สาเหตุ โรคกรดไหลย้อน และการดูแลสุขภาพ

2020-10-30T19:02:16+07:00

“โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease; GERD)” เป็นโรคเรื้อรังในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในคนไทย  โดยเป็นโรคที่มีผลรบกวนความสุขในการดำรงชีวิต และทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันต้องถูกรบกวนด้วยอาการปวดท้อง แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ โรคกรดไหลย้อนเป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก จุกแน่นหน้าอกคล้ายกับอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย อาจจะรู้สึกเหมือนมีน้ำรสขมหรือรสเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นมาทางปาก หรือเกิดการขย้อนอาหารจนรบกวนชีวิตประจำวันได้ โรคกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่

สาเหตุ โรคกรดไหลย้อน และการดูแลสุขภาพ2020-10-30T19:02:16+07:00

กล้วยน้ำว้า…ลดความดันโลหิตสูงได้อย่างไร?

2020-04-23T23:38:46+07:00

      โรคความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่มักไม่ค่อยแสดงอาการทางร่างกายให้ผู้ที่เป็นรับรู้ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมอง ทำให้เส้นเลือดสมองแตกได้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาลดความดันอยู่ตลอด อีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดความดันโลหิตนอกเหนือจากการรับประทานยา คือ ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยการหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารรสเค็ม อาหารโซเดียมสูง และอาหารแปรรูปซึ่งมักมีปริมาณโซเดียมผสมอยู่ในปริมาณมาก นอกจากนี้ กล้วย ก็เป็นผลไม้อันดับต้น ๆ ที่สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นกัน หากผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงอยากลดความดันด้วยตัวเองละก็ ต้องลองเลยค่ะ       ผลไม้ที่จะช่วยลดความดันโลหิตได้ต้องเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียม หรือผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงนั่นเอง กล้วยจัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงเป็นอันดับต้น ๆ เลยค่ะ นอกจากกล้วยจะอุดมไปด้วยโพแทสเซียมแล้ว กล้วยยังเป็นผลไม้ที่มีโซเดียมต่ำทำให้ความดันโลหิตไม่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ทำให้อิ่มท้องและได้รับแร่ธาตุอื่น ๆ

กล้วยน้ำว้า…ลดความดันโลหิตสูงได้อย่างไร?2020-04-23T23:38:46+07:00

กล้วยน้ำว้า: ผลไม้เพิ่มสารแห่งความสุข

2020-02-14T23:14:15+07:00

สถานการณ์ปัจจุบันทำให้คนเรามี ภาวะเครียด วิตกกังวล จนถึงขั้นทำให้เป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากปัญหาเรื่องงาน การเงิน หรือปัญหาครอบครัว ปัจจัยทางด้านลบจากอารมณ์ส่งผลต่ออวัยวะภายใน รวมถึงสมดุลของฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาทต่าง ๆ ที่ควบคุมให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ ในช่วงนี้มีข่าวหลายชีวิตที่จากไปด้วยโรคซึมเศร้า พบว่าทั่วประเทศมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 1.4 ล้านคนซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น่าเป็นห่วง โรคซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

กล้วยน้ำว้า: ผลไม้เพิ่มสารแห่งความสุข2020-02-14T23:14:15+07:00

โรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

2020-02-06T10:32:19+07:00

กลูเตน (Gluten) เป็นโปรตีนในแป้งที่สามารถจับตัวเป็นโครงสร้างที่มีสมบัติต้านความหนืดและยืดหยุ่น โดยการเกิดพันธะไดซัลไฟด์ระหว่างโมเลกุลของกรดอะมิโน กลูเตน ประกอบด้วย โปรตีนกลูตินิน (Glutenin) ซึ่งมีสมบัติสำคัญต่อลักษณะความยืดหยุ่น และโปรตีนไกลอะดิน (Gliadin) เป็นโปรตีนที่สามารถละลายได้ในแอลกอฮอล์ล มีความสำคัญในการปรับและควบคุมลักษณะความข้นหนืดของกลูเตน พบได้ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ ซึ่งพบมากในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งข้าวสาลี เช่น เบเกอรี่ พาย เค้ก เป็นต้น อีกทั้งยังมักใช้เป็นส่วนประกอบในการทำเนื้อเทียมในอาหารมังสวิรัติและอาหารเจ

โรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม2020-02-06T10:32:19+07:00

กล้วยน้ำว้าดิบ วิถีไทย

2020-02-04T15:34:24+07:00

กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์และใกล้ชิดคนไทยมากที่สุดชนิดหนึ่ง ภูมิปัญญาคนไทยในสมัยโบราณนั้นทราบกันมาช้านานแล้วว่ากล้วยน้ำว้ามีคุณประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤทธิ์ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร แม้ว่าคนไทยในสมัยโบราณจะไม่ทราบว่าในกล้วยนั้นมีสารสำคัญอะไรที่ออกฤทธิ์ แต่จากการรับประทานกล้วยน้ำว้าแล้วช่วยลดอาการปวดท้องและรักษาโรคกระเพาะอาหารได้อย่างชะงัด จึงทำให้ภูมิปัญญาดังกล่าวได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน

กล้วยน้ำว้าดิบ วิถีไทย2020-02-04T15:34:24+07:00

Resistant Starch 2 (RS2) ในแป้งกล้วยดิบ

2021-02-12T11:47:32+07:00

แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่สามารถถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ และได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นกลูโคส ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ซึ่งหากรับประทานแป้งมากจนเกินไปก็จะทำให้เกิดไขมันสะสมและเกิดโรคอ้วนตามมา อย่างไรก็ตาม ยังมีแป้งอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถทนต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็กได้ เรียกแป้งกลุ่มนี้ว่า “แป้งทนการย่อย” (Resistant starch ; RS) แป้งดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด โดย แป้งทนการย่อยต่อเอนไซม์ชนิดที่ 2 (Resistant starch 2; RS2) เป็นแป้งทนการย่อยที่อยู่ในรูปของเม็ดแป้งดิบ พบได้มากในกล้วยดิบและแป้งสตาร์ชมันฝรั่ง

Resistant Starch 2 (RS2) ในแป้งกล้วยดิบ2021-02-12T11:47:32+07:00

ยาลดกรด (Antacids) คืออะไร???

2021-11-11T11:14:12+07:00

ยาลดกรด เป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารทำให้เป็นกลางมากขึ้น โดยไปจับกับกรดในทางเดินอาหาร ช่วยให้ผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ที่มีปัญหาจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร (Hyperacidity) ยาลดกรด แบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามส่วนประกอบหรือตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์รักษา เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม ไฮดร็อกไซด์ (Aluminium hydroxide; Al[OH]3) และ/หรือแมกนีเซียม ไฮดร็อกไซด์ (Magnesium hydroxide; Mg[OH]2) ยากลุ่มนี้นิยมใช้อยู่ในรูปยาน้ำแขวนตะกอนจึงออกฤทธิ์ค่อนข้างรวดเร็ว ใช้บรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากการดเกินในกระเพาะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ อะลัมมิลค์ (Alum milk), แอนตาซิล (Antacil®), เกลูซิล (Gelusil®), ยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน

ยาลดกรด (Antacids) คืออะไร???2021-11-11T11:14:12+07:00

รู้ทัน! อาการกรดไหลย้อน โรคที่ใคร ๆ ก็เป็นได้

2021-02-12T12:07:49+07:00

ในปัจจุบันเราจะพบเห็นคนใกล้ตัวเป็น “โรคกรดไหลย้อน” กันมากขึ้น ซึ่งจัดว่าเป็นโรคยอดฮิต ยุคใหม่ที่ใคร ๆ ก็เป็นได้ โดยสาเหตุหลักมักมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องและการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสภาพสังคมปัจจุบัน โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารจนทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน หรือแม้แต่ไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม อาการของกรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้ (พบน้อย) รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ กลืนลำบาก กลืนเจ็บ หรือกลืนติดๆ ขัดๆ คล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ เจ็บคอ แสบคอหรือปาก หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก (bile

รู้ทัน! อาการกรดไหลย้อน โรคที่ใคร ๆ ก็เป็นได้2021-02-12T12:07:49+07:00

โพแทสเซียม…แร่ธาตุคุณประโยชน์สูงที่ไม่ควรมองข้าม

2021-02-12T11:56:06+07:00

โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานปกติ ควบคุมสมดุลของแร่ธาตุต่าง ๆ ในเลือดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงาน ช่วยควบคุมให้ร่างกายมีความเป็นกรด-ด่างพอเหมาะ ป้องกันภาวะกรดไหลย้อนหรือกรดเกินในกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีภาวะโรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน จึงควรรับประทานโพแทสเซียมให้เพียงพอเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ และยังช่วยปรับความดันโลหิตให้เหมาะสมในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย จากรายงานของ Food and Nutrition Board, Institute of Medicine-national Academic of Sciences ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าเราควรได้รับโพแทสเซียมในปริมาณอย่างน้อย 3.7 กรัมต่อวัน

โพแทสเซียม…แร่ธาตุคุณประโยชน์สูงที่ไม่ควรมองข้าม2021-02-12T11:56:06+07:00

ยายับยั้งการหลั่งกรดโอมีพราโซล (Omeprazole)

2021-02-12T11:59:05+07:00

สำหรับหลาย ๆ ท่านที่มีอาการ อาหารไม่ย่อย หรือ Dyspepsia น่าจะเคยได้ยินหรือมีโอกาสได้ใช้ ยาโอมีพราโซล (Omeprazole) หรือ ยามิราซิด (Miracid®) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จึงช่วยลดอาการแสบกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องส่วนบน ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว คลื่นไส้ อาเจียน อาการแสบร้อนกลางอกหลังรับประทานอาหารเนื่องจากกรดเกิน โดยอาการที่เกิดขึ้นสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา ร่วมกับการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยา Omeprazole เป็นยาช่วยยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารในกลุ่มยับยั้งโปรตอน ปั๊ม (Proton Pump Inhibitors: PPIs) ออกฤทธิ์โดยการขัดขวางการหลั่งกรดในขั้นตอนสุดท้าย โดยตัวยาจะเข้ายับยั้งเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Miracid®,

ยายับยั้งการหลั่งกรดโอมีพราโซล (Omeprazole)2021-02-12T11:59:05+07:00
Go to Top