิดการขย้อนอาหารจนรบกวนชีวิตประจำวันได้ โรคกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่

สาเหตุ โรคกรดไหลย้อน และการดูแลสุขภาพ2020-10-30T19:02:16+07:00

รู้หรือไม่? กล้วยน้ำว้า ช่วยบำรุงหัวใจได้

2020-05-13T02:20:19+07:00

โพแทสเซียม ถือว่าเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของของหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับการควบคุมความดันโลหิต แม้ว่าแร่ธาตุโพแทสเซียมจะมีความสำคัญต่อร่างกาย แต่ก็พบว่าคนส่วนใหญ่ได้รับโพแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วันนี้ทางทีมงานจะมา แนะนำวิธีง่าย ๆ ในการเสริมโพแทสเซียมให้กับร่างกายกันค่ะ กล้วยเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการควบคุมสมดุลของความดันโลหิตและ ช่วยให้ทำงานของหัวใจเป็นปกติ กล้วยขนาดกลางหนึ่งผลมีปริมาณโพแทสเซียมมากกว่า 400 มิลลิกรัม จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ กล้วยยังมีแร่ธาตุแมกนีเซียมในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งมีความสาคัญต่อการทำงานของหัวใจอีกด้วย จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ได้รับแร่ธาตุโพแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจลดลงถึง 27% นอกจากนี้ กล้วยยังเป็นแหล่งที่ดีของไฟเบอร์ ประมาณ 1 ใน 3 ของใยอาหารในกล้วย เป็นเส้นใยที่สามารถละลายน้ำได ้(ประมาณ 1 กรัม ต่อกล้วย 1

รู้หรือไม่? กล้วยน้ำว้า ช่วยบำรุงหัวใจได้2020-05-13T02:20:19+07:00

รู้หรือไม่? กล้วยน้ำว้าช่วยคุมน้ำหนักได้

2020-04-23T23:39:00+07:00

หากพูดถึงกล้วยใคร ๆ ก็ย่อมรู้จักกันดี และเมื่อพูดถึงผลไม้ที่ให้พลังงานสูง คนส่วนมากก็จะนึกถึงทุเรียน มังคุด ละมุด ลำไย ขนุน มะม่วง แต่รู้หรือไม่ว่า “กล้วย” ก็เป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ให้พลังงานสูงเช่นกันแต่ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ไทยที่มีผลงานวิจัยรองรับว่าเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ มากมายที่ร่างกายควรได้รับ และทำให้อิ่มท้องนานกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ ในกล้วยน้ำว้านั้นประกอบด้วยน้ำตาล 3 ชนิด ได้แก่ กลูโคส ฟรุกโตส และซูโครส รวมทั้งใยอาหารหรือไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ผนังลาไส้ใหญ่ ช่วยในระบบขับถ่าย และผลจากการย่อยไฟเบอร์ที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ จะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณพลังงานที่เหมาะสม ทำให้ร่างกายอิ่มนาน ลดความอยากอาหาร ร่างกายมีความไวต่ออินซูลินดีขึ้นจึงสามารถนาน้ำตาลไปใช้งานได้ดีขึ้น จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

รู้หรือไม่? กล้วยน้ำว้าช่วยคุมน้ำหนักได้2020-04-23T23:39:00+07:00

กล้วยน้ำว้า…ลดความดันโลหิตสูงได้อย่างไร?

2020-04-23T23:38:46+07:00

      โรคความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่มักไม่ค่อยแสดงอาการทางร่างกายให้ผู้ที่เป็นรับรู้ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมอง ทำให้เส้นเลือดสมองแตกได้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาลดความดันอยู่ตลอด อีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดความดันโลหิตนอกเหนือจากการรับประทานยา คือ ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยการหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารรสเค็ม อาหารโซเดียมสูง และอาหารแปรรูปซึ่งมักมีปริมาณโซเดียมผสมอยู่ในปริมาณมาก นอกจากนี้ กล้วย ก็เป็นผลไม้อันดับต้น ๆ ที่สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นกัน หากผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงอยากลดความดันด้วยตัวเองละก็ ต้องลองเลยค่ะ       ผลไม้ที่จะช่วยลดความดันโลหิตได้ต้องเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียม หรือผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงนั่นเอง กล้วยจัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงเป็นอันดับต้น ๆ เลยค่ะ นอกจากกล้วยจะอุดมไปด้วยโพแทสเซียมแล้ว กล้วยยังเป็นผลไม้ที่มีโซเดียมต่ำทำให้ความดันโลหิตไม่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ทำให้อิ่มท้องและได้รับแร่ธาตุอื่น ๆ

กล้วยน้ำว้า…ลดความดันโลหิตสูงได้อย่างไร?2020-04-23T23:38:46+07:00

กล้วยน้ำว้าดิบ ผลไม้ต้านอนุมูลอิสระ

2020-03-15T22:55:50+07:00

        อนุมูลอิสระเป็นสารที่ก่อความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย  อนุมูลอิสระมีสาเหตุเกิดจากความเครียด แสงอัลตราไวโอเลต มลภาวะต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมภายนอก รวมถึงจากขบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยธรรมชาติร่างกายของเราจะผลิตสารต้านอนุมูลอิสระได้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่จะผลิตได้น้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากร่างกายมีสารอนุมูลอิสระเยอะจนเกินไปก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม เราสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ด้วยการรับประทานอาหาร กล้วยถือว่าเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงช่วยลดปริมาณสารอนุมูลอิสระในร่างกายได้ดี จึงช่วยชะลอวัยและลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้ด้วย กล้วยประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประเภท เบต้าแคโรทีน (Beta-carotine) โดปามีน (Dopamine) และคาเทชิน (Catechin) ในปริมาณที่สูง ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมต่าง ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น รวมถึงช่วยชะลดความแก่ก่อนวัยของคุณได้อีกด้วย

กล้วยน้ำว้าดิบ ผลไม้ต้านอนุมูลอิสระ2020-03-15T22:55:50+07:00
Go to Top